พ.ศ. 2527

สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ

อ่านเพิ่มเติม

สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ

ที่ตั้ง ถนนวิทยุ กรุงเทพมหานคร

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ นายวิลเลียม อัลเฟรด เร วูด (William Alfred Rae Wood) และ British Ministry of Works ประเทศอังกฤษ

ผู้ครอบครอง สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2469

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ
สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ ตั้งอยู่ ณ ถนนวิทยุ บนที่ดินที่สถานกงสุลอังกฤษได้ซื้อจากนายเลิศ (พระยาภักดีนรเศรษฐ) เมื่อปี พ.ศ. 2465 จากนั้นก็ได้ดำเนินการออกแบบอาคารโดยนายดับเบิลยู. เอ. อาร์. วูด รองกงสุลเป็นผู้วางแนวทางในการออกแบบ และ The Bristish Minstry of Warks ประเทศอังกฤษ ออกแบบและรายละเอียด การก่อสร้างอาคารเริ่มในปี 2466 แล้วเสร็จในปี 2469 ในสมัยที่เซอร์ โรเบิร์ต เกรก เป็นกงสุลใหญ่ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมโคโลเนียลผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขกลาง ที่จั่วมุขกลางประดับตราแผ่นดินของอังกฤษ ออกแบบโดยเน้นความโปร่งสบายด้วยหน้าต่างและช่องระบายอากาศ การตกแต่งเป็นปูนปั้นและไม้ฉลุ ภาพรวมดูสง่างาม มั่นคง และภูมิฐาน อาคารนี้ชั้นล่างใช้เป็นที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต ชั้นบนเป็นบ้านพักเอกอัครราชทูต ซึ่งเป็นการใช้สอยที่สืบเนื่องมาตลอดตั้งแต่แรกสร้างอาคาร


อาคารอเนกประสงค์ ราชตฤณมัยสมาคม

อ่านเพิ่มเติม

อาคารอเนกประสงค์ ราชตฤณมัยสมาคม

ที่ตั้ง ราชตฤณมัยสมาคม 183 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ –

ผู้ครอบครอง ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2459

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ

ราชตฤณมัยสมาคม หรือสนามม้านางเลิ้ง ก่อตั้งขึ้นโดยพระยาประดิพัทธภูบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสนาม เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2459 โอกาสนี้ได้พระราชทานนาม “ราชตฤณมัยสมาคม” และรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกทั้งยังส่งม้าในคอกของพระองค์ท่านเข้าแข่งด้วย อาคารอเนกประสงค์ ราชตฤณมัยสมาคม เดิมเป็นโรงม้าของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยโถงขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ด้านทิศใต้เป็นโถงทางเข้าส่วนด้านทิศเหนือเป็นที่สำหรับประทับเพื่อทอดพระเนตรการแข่งม้า รูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค ตกแต่งด้วยคิ้วบัวและลวดลายปูนปั้น มีรายละเอียดที่งดงาม หน้าต่างเป็นบานกระทุ้งเกล็ดไม้ติดตายในบานเปิด ลักษณะที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือโถงกลางที่เป็นโถงกว้าง เพดานสูงไม่ตีฝ้า โครงสร้างหลังคาเป็นโครงสร้างถักเหล็กพาดช่วงเดียวไม่มีเสากลาง และมีการใช้เหล็กเส้นดึงยึดแบบ tied truss ปัจจุบันใช้เป็นสโมสรกีฬาแบดมินตัน ทำพื้นใหม่โดยยกพื้นขึ้นจากระดับเดิมประมาณ 80 เซนติเมตร จากโครงสร้างและรูปแบบสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่า อาคารนี้อาจมิใช่ที่เลี้ยงม้าตามที่กล่าวกันไว้แต่อาจจะเป็นโรงฝึกม้าประเภทสวยงาม (dressage) ซึ่งมักจะฝึกในร่มและเป็นกีฬาขี่ม้าประเภทหนึ่งที่นิยมกันในยุโรป

Multi-purpose Hall, Royal Turf Club

Location Royal Turf Club of Thailand, 183 Phitsanulok Road, Khet Dusit, Bangkok

Architect/Designer Unknown

Proprietor Royal Turf Club of Thailand under Royal Patronage

Date of Construction 1916 AD.

