Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition

BACC’s upcoming event | Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition

for ENGLISH press here

นิทรรศการสถาปัตยกรรมครั้งแรกของปีนี้ “Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) จะเปิดอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย สนับสนุนโดยกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดยมี เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) ประธานคณะทำงานนิทรรศการจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมกับกุลธิดา ทรงกิตติภักดี ผู้ร่วมก่อตั้งและสถาปนิกหลักจาก HAS Design and Research เป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ ได้คัดเลือกผลงานบริษัทสถาปนิก 8 บริษัทจากไทยและไต้หวันเข้าร่วมจัดแสดง ซึ่งประกอบด้วยบริษัท สถาปนิก 49 จำกัด (Architects 49 Limited), บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด(Arsomsilp Community and Environment Architect), บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด (Duangrit Bunnag Architect Limited), บริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด (Department of ARCHITECTURE) และ Ambi Studio, MAYU architects, Behet Bondzio Lin Architekten, Atelier Or จากไต้หวัน ผลงานสถาปัตยกรรมจาก 8 บริษัท ที่นำมาจัดแสดงนั้น ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ พัทยา ปทุมธานี สมุทรสาคร นครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา ส่วนในไต้หวันตั้งอยู่ที่เมืองซินจู๋ หนานโถว หยุนหลิน เกาสง ผิงตง และอี๋หลาน ผลงานทั้งหมดนั้นเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาสังคมที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม

เจอร์รี่ หง ประธานจัดงานนิทรรศการตั้งข้อสังเกตว่า ด้วยภูมิศาสตร์และบริบทที่ต่างกัน สถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่เหล่านี้มีวิธีการตอบสนองและปฏิสัมพันธ์กับผืนดินในถิ่นที่โครงสร้างหยั่งรากลงอย่างไร แม้ว่าผืนดินเป็นส่วนต่อประสานเชื่อมโยงทุกสิ่งบนโลกในธรรมชาติเสมอมา พื้นผิวของมันกลับเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ไปจนถึงการปรับสมดุลบนโลกด้วยกลไกการทำงานของสิ่งแวดล้อม กว่าศตวรรษที่แล้ว อัลเฟรท โลทาร์ เวเกอเนอร์ (Alfred Lothar Wegener) นักธรณีวิทยาชาวเยอรมันได้เขียนหนังสือชื่อ The Origin of Continents and Oceans อธิบายว่าในอดีตโลกเคยรวมตัวกันเป็นมหาทวีปแพนเจีย (Pangea) ล้อมรอบด้วยผืนน้ำของแพนธาลัสซา (Panthalassa) ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนที่และแตกออกเป็นเจ็ดทวีป ห้ามหาสมุทรในปัจจุบัน นิทรรศการยังคงมุมมองของ “การเลื่อนไหล” และ “การรวมตัว” ของโลก โดยแบ่งการนำเสนอสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันออกเป็น 2 หมวด คือ “การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน” (Ground Exchanges) และ “ความรู้สึกจากผืนดิน” (Feeling Grounds) ที่แสดงวิถีชีวิตใหม่ของมนุษย์และธรรมชาติผ่านสถาปัตยกรรมบนพื้นฐานร่วมกันอันอุดมไปด้วยความสัมพันธ์, ความศักดิ์สิทธิ์, ลักษณะท้องถิ่น, การแทรกซึม, ความพิเศษ, การระลึกถึง, พื้นถิ่น, และไร้ขอบเขต

