ลูกอีสานวันนี้ เรื่องเล่าก่อนจะเป็นนิทรรศการแรกที่ TCDC ขอนแก่น

 

 

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบขอนแก่น หรือ TCDC Khon Kaen สาขาแห่งที่สอง (สาขาแรกคือ TCDC Chiang Mai) จะเปิดให้บริการที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์แห่งภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วยบริการหลัก 3 ด้าน คือ การเป็นศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ การเป็นศูนย์วัสดุท้องถิ่นอีสาน และการพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดการนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจพร้อมกับการเปิดนิทรรศการ “Look Isan Now: ลูกอีสานวันนี้” ด้วย หลายบรรทัดด้านล่างนี้คือเรื่องราวร่วมๆ หนึ่งปีก่อนวันเปิดนิทรรศการจากภัณฑารักษ์ และนักออกแบบนิทรรศการ

 

 

นิทรรศการแรกของ TCDC ขอนแก่น แต่เป็นนิทรรศการเรื่อง “อีสาน” ครั้งที่สองของ TCDC

  “ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 13 ปีที่แล้ว  “กันดารคือสินทรัพย์ :อีสาน” เป็นนิทรรศการแรกเมื่อครั้งTCDC เริ่มต้นเปิดให้บริการ เราจะหยิบจับเรื่องราวในตอนนั้นกลับมาเล่าใหมเ่หมือนเป็นภาคต่อใน พ.ศ. นี้ดีไหมคือสิ่งที่ทีมภัณฑารักษต์องกลับไปทำการบ้าน”

 

เมื่อต้องเล่าเรื่องอีสานให้คนอีสานฟัง

“ความท้าทายครั้งนี้คือเราจะเล่าเรื่องที่ลูกหลานชาวอีสานพบเห็นทุกวันจนเกือบจะเคยชินออกมาอย่างไรให้น่าสนใจ ต่างจากนิทรรศการครั้งที่แล้วที่เล่าเรื่องคนอีสาน ให้คนต่างถิ่นอย่างคนกรุงเทพฯ ฟังประมาณกลางปี 2560 เราจึงเริ่มต้นลงไปเก็บข้อมูลของภูมิภาคอีสานในวันนี้และตระเวนคุยกับผู้คนมากหน้าหลายตาที่ต้อนรับเราอย่างดี พร้อมที่จะเล่าเรื่องราวให้ฟังอย่างออกรส จนช่วงปลายปีก็ได้เวลารวบรวมข้อมูลมหาศาล มาวางโครงสร้างเนื้อหานิทรรศการ โดยตัดสินใจว่าเราจะเล่าเรื่องใหมที่ต่างไปจากนิทรรศการเดิม”

 

เด็กชายคูนในวันนี้เป็นอย่างไร

“แน่นอนว่าหนังสือเรื่องลูกอีสาน ของคำพูน บุญทวี ช่วยให้เราเข้าใจและเห็นภาพของภูมิภาคเมื่ออดีตแต่ภาพที่เราเห็นและพูดคุยกับผู้คนมันมีความเหมือนและความต่างออกไป ภูมิภาคนี้มีเรื่องราวหลากหลายมิติที่น่าหยิบจับมาเล่าเต็มไปหมด แต่ภายในพื้นที่ขนาด 180 ตารางเมตร ซึ่งไม่ได้ใหญ่โตอะไรเราควรจะเล่าเรื่องไหนดี ก็มาได้ข้อตกลงว่าทักษะ ลักษณะเฉพาะตัวและหัวใจนักสู้ ที่เป็นเหมือนดีเอ็นเอของลูกอีสาน เมื่อมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยี ไลฟ์สไตล์ในวันนี้ พวกเขามีวิธีเปิดรับประยุกต์และรับมือ กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร เราจึงอยากชวนให้ผู้เข้าชมได้เห็นมวลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ในนิทรรศการ”

 

 

กลับบ้าน ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้านเรา

”ปริมาณนักสร้างสรรค์ในภูมิภาคที่นับกันไม่ถ้วน ความท้าทายอีกอย่างของทีมภัณฑารักษ์ก็คือ จะลำดับและเล่าเรื่องอย่างไร เราควรหยิบประเด็นไหนมาเล่า ทุกอย่างเป็นสิ่งที่คิดกันหลายตลบ จนเวอร์ชั่นของเนื้อหานิทรรศการวิ่งไปแตะที่เวอร์ชั่น 18