Conservation Awarded 1984 AD.

History
The horse racing course and club on Phitsanulok Road was founded by Phraya Pradiphattgaphuban. King Rama VI presided over the Opening Ceremony on 18th December, 1916. He had accepted the club under royal patronage and named it “Royal Turf Club of Thailand” The Multi-purpose Hall is one of the historic buildings since the establishment, originally the royal stable of King Rama VI. It is a rectangular building with a large hall in the middle flanked by the entrance to the south and the observation hall, where the King sat to watch the race, to the north. The architecture is Neoclassic, beautifully decorated with stuccos and mouldings. The middle hall is noticeable with its steel tied truss roof structure covering the whole area without middle supports. At present, the hall is used as a gymnasium for badminton courts and the floor is elevated approximately 80 centimeters above the original. It is assumble from structure and the design that this might not have been a stable as generally believed, but rather, an indoor arena for dressage riding practice.


โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

อ่านเพิ่มเติม

โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

ที่ตั้ง วัดเบญจมบพิตร ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ –
ผู้ครอบครอง โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
ปีที่สร้าง ประมาณ พ.ศ. 2445
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาส วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2445 (ร.ศ. 121) ด้วยทุนทรัพย์ของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ และเจ้าจอมมารดาเกสรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวัและเปิดอาคารเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2447 (ร.ศ. 123) ปัจจุบันยังได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพดี และใช้เป็นสำนักงานและหอประชุมของโรงเรียน ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์รีไววัล วางผังแบบสมมาตร หลังคาปั้นหยา มี มุขยื่น 3 มุข มุขกลางหลังคาจั่ว เน้าความสำคัญด้วยขนาดและการตกแต่งหน้าจั่วแผงประดับมีจารึกกล่าวถึงการก่อตั้งอาคาร ตัวอาคารชั้นล่างผนังเซาะร่องเลียนแบบการก่อหิน ซุ้มหน้าต่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนชั้นบนซุ้มหน้าต่างโค้งกลม (round arch) โดยรวมมีการตกแต่งด้วยคิ้วบัว และปูนปั้น แต่ลวดลายต่างๆ มีลักษณะแข็งแรง เป็นระบบและใช้จังหวะซ้ำๆ เน้าความหนักแน่นมั่นคงไม่หรูหราแพรวพราว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกในรัชกาลที่ 5 ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การใช้สีอาคารเป็นสีชมพูอมม่วงคล้ายสีเม็ดมะปราง อันกล่าวกันว่าเป็นสีทรงโปรดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Mathayom Wat Benchamabophit School

Location Wat Benchamabophit, Si Ayutthaya Road, Bangkok
Architect/Designer Unknown
Proprietor Mathayom Wat Benchamabophit School
Date of Construction 1902 AD.
Conservation Awarded 1984 AD.

History
Mathayom Wat Benchamabophit School is located in the Sangkhawas (monk’s private zone) at Wat Benchamabophit Dusitwanaram. The historic building was built in 1902 by funding from Prince Isariyaphon, Prince Anusonsiriprasat, and Cha Chom Manda Keson, a consort of King Rama V. the building has been conserved and, at present, used as the school office and auditorium The building is Renaissance Revival style with a symmetrical plan, hipped roof and 3 porches. The middle porch is gabled and accentuated by a fractable on which inscribed a record on the construction. The ground floor walls are rusticated, rectangular windows whereas the first floor windows are round arched. Decorative elements are sting, systematic, and applied with repeated rhythm which results in a steady and firm look, that may be considered as one of Western influenced architectural characteristics of King Rama V period. It is also noticeable that the building is painted in mauve colour, quoted as the favorite of King Rama


