อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

พระอุโบสถวัดทองนพคุณ

พระอุโบสถวัดทองนพคุณ

ที่ตั้ง วัดทองนพคุณ 4645 แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ -

ผู้ครอบครอง วัดทองนพคุณ

ปีที่สร้าง ปลายสมัยรัชกาลที่ 3

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2525

ประวัติ

วัดทองนพคุณก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานจากเจดีย์ย่อมุมแบบอยุธยาที่ยังปรากฏเป็นหลักฐาน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) ได้ดำเนินการปฏิสังขนณ์เพื่อน้อมเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญมาตั้งแต่นั้น

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพระอุโบสถจากแบบจีนพระราชนิยมมาเป็นแบบไทย เปลี่ยนหลังคาเป็นทรงไทยประดับช่อฟ้าใบระกา และต่อเติมซุ้มประตูเป็นมุขยื่นหลังคาไทย โดยท่านเจ้าอาวาสคือพระครูกสิณสังวร (มี)

ศิลปกรรมที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ของพระอุโบสถคือ หน้าต่างรูปพัดยศ+ ขนาบข้างหน้าต่างทรงมงกุฎที่อยู่กลาง ข้างละ 2 บาน ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพระครูกสิณสังวร ผู้มีฝีมือในทางช่างและเป็นศิษย์ของขรัวอินโข่ง เรื่องเวสสันดรชาดก ระหว่างหน้าต่างเขียนเป็นโต๊ะหมู่บูชาแบบจีน ผนังด้านหลังพระประธานเขียนภาพม่านแหวกเพื่อเน้นพระประธานให้เด่นขึ้น ส่วนด้านหน้าพระประธานเขียนภาพนันทอุทยาน มีนางฟ้ากำลังเล่นน้ำ นับเป็นงานศิลปกรรมที่งดงามทั้งฝีมือและความคิดสร้างสรรค์

 

Ubosatha, Wat Thong Nophakhun

Location Wat Thong Nophakhun, 4645 Khawaeng Khlong San, Khet Khlong San, Bangkok

Architect/Designer Unknown

Proprietor Wat Thong Nophakhun

Date of Construction circa King Rama III period

Conservation Awarded 1982 AD

History

Wat Thong Nophakhun was founded since late Ayutthaya period as indicated by the Ayutthaya style pagodas with indented corners. In Rattanakosin period, King Rama III’s reign, Phraya Choduekratchasetthi (Thongchin Krairoek) had the building restored to be dedicated to the King, thus the temple was reestablished as a royal temple.

In King Rama IV’s reign, the style of Ubosatha (ordination hall) was changed from the Chinese style favoured bythe former reign to Thai traditional style. At that time, the abbot was Phra Khru Kasinsangwon (Mi).

The most distinguishable and unique feature of the Ubosatha are ellipse-shaped windows which derived from the shape of the monks’ ceremonial fan, flanking the crowned window in the middle. The interior is decorated with mural painting by the abbot, Phra Kasinsangwon, depicting scenes from Vessantara Jataka, Chinese tables, and specially, the opening curtain on the wall behind the Buddha’s image.