กฎกระทรวงเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบอาคาร

กฎกระทรวงเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบอาคาร

• หลังจากที่กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ ได้ออกใช้บังคับเมื่อเดือนตุลาคม 2548 (ดูข่าวในจดหมายเหตุ ฉบับ 11-2548) กฎกระทรวงอีกฉบับก็ออกตามมาในเดือนธันวาคม กฎกระทรวงฉบับนี้คือ “กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548”

• ตามกฎกระทรวงฉบับนี้ อาคารชนิดและประเภทที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารที่สร้างเสร็จมาแล้วไม่ น้อยกว่า 1 ปี จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรกให้แล้วเสร็จและเสนอผลการตรวจสอบ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายเริ่มใช้บังคับ นั่นคือวันที่ 14 กันยายน 2550 (ยกเว้น อาคารบางประเภทตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ) ส่วนอาคารที่สร้างใหม่ ภายใน 1 ปี

• สาระสำคัญโดยย่อของกฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
– ผู้ตรวจสอบ อาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลก็ได้, เป็นสถาปนิกหรือวิศวกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ, ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของ อาคารที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง (ถ้าเป็นนิติบุคคล คณะผู้บริหารไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องผ่านการอบรม)
– จะต้องขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจสอบต่อคณะกรรมการควบคุมอาคาร (ผ่านสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด)ในการขอขึ้นทะเบียน ผู้ขอจะต้องยื่นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อเป็นการประกันความ รับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐาน จำนวนเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทต่อ ครั้ง ไม่น้อยกว่าสองล้านบาทต่อปี และมีระยะเวลาคุ้มครองไม่น้อยกว่า 3 ปี
– หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน มีอายุ 2 ปี
– การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร จะมี 2 ประเภท คือการตรวจสอบใหญ่ ทำทุก 5 ปี และ การตรวจสอบประจำปี (หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบอาคารขอให้ดูรายละเอียดในหมวด 4 ของกฎกระทรวง)
– ผู้ตรวจสอบต้องไม่ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ผู้ตรวจสอบหรือคู่สมรส หรือพนักงาน เป็นผู้ออกแบบ คำนวณ ควบคุม ก่อสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์ ของอาคารนั้น และอาคารที่ผู้ตรวจสอบหรือคู่สมรสเป็นเจ้าของหรือมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการหรือใช้เป็นสถานประกอบการ
– ผู้ตรวจสอบจัดทำรายงานผลการตรวจสอบให้แก่เจ้าของอาคาร หากมีสิ่งใดไม่ผ่านหลักเกณฑ์ก็จัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงให้แก่ เจ้าของอาคารด้วย
– เจ้าของอาคารเสนอรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 30 วัน ก่อนใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมมีระยะเวลาครบหนึ่งปี
– เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาแล้วแจ้งผลให้เจ้าของอาคารทราบภายใน 30 วัน หากผ่าน ก็ออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (ร.1) ให้ และเจ้าของอาคารนำไปแสดงไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่ายในอาคารนั้น

view: https://asa.or.th/download/03media/04law/cba/mr48-59d.pdf
download: https://asa.or.th/download/03media/04law/cba/mr48-59d.zip

Facebook
Twitter
LinkedIn