ASA CREW Journal Vol.11/2019

   ก่อนอื่นผมขอขอบคุณคุณผู้อ่านทุกท่าน สำหรับการตอบรับวารสาร ASA CREW โฉมใหม่ที่ถือว่าน่าปลื้มใจ และเป็นกำลังใจให้ทีมงานมากทีเดียว สำหรับฉบับนี้เรายังคงเลือกเฟ้นเนื้อหาที่น่าสนใจมานำเสนอกันเช่นเคย เรื่องเด่นประจำ ฉบับเราหยิบเอาเรื่องราวออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ที่น่าจับตามานำเสนอ รวมทั้งเชิญสถาปนิกรุ่นใหม่มานั่งล้อมวงคุยกัน เพื่อสะท้อนภาพ สถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งการเรียนและการทำงานด้านสถาปัตย์ พร้อมกับเรื่องที่น่าสนใจอีกมากมาย ถ้าพร้อมแล้วพลิกอ่านกันเลยครับ ผศ. ดร.กมล จิราพงษ์ บรรณาธิการบริหาร

Udon Thani City Museum

  Udon Thani City Museum พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี อาคาร Neo Classic บอกเล่าอดีต เชื่อมโยงถึงปัจจุบัน อาคารพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีแต่เดิมนั้นเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนสตรีประจำมณฑลอุดร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้เป็นโรงเรียนประจำมณฑลอุดร แต่ในปีพุทธศักราช 2462 พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน การดำเนินงานจึงจำต้องค้างมา จนเวลาต่อมาพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ผู้สำเร็จราชการมณฑลอุดร และคุณหญิงน้อม ดิษยบุตร (ศรีสุริยราช) ได้ชักชวนข้าราชการพ่อค้า ประชาชนชาวเมืองร่วมบริจาคทรัพย์น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม สร้างอาคารเรียนอุปถัมภ์นารีใหม่เพื่ออุทิศถวายแด่พระองค์ท่านและเมื่อปีพุทธศักราช 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มเติม และพระราชทานนาม โรงเรียนใหม่ว่า “ราชินูทิศ” และได้ประกอบพิธีฝังรากศิลาจารึกโรงเรียนขึ้นในปี 2464 โดยตัวอาคารสร้างอยู่บริเวณ ริมหนองประจักษ์ และเปิดใช้เป็นโรงเรียนสตรีประจำมณฑลอุดรตั้งแต่ปี 2468 เป็นต้นมา หลังจากใช้เป็นโรงเรียนสตรีอาคารนี้ก็ถูกปรับเปลี่ยน การใช้งานเป็นสำนักงานการศึกษาธิการเขต และปรับมาเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีในปี 2547 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากเป็นอาคารเก่าแก่ ปัจจุบันอายุกว่า 90 ปี […]

Maxime Residence สร้างบ้านเหมือนใจคิด

บ้าน Maxime Residence ของคุณ Maxime Gheysen และคุณรัตติกาล คงใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทั้งคู่ตัดสินใจเลือกซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อสร้างบ้านเนื่องจากตัวที่ดินติดกับอ่างเก็บนํ้าและตั้งอยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างเงียบสงบ คุณ Maxime เล่าย้อนไปถึงเมื่อครั้งเริ่มตันมีความคิดที่จะสร้างบ้าน และขั้นตอนในการหาสถาปนิกว่า … “เราค่อนข้างจะพอใจในการทํางานร่วมกับสถาปนิก เพราะทางสถาปนิกได้เสนอภาพสามมิติและหุ่นจําลอง ให้เราได้เข้าใจและเห็นภาพที่ตรงกับความคิดมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นประสบการณ์ที่เราต้องสะสมเพิ่มเพราะบ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังแรกของเรา” อย่างในส่วน landscape เราก็ค่อยๆ ลงต้นไม้เนื่องจากต้องดูทิศทางแดดในแต่ละฤดูก่อนตัดสินใจว่าจะปลูกต้นไม้ตรงไหน คิดว่าในอนาคตถ้าเราจะสร้างบ้านอีกหลัง เราก็จะทําได้ดีขึ้นครับ” คุณMaximeกล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม     “ผมค้นหาสถาปนิกจากอินเทอร์เน็ตครับจนมาเจอกับสำนักงานสถาปนิก blank studio ซึ่งเราคิดว่ามีแนวทางในการออกแบบตรงกับความคิดของเรา เราอยากได้บ้านเรียบๆ และดูโมเดิร์นตอนแรกก็กลัวเพราะหลายคนบอกว่าสร้างบ้านที่เมืองไทยจะมีปัญหาเยอะ แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรนะครับ เราก็พูดคุยกับสถาปนิกผ่านไลน์แชท มีการส่งภาพ รายงานตลอดเวลาในช่วงของการก่อสร้าง” ทางด้านคุณอุกฤษฎ์ บวรสิน หนึ่งในทีมสถาปนิกจาก blank studio ออกแบบตัวบ้านให้เป็นอาคารชั้นเดียว และแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งเป็นห้องนอน 2 ส่วน และพื้นที่หลักอย่างครัวและห้องรับแขกอีก 1 […]

