NEW FACES : ให้ทุกชิ้นงานการันตีคุณภาพของ OCTANE ARCHITECT & DESIGN

  หากนิยามการทำงานของสถาปนิกกลุ่มนี้ ว่าพวกเขามุ่งสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแข่งขันและเอาชนะใจตัวเองก็คงไม่ผิดนัก เมื่อทุกชิ้นงานที่รังสรรค์มาจาก OCTANE ARCHITECT & DESIGN  ล้วนใช้หัวใจนำทางพร้อมเป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อพัฒนาตัวเองว่า จะทำอย่างไรให้สามารถออกแบบผลงานได้อย่างเป็นเอกลักษณืและแตกต่างจากเดิมทุกครั้ง ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ OCTANE ARCHITECT & DESIGN  ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2558 เป้าหมายทางวิชาชีพที่เราต้องการคืองานทุกชิ้นที่เราทำจะเป็นงานที่เราภาคภูมิใจ จะไม่มีงานที่จำเป็นต้องรับเพื่อเลี้ยงออฟฟิศ และเราจะมีเวลามากพอที่จะทำทุกงานอย่างตั้งใจที่สุด เพื่อมอบให้ลูกค้าที่เชื่อและให้อิสระกับเรา เราเชื่อว่าความสำเร็จไม่ได้ชี้วัดจากการเพิ่มจำนวนสถาปนิกในบริษัท หรือปริมาณงาน นอกจากนี้เรามองว่าสิ่งที่ยากและสำคัญคือ ทำอย่างไรให้งานสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นโดยไม่ซ้ำกับผลงานในอดีตทั้งของตัวเองและสถาปนิกท่านอื่น ซึ่งเอกลักษณ์นี้นอกจากจะสร้างความภาคภูมิใจให้แก่เจ้าของโครงการแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับการใช้งานจริงอีกด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญคือการควบคุมให้ผลงานเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จต้องมีความงามไม่ต่างจากภาพ perspective ที่เป็นเหมือนสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า     ลักษณะงานที่เน้น/สนใจ หรือประเภทอาคารที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ โครงการที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับความงามทางสถาปัตยกรรม เช่น บ้านพักอาศัย โรงแรม รีสอร์ท ทาวน์โฮม สำนักงาน เป็นต้น ซึ่งมักจะเป็นโครงการที่มีความสูงไม่เกิน 5 ชั้น […]

NEW FACES : สตูดิโอ LWD กับความท้าทายที่มีต่องานออกแบบในปัจจุบัน

  “ผู้ออกแบบก็เป็นเหมือนช่างตัดเสื้อ บางครั้งเราต้องตัดเสื้อให้เข้ากับลูกค้าโดยผสมผสานกระบวนการความคิดและจินตนาการเพิ่มเข้าไปเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่” เปิดสตูดิโอ LWD กลุ่มสถาปนิกไฟแรง ค้นหาความท้าทายบทใหม่ของการทำงานออกแบบที่ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีในปัจจุบันติดตามบทสนทนาที่ให้ข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจแก่สถาปนิกรุ่นใหม่ได้ที่ : วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม จริงๆ แล้วผู้ออกแบบก็เป็นเหมือนช่างตัดเสื้อ บางครั้งเราต้องตัดเสื้อให้เข้ากับลูกค้าโดยผสมผสานกระบวนการความคิดและจินตนาการเพิ่มเข้าไปเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ครับ   ในการทำงานที่ผ่านมามีโครงการไหนหรือเรื่อง อะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง น่าจะเป็นงานออกเเบบออฟฟิศของเราเองนะครับ เป็นงานปรับปรุงตึกเเถวเก่าคือเราต้องเริ่มต้นกันใหม่ตั้งแต่งานระบบต่างๆ  ผมก็จะพยายาม ออกแบบโดยคำนึงถึงปัญหาต่างๆ ของตึกเเถว พยายามใช้งานออกแบบเพื่อเเก้ปัญหามัน ผ่านความรู้ที่เรียนรู้มา เราได้ทำ ได้อยู่ ได้ทดลอง ตั้งคำถามและหาคำตอบจากงานออกแบบที่เราสร้างขึ้นมา ผ่านมาสองปีเเล้วเราก็ยังคงทดลองหาคำตอบเเละเรียนรู้มันต่อไปครับ     ต้องเตรียมตัว/ปรับตัว ต่อกระแสความ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วต่างๆ และความท้าทายใหม่ๆ ในยุคสมัยปัจจุบันอย่างไรบ้าง ผมว่ายุคนี้กรอบของงานออกแบบกว้างขึ้นกว่าสมัยผมเรียน เดี๋ยวนี้ทุกคนมีอินเตอร์เน็ตใช้ สามารถเห็นทุกอย่างบนโลกใบนี้ผ่านจอซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดี เราสามารถทำอะไรได้กว้างขึ้นมากกว่าสมัยก่อนครับ มองว่าสถาปนิกรุ่นใหม่ และวงการปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างกันไหมเมื่อ 5 หรือ 10 ปีก่อนหรือไม่อย่างไร หรือมีพัฒนาการอย่างไร […]

