การอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ

การอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ

แต่เดิมนั้น การอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงลำน้ำจะอยู่ในความรับผิดชอบของ “เจ้าท่า” ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ซึ่งในสมัยก่อนคือ กรมเจ้าท่า และต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ก็มีการโอนภารกิจมายัง กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 อำนาจบางส่วนก็ได้ถูกมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจของรัฐบาล โดยมีการออก คำสั่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ 185/2548 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงลำน้ำ 4 ประเภทได้แก่ ท่าเทียบเรือขนาดไม่เกิน 20 ตันกรอส, โปีะเทียบเรือและสะพานปรับระดับ, สะพานข้ามคลอง, และคานเรือ รวมถึงการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสิ่งล่วงลำน้ำ, ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ 25 เม.ย. 2548 แต่เพิ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 11 ม.ค. 2550 ที่ผ่านมา

นอกจากนั้น ยังมี คำสั่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ 186/2548 เรื่อง แนวทางการพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ สำหรับสิ่งล่วงลำน้ำทั้ง 4 ประเภทข้างต้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อพิจารณาด้านการใช้พื้นที่ล่วงล้ำลำแม่น้ำ และข้อพิจารณาด้านลักษณะหรือสภาพของสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาใช้ประกอบการออกแบบได้

สมาชิกท่านใดที่สนใจ สามารถขอรับเอกสารได้ที่ ศูนย์ข้อมูลกฎหมายอาคาร

Facebook
Twitter
LinkedIn