วังวรดิศ

อ่านเพิ่มเติม

วังวรดิศ

ที่ตั้ง 204 ถนนหลานหลวง กรุงเทพฯ
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ นายคาร์ล ดือห์ริง (Karl Doring)ผู้ครอบครอง พลตรี ม.ร.ว. สังขดิศ ดิศกุล
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453-2454
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ
วังวรดิศ เป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปราชญ์แห่งรัตนโกสินทร์ผู้ทรงได้รับสดุดีให้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย และเป็นบุคคลสำคัญของโลก ก่อสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2453-2454 บนที่ดินของพระมารดาของพระองค์ท่าน คือเจ้าจอมมารดาชุ่มในรัชกาลที่ 4 โอกาสนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง พระบรมวงศ์หลายพระองค์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางท่านประทานและถวายวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือนบางอย่าง สถาปัตยกรรมนั้นมีรูปแบบจูเกนสติล หรืออาร์ตนูโวแบบเยอรมัน ออกแบบโดยนายคาร์ล ดือห์ริง(Karl Dohring) สถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาจั่วปาดมุมทรงสูงมุงกระเบื้องดินเผาเกาะยอจากสงขลา หน้าต่างมีทั้งแบบซุ้มโค้งและสี่เหลี่ยมผืนผ้า การตกแต่งทั้งภายนอกและภายในเป็นไม้แกะสลักและลวดบัวปูนปั้น รูปทรงโดยรวมของตัวอาคารดูหนักแน่นทว่ามีชีวิตชีวาด้วยรายละเอียดที่หลากหลาย อันเป็นบรรยากาศของสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประทับ ณ วังวรดิศ จนหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 ได้เสด็จไปประทับที่หัวหินและปีนังตามลำดับ หลายปีต่อมาจึงเสด็จกลับมาประทับ ณ วังวรดิศอีกครั้งจนสิ้นพระชนม์ที่นี่เมื่อปี พ.ศ.2486 หลังจากนั้นวังวรดิศได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของพระนัดดา คือ พลตรี ม.ร.ว.สังขดิศ ดิศกุล

Wang Woradit

Location 204 Lan Luang Road, Bangkok
Architect/Designer Mr. Karl Dohring
Proprietor Major General Mom Ratchawong Sangkadis Diskul
Date of Construction 1910-1911 AD.
Conservation Awarded 1984 AD.

History
Wang Woradit (Woradit Palace) was originally a residence of Prince Krommaphraya Damrong Rajanubhab, one of Thailand’s greatest and most honoured personalities in fields of history, archaeology, literature, education and public administration. The palace was built during 1910-1911 on the land which belonged to his mother, Chaochom Manda Chum, a consort of King Rama IV. The palace’s architecture is Jugendstil, or German Art Nouveau style desiged by Mr. Karl Dohring, a German architect. It is 2-story, hipped gable, high-pitched roof tiled with local terracotta roof tiles from Songkhla. The building is fitted with both arched and rectangular windows and decorated with woodcarvings and stcco mouldings. The appearance is sturdy and resolate, yet dynamic and gentle with variation of detail, thai is characteristically a Art Nouveau. Prince Krommaphraya Damrong Rajanuhab lived at the palace until after democratization in 1932 that he left to Hua Hin and Penang consecutively. He returned after several years away, and died here in 1943. At present, the palace houses a museum and a library in care of his grandson, Major General Mom Ratchawong Sangkadis Diskul.

This image has an empty alt attribute; its file name is 27PUB012.0037.webp

พระตำหนักทับขวัญ

อ่านเพิ่มเติม

พระตำหนักทับขวัญ

ที่ตั้ง พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี)
ผู้ครอบครอง มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2454
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ
พระตำหนักทับขวัญ เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังสนามจันทร์ ก่อสร้างขึ้นโดยพระบรมราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปแบบเป็นหมู่เรือนเครื่องสับแบบไทยภาคกลาง ออกแบบโดยพระยาวิศุกรรมประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) ประกอบด้วยเรือนฝาปะกน 8 หลัง เมื่อแรกสร้างมุงหลังคาจาก หลบหลังคากระเบื้องดินเผา การก่อสร้างแล้วเสร็จและมีพระราชพิธีเฉลิมพระตำหนัก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2454 ในด้านการใช้สอย เดิมในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่า กองเสนาน้อยราบหนักรักษาพระองค์ ในสมัยรัชกาลที่ 7 ใช้เป็นที่พักเกษตรมณฑล การบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. 2525 – 2526 ได้เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา และได้ปรับปรุงพระตำหนักเป็นสถาบันศึกษาและวิจัยทางศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันตก และพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

Phra Tamnak Tab Khwan

Location Sanamchan Palace, Nakhon Phrathom
Province Architect/Designer Phraya Wisukamsilapaprasit (Noi Silapi)
Proprietor Silpakorn University
Date of Construction 1911 AD.
Conservation Awarded 1984 AD.

