กฎหมายใช้บ่อย (ฉบับปรับปรุงใหม่) ไม่มีจำหน่ายแล้ว

เรียน สมาชิกฯ สถาปนิก และผู้สนใจ ศูนย์ข้อมูลกฎหมายอาคาร ขอขอบคุณสมาชิกฯ และผู้สนใจทุกท่าน ที่สนใจสั่งซื้อ หนังสือกฎหมายใช้บ่อย (ฉบับปรับปรุงใหม่) ศูนย์ข้อมูลกฎหมายอาคารขอเรียนว่า ขณะนี้ หนังสือกฎหมายใช้บ่อย และเอกสารกฎหมายใช้บ่อย ไม่มีจำหน่ายแล้ว   หนังสือกฎหมายใช้บ่อย (ฉบับปรับปรุงใหม่) เรียบเรียงและจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคารได้อย่างชัดเจนขึ้น ง่ายขึ้น และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเสนอประเด็นหัวข้อต่างๆ ในกฎหมายที่สถาปนิกควรจะต้องรู้ ต้องใช้บ่อยๆ หรือเกิดคำถามและข้อสงสัยในการตีความขึ้นบ่อยครั้ง มาอธิบายด้วยภาษาที่ง่ายขึ้น           เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับสถาปนิกใหม่ นิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรม และใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบอาคารที่จะต้องทำให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายแต่ไม่คุ้นเคยกับบรรดาตัวบทกฎหมายซึ่งนอกจากจะมีเป็นจำนวนมากแล้ว ยังอาจสลับซับซ้อนและเจ้าใจยากอีกด้วย นอกจากนี้ยังจะเป็นประโยชน์กับสถาปนิกที่มีประสบการณ์อยู่แล้วเพื่อทบทวนและเป็นคู่มือที่สามารถหยิบมาเปิดอ่านทำความเข้าใจได้เสมอๆ           กฎหมายใช้บ่อย (ฉบับปรับปรุงใหม่) ในปี พ.ศ. 2560 นี้ เป็นการอัพเดทและปรับปรุงมาจากเวอร์ชั่นแรกซึ่งออกเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2556 เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา พร้อมกับเป็นการปรับปรุงทั้งเนื้อหาสาระและรูปแบบให้ดียิ่งขึ้น เอกสารกฎหมายใช้บ่อย แม้จะจัดทำขึ้นคู่เคียงกับหนังสือ “กฎหมายใช้บ่อย” ให้ใช้เปิดควบคู่กัน แต่ประโยชน์หลักในระยะยาวคือการเป็นเอกสารอ้างอิงด้านกฎหมายอาคารที่สามารถเปิดค้นคว้าได้สะดวก […]

ดาวน์โหลดเอกสารสมัครสมาชิก

1.         ใบสมัครและต่ออายุ สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ติดต่อสอบถามได้ที่   0-2319-6555  ต่อ 113 หรือ asa.ratirat@gmail.com หรือ Line : asa.ratirat …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 2.       แบบฟอร์ม เปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่งเอกสาร ( ในกรณีที่เปลี่ยนชื่อและสกุล โปรดแนบสำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุล ) 3.      ใบสมัครและต่ออายุ สมาชิกนิติบุคคล สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งเอกสาร การสมัครหรือต่ออายุสำนักงานสถาปนิก ทางไปรษณีย์ หรือ ส่งเอกสารที่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Attachments ใบสมัครและต่ออายุ สมาชิกนิติบุคคล สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์  (585 kB)ใบสมัครและต่ออายุ สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (555 kB)แบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงที่อยู่ใหม่ (2 MB)