ร่างสุดท้ายของนิทรรศการจึงแบ่งออกเป็น 3 โซน โซนแรก เล่าเรื่องความเดิมตอนที่แล้ว ที่แม้จะเป็นภูมิภาคที่ขึ้นชื่อเรื่องคนออกไปแสวงหาโอกาสนอกบ้านเกิดเมืองนอน แต่การออกไปเห็นโลกกว้างนี่แหละทำให้ได้เรียนรู้ ได้ประสบการณ์รวม ไปถึงทักษะใหมๆ

โซนที่สอง การกลับบ้านของลูกอีสาน โซนใหญ่ที่กินพื้นที่ 60 เปอรเ์ซ็นต์ของนิทรรศการ มีเรื่องอยากเล่าร่วมๆ 50 เรื่อง ทั้งในแง่บุคคล กลุ่มคน และเมือง เมื่อพวกเขากลับมาที่บ้านเกิด นักสร้างสรรค์ลูกอีสานได้สร้างธุรกิจสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมในปัจจุบัน พวกเขาสร้างสรรค์อะไรที่บ้านบ้าง แม้บางคนจะไม่ไ่ด้กลับมาแบบเต็มตัวก็ตาม พวกเขามีวิธีคิด วิธีการอย่างไร โซนที่สาม เมื่อโลกหมุนมาหาอีสาน ความนิยมอีสานได้เกิดขึ้นไปทั่วโลก

ร้านอาหารอีสานเคยคว้ามิชลินสตาร์ วงดนตรีอีสานเคยขึ้นเวทีในเทศกาลดนตรีระดับโลก รวมไปถึงนโยบายการลงทนุตา่งๆ จากทั้งในและต่างประเทศทเี่ป็นประโยชน์กับภูมิภาคนี้ เราพยายามเล่าเรื่อง เหล่านี้ภายในพื้นที่อันจำกัด อยากให้คนที่มาดูได้ภูมิใจในบ้านเกิดของตัวเอง”

 

 

ที่มาที่ไปของการออกแบบนิทรรศการจาก 56th Studio

“การกลับบ้านไปสำรวจสิ่งรอบตัวหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองข้าม และใช้ความสร้างสรรค์ เป็นต้นทุนในการคิดค้นสิ่งใหมๆ (Vernacu-ristic) คือ หัวใจในการออกแบบนิทรรศการในครั้งนี้

โดยรูปแบบของการนำเสนอเนื้อหาต่างๆ ในนิทรรศการนั้น ไม่เพียงแต่เน้นย้ำให้เห็นถึงทัศนคติของคนอีสานที่เปลี่ยนไป โดยหยิบยืมเอา Visual  Culture ในแบบอีสานที่คุ้นตา เช่น ภาพวาดสีน้ำมันบนรถสิบล้อ หรือยานพาหนะที่ใช้ในการโดยสาร เช่น รถสองแถว รถอีแต๋น มาดัดแปลงใช้แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเดินทางของ ‘ลูกอีสานวันนี้’ ซึ่งได้สะสมมุมมองที่เป็นสากลและสามารถพลิกแพลงสรรค์สร้างวัฒนธรรมใหมๆ ให้เกิดขึ้นบนภูมิภาคที่ครั้งหนึ่งเคยแห้งแล้งได้ ไม่ว่าจะเป็นความบันเทิง ดนตรี อาหาร งานหัตถกรรม แฟชั่น หรือแม้กระทั่งโอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจในอนาคตมาเล่าผ่านวัสดุและวัตถุที่คุ้นชิน เช่น ผ้าพลาสติกทอสีรุ้ง ผ้าเดรปบนกลองยาว แคร่ไม้ไผ่ ฯลฯ เพื่อให้ประสบการณ์การเข้าชมนิทรรศการครั้งนี้เปรียบเสมือนกับการกลับเข้าไปสำรวจและค้นหามุมมองใหมๆ่ ที่อีสานในวันนี้สามารถมอบให้ได้อย่างแท้จริง

 

พบกับนิทรรศการ “LOOK ISAN NOW: ลูกอีสานวันนี้”

ณ TCDC ขอนแก่น ถนนกัลปพฤกษ์ ย่านกังสดาลเร็วๆ นี้

—–

ASACREW JOURNAL09