History
Phra Tamnak Tab Khwan (Tab Khwan Pavilion) is part of Sanamchan Palace built by order of King Rama VI. The architecture is Central Thai traditional style designed by Phraya Wisukamsilapaprasit (Noi Silapi). The group comprises 8 houses, thatched at first built with terracotta ridge. Construction was completed and opening ceremony was held on 25th January, 1911. The house functioned as a headquarter of the Scouts in King Rama VI period and, in the reign of King Rama VII, changed to be the Monthol Agricultural Officer Residence. On the latest restoration, 1982 – 1983, roofing materials were changed to terracotta tiles. At present, the pavilion is used as Institute on Western Region Arts and Cultura; and Museum of Arts and Culture, Silpakorn University


เมืองโบราณ

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณ

ที่ตั้ง ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ –
ผู้ครอบครอง บริษัทเมืองโบราณจำกัด
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2506
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ
เมืองโบราณ ก่อตั้งขึ้นด้วยความตั้งใจและความอุตสาหะวิริยะของนายเล็ก วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจผู้มีใจรักในศิลปวัฒนธรรม ลักษณะของโครงการเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง (Open air museum) ก่อสร้างขึ้นโดยแนวคิดที่จะแสดงงานสถาปัตยกรรม ชีวิต และศิลปวัฒนธรรมไทยในอดีต บนพื้นที่ที่มีรูปร่างคล้ายแผนที่ประเทศไทย สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้รับการวางตำแหน่งให้ใกล้เคียงกับสถานที่ตั้งจริง ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถรับรู้บรรยากาศเหมือนเดินทางไปตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย ศิลปสถาปัตยกรรมของเมืองโบราณ มีทั้งงานที่เป็นของดั้งเดิมรื้อย้ายมาจากที่อื่น และงานก่อสร้างใหม่ ที่น่าชื่นชมคือไม่ว่าจะเป็นการปรุง ประกอบ ก่อสร้างหรือตกแต่ง ท่านเจ้าของคือคุณเล็กและคุณประไพ ได้คัดเลือกช่างที่มีฝีมือเยี่ยมมาดำเนินการ ทำให้ผลงานทุกชิ้นในโครงการนี้มีคุณค่าสูงทางศิลปะ ประกอบกับการจัดภูมิทัศน์ที่สวยงาม ทำให้เมืองโบราณเป็นสถานที่ที่ประทับใจผู้เข้าชมตลอดมา การก่อสร้างเมืองโบราณเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 และยังคงดำเนินสืบมาแม้คุณเล็กจะล่วงลับไปแล้ว ทำให้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งนี้มีสิ่งใหม่ๆ ให้ชมอยู่เสมอ เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยต่อไป ดังเจตนารมณ์ของคุณประไพ ที่แถลงไว้ว่า “…เหตุไฉนประเพณีวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษมอบไว้ให้แก่เราจึงถูกทอดทิ้งบ้าง ทำลายบ้าง ทั้งๆ ที่วัฒนธรรมประเพณีนั้นเหมาะสมกับสังคมมนุษย์และสิ่งแวดล้อมของเขา โดยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงอยากให้มนุษย์ร่วมโลก รู้จักประเพณีและวัฒนธรรมของเรา เพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์ อย่างน้อยก็เป็นเครื่องเตือนใจของผู้ที่กำลังหลงทางในสังคมปัจจุบัน…”

Muang Boran

Location Sukhumwit Road, Tambon Bang Pu, Amphoe Cha-am, Samut Prakan
Province Architect/Designer –
Proprietor Muang Boran Co., Ltd.
Date of Construction 1963 AD.
Conservation Awarded 1984 AD.