APERTURE HOUSE บ้าน-ช่อง-แสง [siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Image_Widget”][/siteorigin_widget] บ้าน-ช่อง-แสง (หรือที่คุ้นหูในชื่อ บ้านเปา) การันตีด้วยรางวัล Gold Medal Awards ของสมาคมสถาปนิกสยาม (ASA) ประจำปี 2559  คุณชนาสิต ชลศึกษ์ จาก Stu/D/O Architects บริษัทผู้ออกแบบ ได้ขยายความเกี่ยวกับช่องเปิดที่เน้นในเรื่องแสงและเงา อันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านหลังนี้ และกลายเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง “ถ้าถามถึงคอนเซ็ปต์โดยรวมของบ้าน เริ่มต้นมาจากเจ้าของบ้านเอง ซึ่งเป็นภูมิสถาปนิก และเป็นดีไซเนอร์ที่เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วย เราจึงแตกความคิดออกมาในเรื่องเฟรม มุมมอง แสงและเงา เลยนึกถึงศัพท์ที่ใช้ในวงการ  ถ่ายภาพคือ Aperture หมายถึง รูรับแสงของกล้องถ่ายรูป และคำว่า  ‘ช่องแสง’ ยังเอามาเล่นกับคำว่า ‘บ้านช่อง’ เลยเป็นที่มาของรูปแบบอาคาร คือ เล่นกับช่องว่างและช่องเปิด”   [siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Image_Widget”][/siteorigin_widget] “ส่วนรายละเอียดของช่องแสงที่ว่านี้ เรานึกถึงโบสถ์ รงช็อง (Ronchamp) ของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เลอ คอร์บูซิเยร์ (Le […]

อาจารย์นันทพล จั่นเงิน ประธานจัดงานสถาปนิก’60 [siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widgets_ImageGrid_Widget”][/siteorigin_widget] ASA CREW: ในฐานะประธานจัดงานงานสถาปนิก’60 อยากให้เล่าถึงแนวคิดหลักของงานในปีนี้ ทำไมต้อง “บ้าน บ้าน” Reconsidering Dwelling อ.นันทพล : เรามองว่า ‘บ้าน’ เป็นหน่วยย่อยของสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของคนทั่วไป การสร้างหรือเปลี่ยนแปลงอะไร การเริ่มจากหน่วยเล็กๆ อย่างบ้านที่ออกแบบมาดี วางแผนดี จะส่งผลให้ภาพรวมหรือชุมชนระดับเมืองออกมาดีมีคุณภาพ ในขณะเดียวกัน ‘บ้าน’ น่าจะเป็นเครื่องมือทางสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดที่สถาปนิกจะสามารถสื่อสารกับประชาชนคนทั่วไปได้ ซึ่งตรงนี้เป็นนโยบายของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์ เราอยากให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจบทบาทของสถาปนิกมากขึ้น โดยมีเครื่องมือคือ ‘บ้าน’ ที่จะทำให้ประชาชนและสถาปนิกได้มาเจอกัน นอกจากนั้นเรามองว่า ‘บ้าน’ น่าจะทำให้สถาปนิกรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมกับสมาคมฯ มากขึ้น เพราะสถาปนิกแทบทุกคน ได้โครงการแรกๆ ของการทำงานส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการออกแบบบ้าน ส่วนที่มาของชื่อ ‘บ้าน บ้าน’ เราอยากได้ชื่อแบบไทยๆ เป็นคำซ้ำที่ทำให้เกิดการตีความได้หลายอย่าง นอกจากหมายถึงบ้านแล้ว อาจหมายถึง บ้านหลายๆ หลัง สื่อถึงชุมชน หรือการเล่นกับคำซ้ำที่เราคุ้นเคยก็อาจจะหมายถึง ความสบายๆ ง่ายๆ ไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมาก แต่อยู่ได้มีความสุข […]

“ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Building and Environments Design Recommendation for All)”

“ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Building and Environments Design Recommendation for All)” เรียน สมาชิกฯ ด้วยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำ “ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Building and Environments Design Recommendation for All)” เพื่อเผยแพร่ต่อกลุ่มสถาปนิก และนิสิตนักศึกษา ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบเป็นแนวทางการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคนได้ สมาคมฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลทางเทคนิคเพื่อเป็นคู่มือในการนำไปออกแบบอาคารสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับทุกคนนี้ จะสามารถเป็นรากฐานที่ดีในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อความแตกต่างหลากหลายทางกายภาพของคนทุกคนในสังคม และ จะช่วยสร้างความก้าวหน้าให้กับการพัฒนางานด้านออกแบบสถาปัตยกรรมของประเทศไทยให้ทัดเทียมสากลโลกยิ่งขึ้น และในอนาคต คณะทำงานตั้งใจจะพัฒนา ปรับปรุง ข้อแนะนำการออกแบบให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยท่านสามารถ download คู่มือฉบับนี้ ได้จาก link ด้านล่างนี้ DOWNLOAD

1 2