The Ten Books เล่ม 10 | หลากทันสมัย: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย, บรรณาธิการโดย ดร.วิญญู อาจรักษา

 

หลากทันสมัย: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย, บรรณาธิการโดย ดร. วิญญู อาจรักษา

หนังสือเล่มที่ X ในโครงการ The Ten Books on Architecture by ASA

#TenBooksbyASA

หนังสือชุดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม 10 เล่ม โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

หนังสือเล่มนี้มีแนวคิดเชื่อมต่อกับการจัดงานนิทรรศการและการตีพิมพ์หนังสือ “อยากทันสมัย สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทย พ.ศ. 2510-2530” โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ศสบ.) ใน พ.ศ. 2551  อย่างไรก็ตาม ชื่อ “หลากทันสมัย: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย” นี้สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับความหลากหลายของกรอบทางความคิดและทฤษฎีในการศึกษาไม่น้อยไปกว่าตัวงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern architecture) ที่เป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้ ด้วยสมมติฐานว่า “ภาวะความเป็นสมัยใหม่” (Modernity) ที่ปรากฏขึ้นในพื้นที่และบริบทต่างๆ ของสังคมไทย ไม่ได้เป็นสิ่งปลูกถ่ายย้ายยกมาจากประเทศตะวันตก ไม่ได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และไม่ได้แวดล้อมด้วยเงื่อนไขหรือตอบเจตจำนงที่เหมือนกัน การทำความเข้าใจใหม่ ๆ จึงยังถูกก่อร่างขึ้นได้เสมอ

หากนิทรรศการ “อยากทันสมัย” เป็นก้าวแรกที่สร้างการตระหนักถึงความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิดสมัยใหม่นิยม บทความต่างๆ ในหนังสือ “หลากทันสมัย” นี้ อาจถือเป็นอีกหนึ่งก้าวเดินที่ได้ฉายภาพให้เห็นถึงการทำความเข้าใจความเป็นสมัยใหม่ที่หลากหลายสัมพันธ์กับอิทธิพลภายนอกและพลวัตภายในสังคมไทยในมิติต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้จากกระบวนการคิด การออกแบบ และการทำงานของสถาปนิกบนเงื่อนไขเหล่านั้น

“หลากทันสมัย: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทยประกอบไปด้วยบทความดังต่อไปนี้

  1. ย้อนอ่านสถาปัตยกรรมตึกแถวในถนนท่าแพ: เส้นทางของความทันสมัยเมืองเชียงใหม่ โดย สันต์ สุวัจฉราภินันท์  @Sant Suwatcharapinun
  1. สงขลา: การเปลี่ยนแปลงสู่สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดย ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม  @Nattane Noisa
  1. สถาปัตยกรรมคณะราษฎร โดย ชาตรี ประกิตนนทการ  @Chatri Prakitnonthakarn
  1. สร้างกรุงเทพใหม่: การปรับปรุงถนนราชดำเนินกลาง พ.ศ. 2482-2484 โดย พินัย สิริเกียรติกุล
  1. อาคารรัฐสภากับสัญลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตยไทย โดย คุ้มพงศ์ หนูบรรจง  @Koompong Noobanjong
  1. “เลือกข้าง ทันสมัย” สถาปัตยกรรมของหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ และประเทศไทยในยุคเปลี่ยนผ่านช่วงต้นสงครามเย็น (พ.ศ. 2493-2509) โดย ชมชน ฟูสินไพบูลย์  @Chomchon Fusinpaiboon
  1. โบสถ์วัดบ้านเซเวียร์: สถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย โดย สุภาวรรณ ปันดิ  @Kate Supawan Pundi
  1. มัสยิดสมัยใหม่ / มุสลิมสมัยใหม่: มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดย วิญญู อาจรักษา  @Winyu Ardrugsa
  1. คุณค่าแห่งมรดกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่: โรงเรียนและวิทยาลัยเทคนิคภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา พ.ศ. 2508-2513 โดย แวววิเชียร อภิชาติวรพันธุ์  @Waeovichian Abhichartvorapan
  1. สถาปัตยกรรมคือเมือง: บทสัมภาษณ์ องอาจ สาตรพันธุ์
Facebook
Twitter
LinkedIn