พระรามราชนิเวศน์
อ่านเพิ่มเติม
พระรามราชนิเวศน์
- ที่ตั้ง บ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
- สถาปนิก/ผู้ออกแบบ นายคาร์ล ดือห์ริง (Karl Döhring)
- ผู้ครอบครอง กองทัพบก
- ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453
- ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2543
ประวัติ
พระรามราชนิเวศน์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “วังบ้านปืน” สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถในระหว่างเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี ด้วยทรงเห็นว่าพระนครคีรีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนั้น อยู่บนเขา ยากต่อการจัดหาน้ำอีกทั้งยังไกลจากตัวเมือง ไปมาไม่สะดวกนัก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ที่บ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรีและโปรดเกล้าฯ ให้ นายคาร์ล ดือห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกชาวเยอรมันเป็นผู้ออกแบบ ได้วางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2453 หลังจากนั้นไม่กี่เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 และพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งศรเพชรปราสาท” ต่อมาจึงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระรามราชนิเวศน์”
ตัวอาคารพระที่นั่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบจูเก็นด์สติล หรืออาร์ตนูโวแบบเยอรมัน วางผังล้อมลานโล่ง มีลักษณะเด่นที่มุขทางเข้าประกอบด้วยแผงประดับทั้งกว้างและสูงขึ้นไปประมาณหลังคาชั้นบน หลังคาปั้นหยาเปลี่ยนมุม (Mansard) อันแสดงถึงอิทธิพลศิลปะบาโรคในเยอรมัน และมีหลังคาโดมมุงด้วยโลหะที่ปีกขวาของอาคาร ในด้านอื่นๆ ของอาคารก็ดูหลากหลายด้วยรูปทรงที่นำมาประกอบกัน ทำให้อาคารนี้เมื่อมองจากด้านหน้า ดูสง่า หนักแน่น แต่เมื่อมองจากด้านอื่นๆ กลับดูมีจังหวะเคลื่อนไหว อันเป็นลักษณะที่แตกต่างจากสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค ภายในพระรามราชนิเวศน์มีการประดับตกแต่งที่เน้นการใช้กระเบื้องเคลือบได้อย่างงดงามและมีสีสันสดใส ส่วนที่ลานโล่งในปัจจุบันจัดเป็นสวนน้ำพุ แต่เดิมเคยเป็นสนามแบตมินตัน ซึ่งกล่ววกันว่าเป็นสนามแรกในประเทศไทย
Phra Ram Ratchaniwet
- Location Ban Puen, by Petchburi River, Tambon Ban Mo, Amphoe Mueang, Petchaburi Province
- Architect/Designer Mr. Karl Döhring
- Proprietor Royal Thai Army
- Date of Construction 1910 – 1916 AD.
- Conservation Awarded 2000 AD.
History
Phra Ram Ratchaniwet, generally known as Wang Ban Puen, was built by initation of King Rama V as a resort house for his visits to Petchaburi. Mr. Karl Döhring, a German architect, was commissioned to design the project. Construction began in 1910, regrettably the King passed away a few months afterward therefore, King Rama VI took care of the prouject until completed in 1916.he then named it “Phra Thinang Sonpetch Prasat”, which was later changed to “Phra Ram Ratchaniwet”.
The architecture is Jugendstill, or German Art Nouveau style, which comprises rectangular halls surrounding a courtyard. The entrance is accentuated by a large fractable; the roofs are Mansard, with a domed hall at the right wing. The front fagade appears stately and solid, whereas the other sides are dynamic with several forms of roofs and masses, which is notably different from Classical building.
The interior is also brautifully decorated with glazed tiles on floors and walls. The courtyard, where a fountain stands at present, was originally a Badminton court that is qputed as the first one in Thailand.




ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (เดิม)
อ่านเพิ่มเติม
ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (เดิม)
- ที่ตั้ง ถนนประชาราษฎร์ สาย 3 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
- สถาปนิก/ผู้ออกแบบ –
- ผู้ครอบครอง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ปีที่สร้าง พ.ศ. 2454
- ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2543
ประวัติ
ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะอาคารเป็นแบบ โคโลเนียล ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบลานล่าง มีระเบียงรอบทั้งชั้นบนชั้นล่าง อาคารนี้เดิมเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2454 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชกาลที่ 7 ประเทศไทยประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรงเรียนจึงถูกยุบไปรวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง จนกระทั่งพ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีจากท่าเรือตลาดขวัญมาตั้ง ณ อาคารนี้ สมัยนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีคือพระยาศิริชัยบุรินทร์ (เปี่ยม หงสเดช) เมื่อศาลากลางจังหวัดได้ย้ายไปในปี 2533 อาคารนี้ก็ได้เปลี่ยนการใช้สอยเป็นที่ทำการวิทยาลัยมหาดไทย สถาบันดำรงราชานุภาพ ทางปีกขวาและด้านหลังอาคารเป็นพื้นที่ที่ได้อนุญาตให้โรงเรียนอนุบาลธนบุรีใช้ อาคารนี้ได้รับการบูรณะให้อยู่ในสภาพดี และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524
Nonthaburi Province hall (former)
- Location Pracharat Sai 3 Road, Amphoe Mueang, Nonthaburi Province
- Architect/Designer –
- Proprietor Office of the Permanent Secretary, Ministry of Interior
- Date of Construction 1911 AD.