AUSTRALIAN EMBASSY สถานทูตออสเตรเลีย : สถาปัตยกรรมสีเหลืองทองบนถนนสาทรที่กําลังจะกลายเป็นอดีต

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สัญจรไปมาบนถนนสาทรเราเชื่อว่าคุณต้องเคยสะดุดตาอาคารสีเหลืองทองทรงโมเดิร์น อันเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยซึ่งอยู่คู่ถนนสายนี้มายาวนานกว่า38 ปีและเร็วๆ นี้สถานที่แห่งนี้กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวสอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปข่าวการย้ายสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย และการเตรียมพร้อมย้ายไปยังที่ทำการใหม่ในย่านสวนลุมพินีด้วยเหตุผลด้านการประเมินพื้นที่ของรัฐบาลออสเตรเลียถึงตัวอาคารที่มีอายุยาวนาน รวมไปถึงการประเมินความเหมาะสมกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ได้สร้างความสนใจไม่น้อยในหน้าหนังสือพิมพ์ข่าวออนไลน์รวมไปถึงวงการอสังหาริมทรัพย์เมื่อกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียได้ประกาศขายที่ดินบนถนนสาทรเนื้อที่ประมาณ 7.5ไร่ ASA CREW ร่วมเก็บบันทึกความทรงจำ รวมไปถึงจดบันทึกความรู้ทางสถาปัตยกรรมในครั้งนี้นำโดยทีมอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพและน้องๆนักศึกษา โดยได้รับการต้อนรับพร้อมเปิดบ้านพักอันแสนอบอุ่นของคุณฮานาน โรบิลลิอาร์ด ภริยาเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย   สถานทูตแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดย Mr.Ken Woolley สถาปนิกชั้นนำของออสเตรเลียในขณะนั้น และมีสถาปนิกที่ปรึกษาชาวไทยคือ หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล โดยผสมผสานการออกแบบในยุค 70sร่วมกับความเป็นไทยไว้ด้วยกัน นำแรงบันดาลใจจากแม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯ บ้านไทยที่ยกใต้ถุนสูง รวมไปถึง        สีเหลืองทองอันเป็นแรงบันดาลใจจากวัดไทยการก่อสร้างมีขึ้นเมื่อวันที่17 มิถุนายน 2518 และมีพิธีเปิดอาคาร  อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่26 มกราคม 2523   ในบทบาทของสถาปนิก Mr.Ken Woolley ได้เข้ามาดูพื้นที่ และพบว่าบริเวณของถนนสาทรเมื่อ 38 ปีก่อนนั้นมีปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีหากแก้ปัญหาด้วยการถมที่ดินลงไปจะทำให้ที่ดินรอดจากการถูกน้ำท่วม แต่จะส่งผลกระทบน้ำท่วมไปยังที่อื่นแทน ระหว่างนั้นเอง Mr.Ken Woolley ได้ไปเยี่ยมชมวังสวนผักกาดร่วมกับหม่อมหลวงตรีทศยุทธ จึงนำแนวคิดไทยในการออกแบบ การใช้น้ำในภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์อันโดด      เด่นให้กับสถานที่มาปรับใช้นอกจากช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับสถานที่แล้วยังช่วยรองรับน้ำท่วมได้อีกด้วย […]

