NEW FACES : ให้ทุกชิ้นงานการันตีคุณภาพของ OCTANE ARCHITECT & DESIGN

  หากนิยามการทำงานของสถาปนิกกลุ่มนี้ ว่าพวกเขามุ่งสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแข่งขันและเอาชนะใจตัวเองก็คงไม่ผิดนัก เมื่อทุกชิ้นงานที่รังสรรค์มาจาก OCTANE ARCHITECT & DESIGN  ล้วนใช้หัวใจนำทางพร้อมเป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อพัฒนาตัวเองว่า จะทำอย่างไรให้สามารถออกแบบผลงานได้อย่างเป็นเอกลักษณืและแตกต่างจากเดิมทุกครั้ง ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ OCTANE ARCHITECT & DESIGN  ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2558 เป้าหมายทางวิชาชีพที่เราต้องการคืองานทุกชิ้นที่เราทำจะเป็นงานที่เราภาคภูมิใจ จะไม่มีงานที่จำเป็นต้องรับเพื่อเลี้ยงออฟฟิศ และเราจะมีเวลามากพอที่จะทำทุกงานอย่างตั้งใจที่สุด เพื่อมอบให้ลูกค้าที่เชื่อและให้อิสระกับเรา เราเชื่อว่าความสำเร็จไม่ได้ชี้วัดจากการเพิ่มจำนวนสถาปนิกในบริษัท หรือปริมาณงาน นอกจากนี้เรามองว่าสิ่งที่ยากและสำคัญคือ ทำอย่างไรให้งานสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นโดยไม่ซ้ำกับผลงานในอดีตทั้งของตัวเองและสถาปนิกท่านอื่น ซึ่งเอกลักษณ์นี้นอกจากจะสร้างความภาคภูมิใจให้แก่เจ้าของโครงการแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับการใช้งานจริงอีกด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญคือการควบคุมให้ผลงานเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จต้องมีความงามไม่ต่างจากภาพ perspective ที่เป็นเหมือนสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า     ลักษณะงานที่เน้น/สนใจ หรือประเภทอาคารที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ โครงการที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับความงามทางสถาปัตยกรรม เช่น บ้านพักอาศัย โรงแรม รีสอร์ท ทาวน์โฮม สำนักงาน เป็นต้น ซึ่งมักจะเป็นโครงการที่มีความสูงไม่เกิน 5 ชั้น […]

NEW FACES : ค้นหาคุณค่าของสถาปัตยกรรมไปพร้อมกับ INTEGRATED FIELD

หลากหลายบทสนทนาระหว่าง ASA CREW กับเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่ที่ผ่านมา ทำให้เราเห็นภาพแนวคิดการทำงานและอุดมการณ์แรงกล้าของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีใจอยากขับเคลื่อนวงการสถาปัตยกรรมในบ้านเรา วันนี้ถึงคราวของ INTEGRATED FIELD กับการเปิดสตูดิโอถ่ายทอดแรงบันดาลใจ ทั้งยังพาเราออกค้นหาคุณค่าของสถาปัตยกรรมไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างที่พักอาศัยหรืออาคารสาธารณะ ติดตามบทสนทนาที่ให้ข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจแก่สถาปนิกรุ่นใหม่ได้ที่ : วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบและหลักการทำงานของออฟฟิศ พวกเรามองว่า IF คือ Integrator ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผสานปัจจัยแวดล้อมรอบด้าน ในทุกๆ การทำงานพวกเราจึงเริ่มจากการตั้งคำถามทดลองหาความเป็นไปได้ที่เปิดกว้างและหลากหลาย เพื่อคลี่คลายไปสู่ผลลัพธ์ด้านการออกแบบ ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ใช้ เหมาะสมกับจุดประสงค์ รูปแบบงานประเภทนั้นๆ และสอดคล้องไปกับบริบทแวดล้อมให้ได้มากที่สุด   จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม ในมุมมองของพวกเราคุณค่าของสถาปัตยกรรมจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อสถาปัตยกรรมนั้นๆ สามารถตอบสนองกับเหตุปัจจัยเฉพาะตัวของโครงการในรูปแบบต่างๆ เช่น บ้านพักอาศัยที่หากผู้อยู่สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด มีความสุข และสบายใจ เมื่อได้ใช้งาน โดยอยู่ร่วมกับบริบทที่ตั้ง ทั้งในแง่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว คุณค่าของสถาปัตยกรรมชิ้นนั้นก็จะเกิดขึ้นแล้ว แต่หากเป็นอาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้เข้ามาเกี่ยวข้องหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม  คุณค่าของงานจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราได้เข้าใจในบริบทเฉพาะของงานอย่างแท้จริง ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ และงานออกแบบได้พัฒนาบริบทเหล่านี้ให้ดีขึ้น […]