- Conservation Awarded 2000 AD.
History
The former Nonthaburi Provincial Hall is located on the eastern bank of Chaophraya River. The architecture is Colonial style with rectangular plan surrounding an open court. Both of the first floor and ground floor are surrounded by verandahs. Originally, this building was a school house of Ratchawittayalai School, built in 1911, The reign of King Rama VI. The school operated until the reign of King Rama VII that that it had to be united with Mahadlek College due to economic downfall. Later in 192, the king had the provincial hall moved from Talad Khwan Pier to be situateat the building. At that time, Phraya Sirichaiburin (Piam Hongsadet) was the Government of Nonthaburi.
When the provincial hall moved again in 1990, the building became the office of the Mahadthai College, Damrong Rajanubhab Institute. The right wing and the rear of the building are granted for the use of the use of Thon Buri Kindergarten. The building is well restored and registered as National Monument by Fin Arts Depatrment on 28th April, 1981.
ตึกยาว โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
อ่านเพิ่มเติม
ตึกยาว โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ที่ตั้ง 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
- สถาปนิก/ผู้ออกแบบ –
- ผู้ครอบครอง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453
- ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2543
ประวัติ
สถาปัตยกรรมยุโรปแบบนีโอคลาสสิคที่ทอดยาวตามแนวถนนตรีเพชรนั้น คืออาคารเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เรียกกันว่า “ตึกยาว” หรือ “ตึกหลังยาว” ลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น กว้าง 11.35 เมตร ยาว 198.35 เมตร ผนังอาคารด้านติดถนนชั้นล่างเป็นแนวหน้าต่างโค้ง ส่วนชั้นบนบางส่วนถอยร่นผนังเข้าไปอยู่หลังแนวซุ้มโค้งที่เป็นทางเดิน ช่องทางเข้าสู่ภายในโรงเรียนทำเป็นหลังคาจั่ว ตกแต่งด้วยปัลลาเดียนโมทิฟตามแบบของวิลล่าที่ออกแบบโดยปัลลาดิโอ ผนังด้านภายในบริเวณโรงเรียนเป็นแนวทางเดินในซุ้มโค้ง (Arcade) ยาวตลอดทั้งสองชั้น ซึ่งแต่เดิมเป็นแนวทางเดินหน้าห้องเรียน
ตามประวัติพื้นที่ธรณีสงฆ์ของวัดราชบูรณะ แต่แรกทางวัดตั้งใจจะสร้างเป็นตึกแถวไว้เก็บค่าเช่า แต่ทางกระทรวงธรรมการ (ต่อมาเป็นกระทรวงศึกษาธิการ) ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานที่ดินท้ายวัดราชบูรณะ และขอเช่าตึกที่ทางวัดต้องการจะสร้างเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการศึกษา ทางวัดจึงได้ตกลงก่อสร้างอาคารขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2453 สร้างเสร็จในปี 2454 และให้กระทรวงธรรมการเช่า ในอัตราค่าเช่า 2,258.25 บาทต่อปี ตามที่ได้ตกลงกัน อาคารนี้เมื่อแรกสร้างมีห้องเรียน 14 ห้อง มีเฉลียงทางเดินทั้งด้านนอกและด้านใน แต่ต่อมาได้ตกลงกัน อาคารนี้เมื่อแรกสร้างมีห้องเรียน 14 ห้อง มีเฉลียงทางเดินทั้งด้านนอกและด้านใน แต่ต่อมาได้ก่อผนังปิดเฉลียงด้านติดถนนตรีเพชร
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2488 ตึกยาวถูกระเบิดเสียหายเป็นบางส่วน และได้รับการบูรณะใหญ่ในปี 2517 ให้กลับสู่สภาพเดิม และมีการบูรณะอีกครั้งในปี 2522 โดยแก้ปัญหาโครงสร้างและการแตกร้าว ปัจจุบันอาคารนี้มิได้ใช้เป็นอาคารเรียน แต่ใช้เป็นอาคารเพื่อการบริหารและกิจกรรม เช่น ห้องผู้อำนวยการ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องประชาสัมพันธ์ และห้องชุมนุมต่างๆ อาคารนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530
Tuk Yao, Suan Kulab College
- Location 88 Tri Phet Road, Khwaeng Wangburapha Phirom, Khet Phra Nakhon, Bangkok
- Architect/Designer Unknown
- Proprietor Suan Kulab College
- Date of Construction 1910 AD
- Conservation Awarded 2000 AD
History
Tuk Yao (Long Building) is a Neo-classic architecture which stretches along the tri phet Road, originally a school building of Suan Kulab College. It is 2-storey sized 11.35 metres by 198.35 metres. The walls are fitted with arched windows on the road side and arcades on the inner side. The entrance is rectangular gateways.