Art Space in the Public World of Alex Face พื้นที่ศิลปะในโลกสาธารณะของ Alex Face

“ผมรักและผูกพันกับงานศิลปะมาตั้งแต่เด็กๆ อยากเป็นศิลปินจึงเลือกเรียนศิลปะพอได้มาเจอกับวัฒนธรรมของ กลุ่มวัยรุ่นคือ เพื่อนๆ ที่ชอบเล่นสเก็ตบอร์ด ทําให้รู้จักกับศิลปะกราฟฟิติ้ผ่านหนังสือสเกต็บอร์ด ผมสนใจในลวดลาย กราฟิก ฟ้อนต์ และตัวการ์ตูนคาแรกเตอร์ที่มันสะดุดตา เริ่มซื้อหนังสือมาดู มาศึกษา แล้วผมก็เริ่มสร้าง Tag หรือชื่อสร้างฟ้อนต์ในรูปแบบของตัวเองเหมือนเป็นการประกาศตัวตน ครั้งแรกที่พ่นกราฟฟิตี้ก็พ่นซากรถที่ลาดกระบังนั่นแหละนั่นคือกราฟฟิตี้ยุคแรกของผม” Alex Face หรือ พัชรพล แตงรื่น บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานสตรีตอาร์ต ก่อนจะมาเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดคนหนึ่งในเวลานี้ หลายปีในการทำงานกว่าจะสร้างคาแรกเตอร์ที่คนทั่วไปคุ้นตาและสร้างการจดจำไปทุกหนทุกแห่งในลวดลายกราฟฟิตี้ตุ๊กตาเด็กก็หน้าบึ้งในชุดขนสัตว์ ที่ชื่อ “มาร์ดี”   อยากให้เล่าถึง มาร์ดี   “มาร์ดี ลูกสาวของผมเกิดมาในช่วงที่ผมเบื่อการพ่นหน้าตัวเองและอยากเปลี่ยนงานพอดี ผมมองหน้าเขาแล้วก็เกิดไอเดีย หันมาสร้างคาแรกเตอร์มาร์ดีเด็กหน้าบึ้งในชุดขนสัตว์ ซึ่งเด็กก็มีความหมายถึงความไร้เดียงสา ชุดขนสัตว์ก็เปรียบเสมือนเกราะที่มาปกป้องโอบอุ้มตัวเขาอีกที  ช่วงหลังผมเน้นชุดกระต่ายคือ ผมเสพข่าวมีแต่ข่าวที่เด็กถูกกระทำถูกทำร้าย ตกเป็นเหยื่อต่างๆ นานา สัตว์ที่แสดงความรู้สึกถึงการเป็นเหยื่อได้ดีที่สุดผมว่าคือกระต่าย ส่วนตาที่3ก็เหมือนตาที่คอยเฝ้าระวังสถานการณ์ต่างๆในการสร้างผลงาน แต่ละที่ผมจะพยายามเชื่อมโยงและสะท้อนเรื่องราวกับบริบทของพื้นที่นั้นๆให้มันมีเนื้อหาเรื่องราวที่สะท้อนเอกลักษณ์ของพื้นที่หรือท้องถิ่นน้ันๆนี่คือแนวคิดในการสร้างผลงานของผม งานกราฟฟิตี้มันเปรียบเสมือนแกลเลอรี่แสดงงานศิลปะข้างถนนเพราะวัฒนธรรมของคนไทยเราไม่คุ้นเคยกับการตั้งใจไปชมงานศิลปะอย่างจริงจังในแกลเลอรี่ ผมอยากเอางานของผมมาให้คนทั่วไปได้ชมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวันผมจึงอยากสร้างผลงานออกมาให้สวยงามและ มีคุณค่า”   ประสบการณ์การทำงานช่วงแรกๆ “บ้านเรามีตึกร้างเยอะมาก ตึกร้างเป็นที่ที่ให้เราไปพ่นอวดฝีมือหรือสร้างตัวตนได้เราก็จะแอบเข้าไปพ่นกัน ผมเคยไปพ่นแล้วอยู่ดีๆมีก้อนหินลอยมาตอนแรกก็ไม่สนใจสักพักเริ่มเยอะขึ้นแล้วก็มีคนถือมีดมาเคาะๆ กำแพง พูดว่า’ขอโทษนะครับ นี่กําแพงคุณหรือ’ เป็นนักเลงที่พูดเพราะที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอ แต่มีดยาวมากครับ (หัวเราะ) ผมเพิ่ง […]

เบื้องหลังแนวความคิดภาพปก วารสาร ASA Crew ฉบับที่ 6 หลังเงาพระเมรุมาศ

แบบร่างพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร   “หัวใจของการก่อสร้างทั้งหมดรวมอยู่ในกระดาษแผ่นเดียวนี้ ซึ่งมีความพิเศษตรงที่เป็นการนำองค์ความรู้มาวางแผนและคลี่ออกมาเป็นแต่ละส่วน ๆ ทั้งการวางสัดส่วน วางรูปทรง ขนาดของเสา การใช้เสาครุฑซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ รวมถึงความงาม การนำไปใช้ และคติความเชื่อต่าง ๆ โดยมีกรอบวิธีคิด คือ หนึ่ง ทำความคิดให้ออก ว่าเราจะออกแบบเพื่อใคร คำตอบคือ…เพื่อในหลวง รัชกาลที่ ๙  ดังนั้นจึงต้องให้สมพระเกียรติ สอง ทำให้ได้ คือ แปลงจากวิธีคิดออกมาเป็นสัดส่วนเส้นสายให้ได้ สาม ทำให้ถูก คือถูกต้องตามสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามลักษณะงานที่เป็นงานชั่วคราว ไม่ใช่ทำเหมือนจริงไปทั้งหมด และถูกต้องสมพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ และสี่ ทำให้สำเร็จ เราจะออกแบบดีอย่างไร แต่หากไม่ทันเวลา งานนั้นก็ไม่มีประโยชน์ จึงต้องทำอย่างสุดความสามารถ สุดฝีมือ สุดทุกสิ่งทุกอย่าง นั่นคือที่มาที่อยู่ในใจผมในการออกแบบครั้งนี้” ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม กรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ  

ASA CREW

มาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานใหญ่)248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 ถ.พระรามที่ 9  แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร : 0993000132602โทรศัพท์: 0-2319-6555แฟกซ์: 0-2319-6419อีเมล์: [email protected]เว็บไซต์: www.asa.or.th

Hello World xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx Hello World xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx Hello World xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx Hello World xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

ASA CHANNAL รายการ ASA Crew ตอน โรงเรียนพอดี พอดี 2. ตอน พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา   3. ตอน คืนท้องฟ้าให้สยาม 4. ตอน Tree บ้าน ชุมชน ต้นไม้

1 2