กฎกระทรวงอาคารต้านแผ่นดินไหวออกแล้ว

กฎกระทรวงอาคารต้านแผ่นดินไหวออกแล้ว

30 พ.ย. 2550

กฎกระทรวงควบคุมอาคารใหม่ ออกใช้แทนกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวใหม่ แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ คือ “บริเวณเฝ้าระวัง”ครอบคลุม 7 จังหวัดภาคใต้ กระบี่, ชุมพร, พังงา, ภูเก็ต, ระนอง, สงขลา และสุราษฎร์ธานี, “บริเวณที่ 1” ครอบคลุม กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร, “บริเวณที่ 2” คือ 10 จังหวัดเดิมในกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 คือ กาญจนบุรี, เชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, น่าน, พะเยา, แพร่, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง และลำพูน

 

กฎกระทรวงฉบับนี้ให้ใช้กับอาคารประเภทต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากที่เคยกำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 แล้ว กฎกระทรวงฉบับนี้ได้เพิ่มประเภทอาคารขึ้นอีกหลายประเภท เช่น สถานีดับเพลิง อาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัย อาคารศูนย์สื่อสาร โรงไฟฟ้า โรงผลิตและเก็บน้ำประปา สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน อาคารที่มีผู้ใช้ตั้งแต่ 5,000 คนขึ้นไป สะพานหรือทางยกระดับ เขื่อนที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป โดยในบริเวณเฝ้าระวัง และบริเวณที่ 1 จะกำหนดอาคารบางประเภทให้ใช้บังคับเฉพาะบางขนาดเท่านั้น เช่น อาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้อาคารตั้งแต่ 300 คนขึ้นไป สถานศึกษาที่รับนักเรียนตั้งแต่ 250 คนขึ้นไป สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป

 

สำหรับหลักเกณฑ์ในการออกแบบคำนวณโครงสร้าง ได้ปรับปรุงจากเดิมเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยที่กำหนดเพิ่มขึ้น และให้สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ตามมาตรฐานสากล รวมถึงหลักเกณฑ์การรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร

 

View

Facebook
Twitter
LinkedIn