The building was initially built by Wat Ratchaburana on request of the Ministry of Education, who promised to rent the building from the temple when it was finished. Construction, therefore, began in 1910 and was completed in 1911. Then it was rented to be used as a school building for 2,258.25 baht per year. At that time, the building comprises 14 classrooms, which were the first ones of Suan Kulab College. During WW II in 1945, the building was partially destroyed by bombs and was later reconstructed to its original features. At present, it is used as administration office activities house.




ตึกกองบัญชาการบนเขาน้ำโจน (ตึกซาโต้)
อ่านเพิ่มเติม
ตึกกองบัญชาการบนเขาน้ำโจน (ตึกซาโต้)
- ที่ตั้ง ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
- สถาปนิก/ผู้ออกแบบ พลตรีอุทัย วงศ์วีรเดช
- ผู้ครอบครอง ศูนย์การทหารปืนใหญ่
- ปีที่สร้าง พ.ศ. 2487
- ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2543
ประวัติ
ตึกกองบัญชาการบนเขาน้ำโจน (ตึกซาโต้) เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่ออกแบบให้มีลักษณะของป้อมปราการที่แข็งแกร่งดุจหินผา เน้นแนวคิดดังกล่าวด้วยผนังหนา รูปทรงที่ดูหนักแน่น และการใช้วัสดุก่อสร้างธรรมชาติเช่นหินก้อนใหญ่มาก่อผนัง ทำให้อาคารนี้มีลักษณะเด่นที่แปลกไม่เหมือนใคร และด้วยรูปลักษณ์ดังกล่าวที่ทำให้นึกถึงปราสาทฝรั่งโบราณ จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ตึกซาโต้ หรือตึกปราสาท
ตึกนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2487 สมัยที่พลตรีอุทัย วงศ์วีรเดช ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกปืนใหญ่ กรมเสนาธิการทหารบก โคกกระเทียม ลพบุรี ตามความดำริของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงครามซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบกด้วย วัตถุประสงค์ของท่านในการก่อสร้างอาคารนี้คือเพื่อใช้เป็นที่ตรวจการณ์ สำหรับสอนผู้ตรวจการณ์หน้าให้กับหลักสูตรต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาในโรงเรียนทหารปืนใหญ่ เป็นตึกรับรองผู้บังคับบัญชาชั้นสูงและแขกผู้มีเกียรติชาวต่างประเทศ ดังนั้น อาคารจึงประดับสัญลักษณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ รูปไก่และคฑาไขว้ ภายในอาคารชั้นล่างประกอบด้วยห้องรับแขกห้องยุทธการ ส่วนชั้นบนเป็นห้องทำงานของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ห้องเรียน ห้องบรรยาย และห้องพักผ่อนรวมทั้งมีห้องหลบภัยใต้ดินที่มีอุโมงค์สำหรับหลบหนีไปยังเชิงเขาได้ นับว่าเป็นอาคารที่สนองประโยชน์ใช้สอยทางยุทธศาสตร์อีกโสดหนึ่งด้วย
อาคารนี้เคยมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ ใน พ.ศ. 2528 โดยผู้บัญชาการศูนย์ปืนใหญ่ พลตรีศิรินทร์ ธูปกล่ำ เป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบันทางศูนย์ทหารปืนใหญ่ได้อนุรักษ์อาคารไว้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่องราวและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ของ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
Khao Nam Chon Headquarter (Chateau Building)
- Location Tambon Khao Phra Ngam, Amphoe Mueang, Lop Buri Province
- Architect/Designer Major General Uthai Wongwiradet
- Proprietor Artillery Center
- Date of Construction 1944 AD.
- Conservation Awarded 2000 AD.
History
Khao Nam Chon Headquarter (Chateau Building) is a modern architecture which was designed to appear like a strong and invincible fortress. The concept is expressed by its thick walls, firm and solid forms, and the use of natural materials such as a large blocks of stones. The result is a unique building which reminds us of an ancient castle, thus it is also called “The Chateau”.
The building was built in 1994, initiated by Field Marshal P.Phibunsongkhram, the Prime Minister who was also the Defence Minister, and Commander in Chief of the Royal Thai Army. He intended for this building to be an inspection hall, a training centre for front inspectors, and a reception house for high ranked officials and foreign visitor. Thus the building is decorated with his emblem, the rooster and crossed scepters. The ground floor comprises a reception hall and a strategic planning room, the upper floor comprises lecture hall, living room and the Field Marshal’s study. There is also an underground hideout and a tunnel which leads to the foot of thehill where the building is located. It may then be said that this building was intentionally planned to serve, also, a strategic purpose.
Major restoration was carried out in 1985 by Major General Sirin Thupklam. Head of the Artillery Center. At present, the building is conserved as a museum for exhibitions on Field Marshal P.Phibunsongkram.