NEW FACES : เรียบง่ายแต่ทรงพลัง ค้นหาคุณค่าสถาปัตยกรรมกับ ‘NITAPROW’

  ติดตามความงดงามของสถาปัตยกรรมที่ #เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียด จากนิษฐาพราว สตูดิโอสถาปนิกที่เชื่อในการสร้างชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์และประณีต พร้อมค้นหาแรงบันดาลใจและความสุขที่เกิดได้รอบตัวจากสถาปนิกกลุ่มนี้ได้ที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการงานของออฟฟิศ นิษฐาพราวทำงานออกแบบตั้งแต่งานวางผัง สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน และนิทรรศการ เราเชื่อในกระบวนการการสร้างสรรค์ งานอย่างประณีต ผ่านการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ ทั้งศิลปิน วิศวกร นักวิจัย รวมถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานออกแบบที่คำนึงถึงมิติทางสังคม สิ่งแวดล้อมและประวัติศาสตร์ หลักการทำงานของออฟฟิศคือความสุขกับทุกขั้นตอนของการทำงาน งานออกแบบที่เราสนใจคืองานที่ดูเรียบแต่แฝงไปด้วยรายละเอียด ไม่ใช่เพียงเพราะเราเห็นความงามในความเรียบง่ายแต่เพราะงานที่ดูเรียบง่ายมักจะไม่ใช่งานที่ง่าย การออกแบบให้เรียบง่ายมีความท้าทายที่จะต้องคิดว่าทำอย่างไร งานก่อสร้างจะออกมาได้เรียบร้อยประณีตที่สุด   จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม                                           เราเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมที่มันสร้างคุณค่าให้กับคนรุ่นหลัง ด้วยความที่งานสถาปัตยกรรมนั้นส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างยืนยาวเมื่อเทียบกับชีวิตของเรา และยังมีผลกระทบกับสภาพแวดล้อมที่ตั้งของมันไปอีกนาน เราจึงสนใจความสัมพันธ์ของงานออกแบบกับสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อเสื่อมกาลเวลาผ่านไป ในเชิงประวัติศาสตร์งานสถาปัตยกรรมยังเป็นเสมือน ‘อัตชีวประวัติ’ ที่คนรุ่นหลังสามารถเรียนรู้ ค้นคว้า และต่อยอดองค์ ความรู้ต่อไปได้ในอนาคต     มองว่าสถาปนิกรุ่นใหม่และวงการปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างกันไหมเมื่อ 5 หรือ […]

