ร่างแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 49

ร่างแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 49

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 กรมทรัพยากรธรณี ได้จัดสัมมนาเรื่อง “แผ่นดินไหว : ธรณีพิบัติภัยใกล้ตัว ?” มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความก้าวหน้าในงานด้านแผ่นดิน ไหวของประเทศไทยกับหน่วยงานต่างๆ และถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวสู่นักวิชาการรุ่นใหม่ให้ มีความรู้ความเข้าใจด้านแผ่นดินไหวมากยิ่งขึ้น มีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายควบคุมอาคารซึ่ง จะออกใช้บังคับในอีกไม่นาน จึงขอนำมาเล่าให้สมาชิกฟัง

มาตรการทางกฎหมายควบคุมอาคารกำหนดให้อาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยเนื่องจากแผ่น ดินไหวจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนในระดับหนึ่ง ในปัจจุบันนี้มีกฎหมายควบคุมอาคารอยู่แล้วฉบับหนึ่ง นั่นคือกฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการก่อสร้างอาคารในเขตที่อาจจะได้รับแรงสั่น สะเทือนจากแผ่นดินไหว

สาระสำคัญโดยสรุปของกฎกระทรวงฉบับที่ 49 นี้สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆด้วยกัน ในส่วนแรกจะเป็นเรื่องของการกำหนดพื้นที่ควบคุมไว้ 10 จังหวัดด้วยกัน ประกอบด้วยจังหวัดทางภาคตะวันตก 2 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี และตาก กับจังหวัดทางภาคเหนืออีก 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน

ส่วนที่สอง อาคารที่ก่อสร้างในพื้นที่ควบคุมเหล่านี้ต้องออกแบบให้ต้านทานแรงสั่น สะเทือนของแผ่นดินไหวได้ โดยได้กำหนดประเภทอาคารควบคุมไว้ ซึ่งตามเจตนารมของกฎกระทรวงฉบับที่ 49 ไม่ต้องการที่จะให้มีผลกระทบต่อประชาชนเป็นส่วนมาก เพราะว่าการก่อสร้างอาคารให้ต้านทานแรงสั่นสะเทือนได้นี้จะทำให้ราคาค่าก่อ สร้างสูงขึ้นประมาณ 5-10 % ดังนั้น จึงได้กำหนดประเภทอาคารเฉพาะที่เมื่อเกิดความเสียหายแล้วจะสร้างผลกระทบต่อ คนหมู่มาก เช่น อาคารหอประชุม โรงมหรสพ สถานศึกษา สถานพยาบาล เป็นต้น และรวมไปถึงอาคารที่มีความสูงมากกว่า 15 เมตรด้วย

ส่วนที่สาม ได้มีการกำหนดวิธีการคำนวณแรงเนื่องจากแผ่นดินไหว โดยแยกตามกลุ่มอาคารเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะเป็นอาคารประเภทตึก หรืออาคารที่มีรูปทรงสม่ำเสมอ ในกฎกระทรวงจะมีการกำหนดการคำนวณไว้ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งนำมาจาก Uniform Building Code ของอเมริกา สำหรับอาคารอีกกลุ่มหนึ่งคือ อาคารที่มีลักษณะไม่ใช่เป็นตึก หรืออาคารที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ ในกฎกระทรวงจะระบุให้การคำนวณแรงสั่นสะเทือนจะต้องอาศัยวิธีทางกลศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีที่มีความซับซ้อน โดยกฎกระทรวงไม่ได้มีการระบุรายละเอียดของการคำนวณไว้

ทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นเนื้อหาโดยสรุปของกฎกระทรวงฉบับที่ 49 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว

ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ. 2545 ทางคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ได้ทำหนังสือมาถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อเสนอให้คณะกรรมการควบคุมอาคาร ซึ่งรับผิดชอบในการกำกับดูแล พรบ.ควบคุมอาคาร ให้พิจารณาปรับปรุงกฎกระทรวงฉบับที่ 49 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีประเด็นสำคัญคือ ขอให้มีการขยายพื้นที่บังคับใช้ให้ครอบคลุมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขต ปริมณฑลด้วย เนื่องจากมีผลการศึกษาว่า ดินฐานรากของกรุงเทพและปริมณฑลเป็นดินเหนียวอ่อน มีศักยภาพในการขยายแรงสั่นสะเทือน ซึ่งมีความเสี่ยงภัยจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวจากระยะไกล

หลังจากนั้นทางคณะกรรมการควบคุมอาคารได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อปรับ ปรุงแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 49 ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น หลังจากคณะทำงานศึกษารายละเอียดแล้ว ในที่สุดก็สรุปว่าจะมีการจัดแบ่งพื้นที่ใหม่ จากเดิมที่กำหนด10 จังหวัด จะเปลี่ยนเป็นการกำหนดพื้นที่ควบคุมเป็นบริเวณ ได้แก่

