Building 9, Burirum Pittayakom School The still breathing 70 years old wood building
อาคาร 9 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เรือนไม้เก่ากว่า 70 ปีที่ยังมีลมหายใจ
โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เดิมชื่อ “โรงเรียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์” จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตั้งอยู่บริเวณวัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาทางราชการแผนกมหาดไทยได้ยกศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดกลางเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ภายหลังโรงเรียนได้รับพิจารณาให้ย้ายสถานที่ใหม่มาตั้งบริเวณสวนหม่อน (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเทศบาล 2) และทางราชการได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดบุรีรัมย์ “ศรีบุรีรัมย์” ในปี พ.ศ. 2481 จนถึงปี พ.ศ. 2483 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณ 20,000 บาท สร้างโรงเรียนขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่ป่าด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟจังหวัดบุรีรัมย์ โดยสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ตามแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
หลังจากสร้างอาคารเสร็จในวันชาติที่ 24 มิถุนายน 2485 โรงเรียนจึงได้ย้ายจากพื้นที่เดิม (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเทศบาล 2) มาอยู่ในพื้นที่โรงเรียนใหม่แห่งนี้ (สถานที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียน“บุรีรัมย์วิทยาลัย” หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2515 ได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนแบบสหศึกษาและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อาคารเรียนไม้ 2 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียนมีชื่อว่า “เกียรติยศศักดิ์ศรี บุรีรัมย์พิทยาคม” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาคาร 9 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ด้านหน้าทางเข้าโรงเรียนลักษณะของอาคารเป็นอาคารไม้สองชั้น หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งบนฐานราก ก่อด้วยซีเมนต์ ด้านหน้าตามแบบของกระทรวงศึกษาธิการ ยาว 54 เมตร กว้าง 8 เมตร
ด้านหน้าตรงกลางมีมุขยื่นออกมาจากอาคาคารยาว 5 เมตร กว้าง 11 เมตร มีห้องเรียน 12 ห้องเรียน หน้าต่างอาคารเป็นแบบบานเปิดคู่มีลักษณะพิเศษคือลูกฟักหน้าต่าง สามารถเปิดออกได้
ปัจจุบันอาคารหลังนี้ใช้เป็นอาคารเรียน ชั้นล่างเป็นห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีห้องเกียรติยศเพื่อเก็บผลงาน รวบรวมประวัติต่างๆ ของโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคมไว้
อาคาร 9 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
15 ถ.นิวาศ ต.ในเมือง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
#ASACREW Journal Vol. 9
#ESANFUTURE