History
Muang Boran Project was founded by the enthusiasm and perseverance of Mr. Lek Wiriyaphan, a businessman who highly cherished art and culture. The project is an open air museum situated on a vast area, which has beeb choosen to have a shape similar to the map of Thailand. The exibitits are, therefore located on the sites which correspond to the originals’ that enable visitors to get a feeling of touring in different regions around the country. The compound comprises various kinds of art and architecture, some are the relocated originals, some are reconstructure form imaginations. Thry are highly distinguished in all aspects or workmanship thanks to the owners, Mr. Lek and Mrs. Praphai Wiriyaphan who put their efforts in finding the best craftsmen to catty out the works. The structure, in combination with beautiful and well-designed landscape, have made Muang Boran a memorable place to visitors of all time. The project began in 1963, and has continued until today thus Muang Boran always have something new for visitors to see, and to be handed down to our followers, as the statement of Mrs. Praphai Wiriyaphan clearly expresses: “…Why have traditions and cultures that our forefathers gave to us been neglected, or destroyed in spite of their suitability to our society and environment? Therefore, I wish for humankind to learn our traditions and culture because I believe it will be beneficial. At least to remind those who as lost in today’s society…”


กลุ่มพระราชมณเฑียรสถาน พระราชวังพญาไท

อ่านเพิ่มเติม

กลุ่มพระราชมณเฑียรสถาน พระราชวังพญาไท

ที่ตั้ง ถนนราชวิถี เขตพญาไท กรุงเทพฯ
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ นายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamgno) ออกแบบพระที่นั่งเทวราชสภารมย์
ผู้ครอบครอง ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453 – 2465
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ
พระราชวังพญาไท เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับในเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาส “นาหลวงคลองพญาไท” คือพื้นที่ทุ่งสามเสนต่อกับทุ่งพญาไทในสมัยนั้น เมื่อแรกสร้างทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า “พระตำหนักพญาไท” เนื่องจากทรงถือเป็นที่ประทับชั่วคราว ส่วนพระตำหนักและพระที่นั่งที่สร้างขึ้นก็มีลักษณะที่ไม่ได้ใหญ่โตหรูหรามากนัก หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเศร้าโศกมากทำให้พระพลานามัยอ่อนแอลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทูลเชิญเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักพญาไท และทรงประทับอยู่จนสวรรคตในปีพ.ศ. 2463 ระหว่างนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งและพระตำหนักเพิ่มเติมในช่วงปีพ.ศ. 2453-2465 และได้พระราชทานนามตามลำดับคล้องจองกัน ได้แก่ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระนั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ (ท้องพระโรงเดิม) พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ (ตึกคลังเก่า) พระที่นั่งที่เป็นประธานอยุ่ในกลางคือพระที่นั่งพิมานจักร ส่วนพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ ซึ่งเคยเป็นที่ทรงพระอักษรมาแต่เดิมนั้นทรงพระราชทานนามใหม่ว่า พระตำหนักเมขลารูจี สถาปัตยกรรมของพระที่นั่งต่างๆ เป็นแบบโรแมนติก ออกแบบโดยสถาปนิกฝรั่ง ที่ปรากฏชื่อคือนายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) ออกแบบพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ส่วนพระที่นั่งอื่นๆไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตัวอาคารมีการตกแต่งด้วยปูนปั้น ไม้แกะสลัก หลังคาของพระที่นั่งบางหลังเป็นโดมแหลมสูง การตกแต่งภายในเป็นปูนปั้นและจิตรกรรมปูนเปียก โดยภาพรวมมีความแปลกน่าตื่นใจ และงดงามด้วยฝีมือช่างที่ละเอียดประณีต ภายในบริเวณพระราชวังมีภูมิสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ สวนโรมัน ซึ่งเป็นสวนแบบโรแมนติกเช่นกัน หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตได้มีการปรับปรุงพระราชวังเป็น “โรงแรมพญาไท” เป็นที่ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สังกัดศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก พระที่นั่งต่างๆ ได้รับการบูรณะและดูแลเป็นอย่างดี และยังใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของโรงพยาบาล

Muang Boran

Location Ratchawithi Road, Khet Phaya Thai, Bangkok
Architect/Designer Mr. Mario Tamagno designed Thewarat Sapharom Hall
Proprietor Pramongkutklao Medicine Center, Royal Thai Army Medical Department
Date of Construction 1910 – 1922 AD.
Conservation Awarded 1984 AD.