บริเวณที่ 1 หมายถึงพื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนมากและได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ขนาดใหญ่ระยะไกล ซึ่งได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวม 5 จังหวัดด้วยกัน

บริเวณที่ 2 หมายถึงพื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อน ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก เชียงราย เชียงใหม่ จนถึง ลำพูน ซึ่งก็คือ พื้นที่ควบคุมตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 49 เดิม รวม 10 จังหวัด

แต่ในขณะที่กำลังพิจารณารายละเอียดของการเพิ่มพื้นที่ควบคุม ใน 2 บริเวณนี้ก็เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้น ทางกรมทรัพยากรธรณีมีความเห็นว่าน่าจะมีผลกระทบกับสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ รอบๆ แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวรวมถึงภาคใต้ของประเทศไทยด้วย มีรอยเลื่อนอยู่ 2 รอยคือรอยเลื่อนระนองกับรอยเลื่อนคลองวะรุ่ย ซึ่งทางกรมทรัพยากรธรณีมีความเชื่อมั่นว่ารอยเลื่อนทั้งสองรอยนี้เป็นรอย เลื่อนที่มีพลัง พร้อมกับนำเสนอผลการตรวจวัดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่พบว่ามีแผ่นดิน ไหวขนาดเล็ก 1-3 ริกเตอร์หลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคมเกิดขึ้นหลายแห่งในแนวรอยเลื่อนทั้งสอง ทางคณะอนุกรรมการจึงมีความเห็นว่าควรเพิ่มเติมพื้นที่บริเวณรอยเลื่อนทั้ง สอง เนื่องจากมีศักยภาพในการก่อให้เกิดแผ่นดินไหว ทางกรมทรัพยากรธรณีและกรมอุตุนิยมวิทยาตั้งชื่อไว้ว่าเป็น “บริเวณเฝ้าระวัง”

บริเวณเฝ้าระวัง หมายถึงพื้นที่พิเศษของภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดที่อยู่ตามแนวรอยเลื่อนระนอง 2 จังหวัด คือ ระนองและชุมพร และรอยเลื่อนคลองวะรุ่ย มี ภูเก็ต พังงา กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ส่วนอีกจังหวัดหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ จังหวัดสงขลา ซึ่งแม้จะอยู่ห่างจากรอยเลื่อนทั้งสองรอยนี้แต่คณะอนุกรรมการมีความเห็นว่า เป็นจังหวัดที่มีสภาพดินฐานรากเป็นดินอ่อนเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร และมีรายงานความเสียหายของอาคารจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ผ่านมาด้วย

ในบริเวณเฝ้าระวังนี้ผู้ออกแบบโครงสร้างไม่จำเป็นต้องคำนวณแรงสั่นสะเทือน เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าการให้รายละเอียดชิ้นส่วนข้อต่อต่างๆ ของอาคารจะต้องได้รับการออกแบบให้มีความเหนียว ซึ่งทางคณะกรรมการได้จัดทำมาตรฐานไว้ฉบับหนึ่งประกอบร่างกฎกระทรวงเพื่อ เป็นการช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติได้

โดยสรุป พื้นที่ควบคุมจะแบ่งออกเป็น 3 บริเวณ คือ บริเวณเฝ้าระวัง ใน 7 จังหวัดทางภาคใต้ ซึ่งไม่ต้องคำนวณแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากแผ่นดินไหว แต่การออกแบบโครงสร้างจะต้องมีรายละเอียดพิเศษ จากนั้นก็จะมี บริเวณที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย 5 จังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ความรุนแรงจะเทียบเท่ากับ Zone 1 ตาม Uniform Building Code และ บริเวณ 2 พื้นที่ 10 จังหวัดตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 ซึ่งความรุนแรงเนื่องจากแผ่นดินไหวจะเทียบเท่า เท่ากับ Zone 2 ตาม UBC

ยังมีประเด็นการแก้ไขอีกอันหนึ่งที่สำคัญก็คือ การจัดกลุ่มประเภทอาคารควบคุมให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากอาคารในแต่ละ Zone จะมีความรุนแรงหรือมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน จึงกำหนดประเภทอาคารควบคุมแยกตามบริเวณ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้ สะพาน ทางยกระดับที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อยาวตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไปเป็นอาคารควบคุมด้วย ซึ่งเดิมในกฎกระทรวงฉบับที่ 49 ไม่ได้มีการระบุไว้ และอีกส่วนหนึ่งก็คือ เขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนทดน้ำ หรือฝายทดน้ำที่มีตัวเขื่อน หรือตัวฝายที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ก็จะกำหนดให้เป็นประเภทอาคารควบคุมด้วย

ในขณะนี้ ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และนำเข้า ครม.ไป แล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปก็คงจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จากนั้นก็จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปีน

Facebook
Twitter
LinkedIn