NEW FACES : HED DESIGN STUDIO ‘เฮ็ด’ ในสิ่งที่เชื่อเพื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

  ASA CREW ขอพาคุณเปิดประตูสถาปนิกภาคอีสาน ‘HED DESIGN STUDIO’ (เฮ็ดสตูดิโอ) พบกับเรื่องราวการทำงานออกแบบและก่อสร้างที่ ‘เรียนรู้’ อย่างไม่มีสิ้นสุด ทั้งยังเน้นกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานที่เป็นมากกว่าการสรรสร้างตัวอาคารหรือที่พักอาศัย ติดตามบทสนทนาที่ให้ข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจแก่สถาปนิกรุ่นใหม่ได้ที่ : วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ เฮ็ดดีไซน์ สตูดิโอ เป็นสตูดิโอขนาดเล็กที่ จ.อดุรธานี เฮ็ดดีไซน์ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้าง เราชอบที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ร่วมกันกับทุกคน เรียนรู้ผ่านการทำงานในแต่ละโปรเจ็คต์ เฮ็ด เป็นภาษาอีสาน แปลว่า ‘ทำ’ เพราะเราเชื่อว่าการลงมือทำคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด   ทำไมถึงมาเปิดออฟฟิศที่อุดรธานี เป็นคนอุดรธานีโดยกำเนิดอยู่แล้วครับ เลยเลือกที่จะกลับมาทำงานที่บ้านเกิด เหตุผลไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่าการกลับบ้านครับ ผมตั้งสำนักงานออกแบบและบริษัทรับเหมาก่อสร้างเล็กๆ ให้ภรรยาชื่อ หจก.วันเดอร์ครีเอชั่น และทำงานร่วมกันตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน     ความได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันกับออฟฟิศที่เปิดที่กรุงเทพฯ อย่างไร ความได้เปรียบน่าจะเป็นเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ามากๆ การทำงานที่เราบริหารจัดการเวลาได้อิสระ […]

NEW FACES : EKAR ARCHITECTS สถาปนิกที่เชื่อว่าสถาปัตยกรรมคือความจริง

    จะเป็นไปได้หรือไม่ ? เมื่อการ ‘ออกแบบ’ ตัวอาคารไม่ได้ถือกำเนิดจากฝีมือของสถาปนิกเท่านั้น เพราะตัวผู้อยู่อาศัยเอง…กลับเป็นกำลังหลักในการสร้างสรรค์ตัวอาคารด้วยเช่นกัน เรื่องราวของ NEW FACES สถาปนิกหน้าใหม่ในวันนี้ เราขอพาคุณมาเปิดบ้าน EKAR ARCHITECTS พร้อมเรียนรู้มุมมองการทำงานจากพวกเขากับการสร้างคุณค่าให้แก่สถาปัตยกรรมเป็นมากกว่าสิ่งก่อสร้าง พร้อมอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของสถาปนิกหน้าใหม่จากหลากหลายสตูดิโอได้ที่ NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิสสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ EKAR สนใจเรื่องการดำเนินไปของสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ หลังจากสถาปัตยกรรมนั้นเกิดขึ้นมา เรามีความสุขกับการได้ติดตามผลหลังจากที่สถาปัตยกรรมแล้วเสร็จ บางทีอาจจะชอบมากกว่ากระบวนการเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นสถาปัตยกรรมด้วยซ้ำ   จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมคือความจริงเป็นพื้นที่หนึ่งในการสร้างองค์ประกอบของชีวิตและจิตวิญญาณ คุณค่าของของสถาปัตยกรรมอยู่ที่การส่งผลต่อสิ่งต่างๆ รอบๆ สถาปัตยกรรมนั้นๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง โครงการออกแบบอาคารพานิชย์ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีชื่อโครงการ Multi-Place  กระบวนการออกแบบไม่ได้ราบรื่นนัก อาจด้วยการสื่อสารที่เราอยู่กรุงเทพฯ แล้วลูกค้าอยู่ภาคใต้หลายๆ อย่างในแบบไม่ได้ถูกนำไปใช้ เมื่องานแล้วเสร็จก็ได้ตามที่ใจตั้งไว้ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งถือว่าเป็นงานที่น่าพอใจมากแล้ว วันที่เรากลับไปเยี่ยมโครงการเราได้พบการใช้สอยหลายอย่างที่ขัดกับรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมตามแนวคิดของนักออกแบบ หลังจากที่ได้พูดคุยกับเจ้าของโครงการ อธิบายให้ฟังถึงการใช้งานทุกอย่างว่าเหมาะสม ให้ฟังถึงการใช้งานทุกอย่างว่าเหมาะสมกับวิถีชีวิตของพวกเขาอย่างไร […]