History
Phayathai Palace was initially built by King Rama V as his countryside resort for his visit to the royal paddy fields in Phayathai area. The buildings in that period were small and simple, as the King considered it a temporary residence. After Rama V passed away in 1910, Queen Si Patcharinthra was so mournful that her health was affected, King Rama VI, her son, thus invited her to stay at Phayathai where she lived and passed away in 1920. Meanwhile, during 1910 – 1922, the King had permanent halls built and when complete he named them, Waikunthephayasathan, Phimanchakri, Sisutthaniwat, Thewaratsapharom, and Undomwanaphon Pavilion where he used as his study as Mekhalaruchie. The architecture of halls are Romantic style designed by European architects, one of them is Mr. Mario Tagmano who designed The waratsapharom Hall. However, designers of other halls are unknown. The halls are decorated with stuccos and woodcarvings. Some halls are with high domed roof. The interiors are decorated with frescos and stuccos. Overall, the palace is picturesque, exciting, extraordinary and elaborate with fine craftsmanship. There is also a historic landscape in the compound, that is, the Roman Garden, which is also in Romantic style. After King Rama VI’s reign, the palace has been rehabilitated as a hotel called “Hotel Phatahai”, a government broadcasting station “PJ 7” and the Pramongkutklao Medicine Center consecutively. It is now known as “Pramongkutklao Hospital”. The halls have been renovated to serve the hospital’s uses.


กรมแผนที่ทหาร

อ่านเพิ่มเติม

กรมแผนที่ทหาร

ที่ตั้ง ถนนกัลยาณไมตรี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ นายเอส. คาร์ดู (S. Cardu) และนาย ไอ. ดี. คาสตร์ (I. D. Castre)
ผู้ครอบครอง กองบัญชาการทหารสูงสุด
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2434
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ
การทำแผนที่ในประเทศไทยนั้น เริ่มขึ้นอย่างเป็นระบบในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนายเฮนรี อลาบาสเตอร์ (Henry Alabaster ต้านสกุลเศวตศิลา) ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ได้ถวายคำแนะนำให้จัดตั้งกองทำแผนที่ขึ้นและเริ่มทำแผนที่กรุงเทพฯ แผนที่การวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯไปพระตะบอง และแผนที่อ่าวไทย ต่อมาการแผนที่ได้พัฒนาขึ้น จนใน พ.ศ. 2426 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนแผนที่ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และจัดตั้งกรมแผนที่เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2428 โดยเจ้ากรมคนแรกคือ พระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาธี) ส่วนอาคารกรมแผนที่ทหาร ได้สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2434 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังสราญรมย์ เรียกว่า โรงเรียนทหารสราญรมย์ ต่อมาได้ใช้เป็นกรมเสนาธิการทหารบก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2474 กรมแผนที่จึงย้ายมาที่อาคารนี้ และได้ดำเนินการต่อมาจนรวมกิจการเข้ากับกรมแผนที่ทหารบกและในพ.ศ. 2506 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นกรมแผนที่ทหารมาจนปัจจุบัน รูปแบบอาคารเป็นแบบนีโอคลาสสิค เน้นจุดเด่นที่มุขขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่มุขกลาง มีแผงประดับหน้ามุข ประกอบด้วยตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเกี้ยว) และช้างเอราวัณ

Royal Thai Survey Department

Location Kalayanamaitri Road, Khwaeng Phra Borommaharatchawang, Khet Phra Nakhon, Bangkok
Architect/Designer Mr. S. Cardu and Mr. I. D. Castre
Proprietor Supreme Command Headquarters
Date of Construction 1891 AD
Conservation Awarded 1984 AD

History
Survey works in Thailand has systematically begun since King Rama V’s reign when Mr. Henry Alabaster, the royal private Consultant had advised the king to establish a Survey Division, whose earliest works included the mapping of Bangkok, the telegram line from Bangkok to Battambang, and the Gulf of Thailand. Consequently, the first Survey School was founded in 1883, and 3rd September 1885, saw the establishment of the Survey Department, with Phra Wiphaphuwadon (James McCarthy) as the first Director As for the building, it was built circa 1891 as part of Saranrom Palace. It was a military school and the Chief of Staff Department consecutively before it became the office of the Survey Department in 1931. Later, after having been united with Royal Thai Survey Department. The building is neoclassic style accentuated by massive porches, particularly the middle one, which is decorated with a fractable on which the emblem of King Rama V an Eranwan, the three-headed elephant are embellished