NEW FACES : ความเรียบง่ายและสง่างามจากผลงานของ JUTI ARCHITECTS

  ได้เวลาดึงอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยมานำเสนอในรูปแบบอาคารที่ทั้งเรียบง่ายและสง่างาม เปิดบ้าน JUTI ARCHITECTS ติดตามบทสัมภาษณ์ที่ทำให้เห็นคุณค่าและความสัมพันธ์ของการสร้างผลงานให้สัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติในขณะนั้น รวมถึงเห็นความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้้ที่ วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ แนวคิดที่ออฟฟิศของเราวางแนวทางไว้คือการสร้างสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายแต่สง่างาม (simplicity elegance) และมีความสนใจเป็นพิเศษในการนำอัตลักษณ์จากสถาปัตยกรรมไทย จิตรกรรมไทย และงานหัตถกรรมของไทยมานำเสนอในรูปแบบที่ต่างออกไปผ่านงานสถาปัตยกรรม โดยผ่านการทำความเข้าใจถึงบริบทของพื้นที่พื้นถิ่นและการสื่อสารกับเจ้าของโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สถาปัตยกรรมที่ออกมาเป็นสิ่งที่ลงตัวที่สุดในบริบทนั้นๆ     จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไรหรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสำหรับผมคือการสร้างสภาวะแวดล้อมซึ่งมีผลต่อการเติบโตของผู้คน มันจึงต้องตอบสนองทั้งความจำเป็นทางการใช้งานพื้นฐานและเติมเต็มคุณค่าทางจิตใจของผู้คน ซึ่งนั่นหมายถึงการออกแบบงานสถาปัตยกรรมจำเป็นต้องมีความคำนึงถึงผู้คนเสมอ และให้ในสิ่งที่เหนือความจำเป็นพื้นฐานเพื่อยกระดับ ประสบการณ์ หรือการใช้ชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น เหนือไปกว่านั้นสถาปัตยกรรมยังต้องคำนึงถึงธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะตัวสถาปัตยกรรมก็เป็นการดึงทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้เพื่อสร้างสภาวะแวดลอ้มใหม่ๆ ดังนั้นคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมจึงมิได้อยู่ที่ตัวผลงานเพียง อย่างเดียว แต่รวมถึงผลกระทบระหว่างการสร้างและผลกระทบเมื่อเกิดงานสถาปัตยกรรมนั้นๆ ขึ้นมาแล้วด้วย     ในการทำงานที่ผ่านมามีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง ตัวผมเองเป็นคาทอลิคและคิดอยากออกแบบโบสถ์ซักหลังมาโดยตลอด ฉะนั้นโครงการที่ประทับใจผมที่สุดคือโบสถ์หลังแรกที่ผมได้ออกแบบ นั่นคือโบสถ์แม่พระองค์อุปถัมภ์ เฉวง ตั้งแต่เล็กจนโตการเข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์นั้นมีผลต่อการเป็นสถาปนิกของผมมาก ผมได้มีโอกาสนำเสนอสิ่งต่างๆ ที่ใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็กลงไปในโบสถ์แห่งนี้ โดยผ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชื่อของตัวโบสถ์ หลังจากได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ออกแบบและพัฒนาแบบก่อสร้างจนเสร็จสิ้น โบสถ์แห่งนี้ก็หยุดโครงการไปเพื่อระดมทุน หยุดไปนานถึงหกปี […]

NEW FACES : EKAR ARCHITECTS สถาปนิกที่เชื่อว่าสถาปัตยกรรมคือความจริง

    จะเป็นไปได้หรือไม่ ? เมื่อการ ‘ออกแบบ’ ตัวอาคารไม่ได้ถือกำเนิดจากฝีมือของสถาปนิกเท่านั้น เพราะตัวผู้อยู่อาศัยเอง…กลับเป็นกำลังหลักในการสร้างสรรค์ตัวอาคารด้วยเช่นกัน เรื่องราวของ NEW FACES สถาปนิกหน้าใหม่ในวันนี้ เราขอพาคุณมาเปิดบ้าน EKAR ARCHITECTS พร้อมเรียนรู้มุมมองการทำงานจากพวกเขากับการสร้างคุณค่าให้แก่สถาปัตยกรรมเป็นมากกว่าสิ่งก่อสร้าง พร้อมอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของสถาปนิกหน้าใหม่จากหลากหลายสตูดิโอได้ที่ NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิสสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ EKAR สนใจเรื่องการดำเนินไปของสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ หลังจากสถาปัตยกรรมนั้นเกิดขึ้นมา เรามีความสุขกับการได้ติดตามผลหลังจากที่สถาปัตยกรรมแล้วเสร็จ บางทีอาจจะชอบมากกว่ากระบวนการเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นสถาปัตยกรรมด้วยซ้ำ   จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมคือความจริงเป็นพื้นที่หนึ่งในการสร้างองค์ประกอบของชีวิตและจิตวิญญาณ คุณค่าของของสถาปัตยกรรมอยู่ที่การส่งผลต่อสิ่งต่างๆ รอบๆ สถาปัตยกรรมนั้นๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง โครงการออกแบบอาคารพานิชย์ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีชื่อโครงการ Multi-Place  กระบวนการออกแบบไม่ได้ราบรื่นนัก อาจด้วยการสื่อสารที่เราอยู่กรุงเทพฯ แล้วลูกค้าอยู่ภาคใต้หลายๆ อย่างในแบบไม่ได้ถูกนำไปใช้ เมื่องานแล้วเสร็จก็ได้ตามที่ใจตั้งไว้ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งถือว่าเป็นงานที่น่าพอใจมากแล้ว วันที่เรากลับไปเยี่ยมโครงการเราได้พบการใช้สอยหลายอย่างที่ขัดกับรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมตามแนวคิดของนักออกแบบ หลังจากที่ได้พูดคุยกับเจ้าของโครงการ อธิบายให้ฟังถึงการใช้งานทุกอย่างว่าเหมาะสม ให้ฟังถึงการใช้งานทุกอย่างว่าเหมาะสมกับวิถีชีวิตของพวกเขาอย่างไร […]