NEW FACES : PHTAA บทสนทนาว่าด้วยความหลงใหลในศิลปะ

  เพราะพวกเขาเชื่อว่าสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้นต้องมีความปัจเจก อีกทั้งยังเปรียบเสมือนเครื่องมือที่คอยเชื่อมระหว่างวัฒนธรรมกับชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว พบกับ PHTAA Living Design กลุ่มสถาปนิกน้องใหม่ที่หลงใหลงานศิลปะ ติดตามแนวคิดการทำงานและไอเดียในการพัฒนาผลงานของพวกเขาได้ที่ วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…   ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ PHTAA Living Design คือกลุ่มสถาปนิก มัณฑนากร และนักออกแบบที่ทำงานด้วยความเชื่อว่าสถาปัตยกรรมเป็นเหมือนเครื่องมือที่เชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมเเละความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ก่อตั้งเมื่อสามปีที่แล้ว เราทำงานด้วยความหลงใหล ด้วยความเชื่อมั่นในความงามของงานศิลปะ ความเป็นปัจเจก เเละความมีอิสระที่จะเลือกสรร ผสมผสานความกำกวมที่ไม่ชัดเจน เราให้ความสำคัญกับการตั้งคำถามว่าอะไรคืออิทธิพลของกระบวนการออกแบบที่มีส่วนพัฒนาคุณภาพการอยู่อาศัย   จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเเต่ละชิ้นต้องมีความเป็นปัจเจก หมายถึงความเหมาะสมของโครงการ ทั้งกับเจ้าของอาคาร บริบท ช่วงเวลา เเละปัจจัยต่างๆ ในช่วงขณะนั้น     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจ ที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง          โครงการปรับปรุงโชว์รูมให้กับจิม ทอมป์สัน สาขาสุรงวงศ์ นับเป็นโครงการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแบรนดิ้งชิ้นแรกๆ ของออฟฟิศ ลูกค้าต้องการปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์จากผ้าไทยที่มีกรรมวิธีการผลิตที่แนบชิดกับภูมิปัญญาไทย ให้มีความทันสมัยเหมาะกับวิถีชีวิตปัจจุบัน โครงการมีความกล้าที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์อันเป็นภาพจำของเเบรนด์ […]

APERTURE HOUSE [siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Image_Widget”][/siteorigin_widget] An opening is a fundamental component in building design. In addition to its function for lighting and ventilation, often an architect also considers designing an opening that can improve coherence between the interior and the exterior of the building. Aperture House is commemorated by the 2016 Gold Medal Awards of The […]

Ajarn Nantapon Junngurn The Chairman of the Architect’17 Exposition [siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widgets_ImageGrid_Widget”][/siteorigin_widget] ASA CREW: As the Chairman of Architect’17 Exposition Organizing Committee, can you tell us the concept behind this year’s theme? Why “BAAN BAAN” Reconsidering Dwelling? Ajarn Nantapon: We view that ‘BAAN (or a dwelling)’ is the most important architectural unit for general people. To […]