NEW FACES : ค้นหาคุณค่าของสถาปัตยกรรมไปพร้อมกับ INTEGRATED FIELD

หลากหลายบทสนทนาระหว่าง ASA CREW กับเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่ที่ผ่านมา ทำให้เราเห็นภาพแนวคิดการทำงานและอุดมการณ์แรงกล้าของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีใจอยากขับเคลื่อนวงการสถาปัตยกรรมในบ้านเรา วันนี้ถึงคราวของ INTEGRATED FIELD กับการเปิดสตูดิโอถ่ายทอดแรงบันดาลใจ ทั้งยังพาเราออกค้นหาคุณค่าของสถาปัตยกรรมไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างที่พักอาศัยหรืออาคารสาธารณะ ติดตามบทสนทนาที่ให้ข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจแก่สถาปนิกรุ่นใหม่ได้ที่ : วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบและหลักการทำงานของออฟฟิศ พวกเรามองว่า IF คือ Integrator ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผสานปัจจัยแวดล้อมรอบด้าน ในทุกๆ การทำงานพวกเราจึงเริ่มจากการตั้งคำถามทดลองหาความเป็นไปได้ที่เปิดกว้างและหลากหลาย เพื่อคลี่คลายไปสู่ผลลัพธ์ด้านการออกแบบ ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ใช้ เหมาะสมกับจุดประสงค์ รูปแบบงานประเภทนั้นๆ และสอดคล้องไปกับบริบทแวดล้อมให้ได้มากที่สุด   จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม ในมุมมองของพวกเราคุณค่าของสถาปัตยกรรมจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อสถาปัตยกรรมนั้นๆ สามารถตอบสนองกับเหตุปัจจัยเฉพาะตัวของโครงการในรูปแบบต่างๆ เช่น บ้านพักอาศัยที่หากผู้อยู่สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด มีความสุข และสบายใจ เมื่อได้ใช้งาน โดยอยู่ร่วมกับบริบทที่ตั้ง ทั้งในแง่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว คุณค่าของสถาปัตยกรรมชิ้นนั้นก็จะเกิดขึ้นแล้ว แต่หากเป็นอาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้เข้ามาเกี่ยวข้องหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม  คุณค่าของงานจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราได้เข้าใจในบริบทเฉพาะของงานอย่างแท้จริง ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ และงานออกแบบได้พัฒนาบริบทเหล่านี้ให้ดีขึ้น […]

NEW FACES : HED DESIGN STUDIO ‘เฮ็ด’ ในสิ่งที่เชื่อเพื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

  ASA CREW ขอพาคุณเปิดประตูสถาปนิกภาคอีสาน ‘HED DESIGN STUDIO’ (เฮ็ดสตูดิโอ) พบกับเรื่องราวการทำงานออกแบบและก่อสร้างที่ ‘เรียนรู้’ อย่างไม่มีสิ้นสุด ทั้งยังเน้นกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานที่เป็นมากกว่าการสรรสร้างตัวอาคารหรือที่พักอาศัย ติดตามบทสนทนาที่ให้ข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจแก่สถาปนิกรุ่นใหม่ได้ที่ : วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ เฮ็ดดีไซน์ สตูดิโอ เป็นสตูดิโอขนาดเล็กที่ จ.อดุรธานี เฮ็ดดีไซน์ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้าง เราชอบที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ร่วมกันกับทุกคน เรียนรู้ผ่านการทำงานในแต่ละโปรเจ็คต์ เฮ็ด เป็นภาษาอีสาน แปลว่า ‘ทำ’ เพราะเราเชื่อว่าการลงมือทำคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด   ทำไมถึงมาเปิดออฟฟิศที่อุดรธานี เป็นคนอุดรธานีโดยกำเนิดอยู่แล้วครับ เลยเลือกที่จะกลับมาทำงานที่บ้านเกิด เหตุผลไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่าการกลับบ้านครับ ผมตั้งสำนักงานออกแบบและบริษัทรับเหมาก่อสร้างเล็กๆ ให้ภรรยาชื่อ หจก.วันเดอร์ครีเอชั่น และทำงานร่วมกันตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน     ความได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันกับออฟฟิศที่เปิดที่กรุงเทพฯ อย่างไร ความได้เปรียบน่าจะเป็นเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ามากๆ การทำงานที่เราบริหารจัดการเวลาได้อิสระ […]

NEW FACES : EKAR ARCHITECTS สถาปนิกที่เชื่อว่าสถาปัตยกรรมคือความจริง

    จะเป็นไปได้หรือไม่ ? เมื่อการ ‘ออกแบบ’ ตัวอาคารไม่ได้ถือกำเนิดจากฝีมือของสถาปนิกเท่านั้น เพราะตัวผู้อยู่อาศัยเอง…กลับเป็นกำลังหลักในการสร้างสรรค์ตัวอาคารด้วยเช่นกัน เรื่องราวของ NEW FACES สถาปนิกหน้าใหม่ในวันนี้ เราขอพาคุณมาเปิดบ้าน EKAR ARCHITECTS พร้อมเรียนรู้มุมมองการทำงานจากพวกเขากับการสร้างคุณค่าให้แก่สถาปัตยกรรมเป็นมากกว่าสิ่งก่อสร้าง พร้อมอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของสถาปนิกหน้าใหม่จากหลากหลายสตูดิโอได้ที่ NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิสสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ EKAR สนใจเรื่องการดำเนินไปของสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ หลังจากสถาปัตยกรรมนั้นเกิดขึ้นมา เรามีความสุขกับการได้ติดตามผลหลังจากที่สถาปัตยกรรมแล้วเสร็จ บางทีอาจจะชอบมากกว่ากระบวนการเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นสถาปัตยกรรมด้วยซ้ำ   จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมคือความจริงเป็นพื้นที่หนึ่งในการสร้างองค์ประกอบของชีวิตและจิตวิญญาณ คุณค่าของของสถาปัตยกรรมอยู่ที่การส่งผลต่อสิ่งต่างๆ รอบๆ สถาปัตยกรรมนั้นๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง โครงการออกแบบอาคารพานิชย์ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีชื่อโครงการ Multi-Place  กระบวนการออกแบบไม่ได้ราบรื่นนัก อาจด้วยการสื่อสารที่เราอยู่กรุงเทพฯ แล้วลูกค้าอยู่ภาคใต้หลายๆ อย่างในแบบไม่ได้ถูกนำไปใช้ เมื่องานแล้วเสร็จก็ได้ตามที่ใจตั้งไว้ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งถือว่าเป็นงานที่น่าพอใจมากแล้ว วันที่เรากลับไปเยี่ยมโครงการเราได้พบการใช้สอยหลายอย่างที่ขัดกับรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมตามแนวคิดของนักออกแบบ หลังจากที่ได้พูดคุยกับเจ้าของโครงการ อธิบายให้ฟังถึงการใช้งานทุกอย่างว่าเหมาะสม ให้ฟังถึงการใช้งานทุกอย่างว่าเหมาะสมกับวิถีชีวิตของพวกเขาอย่างไร […]