Ground Exchanges

ในกลุ่มแรก “Ground Exchanges” การแลกเปลี่ยนวิทยาการทางการก่อสร้างสมัยใหม่ได้กำหนดกรอบทิวทัศน์อันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะที่อุดมสมบูรณ์ของผืนดิน เช่น ผลงาน เวลา สินธร วิลเลจ ของบริษัทสถาปนิก 49 จำกัด (ปีที่แล้วเสร็จพ.ศ. 2562)และโรงละคร สิงห์ ดีลักษณ์ ซีเนมาติก เธียเตอร์ (พ.ศ. 2560) อาคารทั้งสองเสมือนลอยตัวอยู่กลางอากาศเปิดพื้นที่ให้กับพื้นที่สาธารณะ โดยพื้นที่ธรรมชาติกระจายตัวล้อไปกับอาคาร ขณะที่ภาพลักษณ์ของอาคารสัมพันธ์ไปกับแสงและลมของพื้นที่ ผลงาน Eternal Hill Columbarium (พ.ศ. 2565) และ House of Roofs (พ.ศ. 2559) ของ Behet Bondzio Lin Architekten เป็นผลงานออกแบบที่ตอบสนองต่อสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุกของไต้หวัน และแฝงถึงความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ของผู้คนที่มีต่อพื้นดิน ผลงานวิหารแก้ว (พ.ศ. 2563) ของ บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด งานสถาปัตยกรรมได้ส่งเสริมจิตวิญญาณอันเป็นนิรันดร์ให้กับสถานที่ ส่วนโครงการบ้านพักอาศัยประชาชื่น (พ.ศ. 2563) ผสานสภาพแวดล้อมสร้างความรู้สึกของพื้นที่แทรกซึมเข้าไปในอาคาร โครงการห้องสมุดสาธารณะ Pingtung Public Library (พ.ศ. 2563) และ Kaohsiung American School Athletic Complex (พ.ศ. 2559) ของ MAYU architects การใช้รูปทรงเรขาคณิตที่ตรงไปตรงมาร่วมกับโครงสร้างอาคารที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนในท้องถิ่นเชื่อมโยงมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร้รอยต่อ ในบรรดาผลงานของบริษัทสถาปนิกทั้งสี่นั้น Ground Exchanges ไม่เพียงแต่นำเสนอการแลกเปลี่ยนที่ประกอบขึ้นจากความสัมพันธ์, ความศักดิ์สิทธิ์, ลักษณะท้องถิ่น และการแทรกซึมระหว่างสถาปัตยกรรมกับผืนดินเพียงเท่านั้น แต่โครงการทั้งหมดยังแสดงให้เห็นทิศทางการอยู่ร่วมกันระหว่างสถาปัตยกรรมกับผืนดินในอนาคตอีกด้วย

Feeling Grounds

ในกลุ่มที่สอง “Feeling Grounds” ผสานแนวคิดจากสิ่งแวดล้อมกับงานฝีมือพื้นถิ่น วัสดุและเทคนิกการก่อสร้างที่ตกทอดกันมาได้ถ่ายทอดการรับรู้ทางความรู้สึกผ่านทางผืนดินในหลายมิติ เช่น ผลงานของบริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โครงการอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี (พ.ศ. 2562) และห้องสมุดเก๋งเรือลอยฟ้าท่าฉลอม (พ.ศ. 2565) อาคารเหล่านี้ยังคงไว้ซึ่งพื้นผิวภูมิทัศน์และเพิ่มด้วยคุณสมบัติที่สร้างระบบนิเวศในระดับจุลภาคให้กลมกลืนกับผืนดิน พื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นกลายเป็นส่วนต่อประสานสิ่งแวดล้อมดั้งเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างคุณค่าเฉพาะถิ่น สำหรับโครงการ Hushan Reservoir Archaeological Exhibition Hall (พ.ศ. 2566) และ Yuhsiu Museum of Arts (พ.ศ. 2558) โดยสถาปนิกจาก Ambi Studio ได้ออกแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องไปกับภูมิประเทศพื้นถิ่นและสร้างสรรค์เส้นทางที่สื่อสารกับภูมิทัศน์โดยรอบ รวมทั้งยังสร้างความรู้สึกใหม่ในพื้นที่เดิมให้แก่ผู้เข้าชมและผสมวัสดุก่อสร้างที่เลือกใช้ได้อย่างน่าสนใจ ถัดมาคือโครงการ The Commons ทองหล่อ (พ.ศ. 2559) และศาลาบางปะอิน (พ.ศ. 2564) ออกแบบโดยบริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด ได้สร้างความพิเศษในการเชื่อมโยงพื้นที่ร่มและพื้นที่กลางแจ้งบนผืนดินผ่านทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ด้วย “พื้นที่สีเทาด้านล่าง” ซึ่งสะท้อนถึงพื้นที่อเนกประสงค์ “ไต้ถุน” ในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทย สำหรับโครงการ Sparkling Market ในเมืองซินจู๋ (พ.ศ. 2555) และ Pavilion for Hsinchu Bus Station Plaza (พ.ศ. 2561) ของ Atelier Or โครงสร้างขนาดเล็กและเบาได้ปลดปล่อยข้อจำกัดทางการมองเห็นอาคารแบบดั้งเดิม เกิดเป็นการบูรณาการระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกอย่างไร้ขอบเขต ความรู้สึกที่ส่งต่อจากผืนดินผ่านมายังผลงานของสถาปนิกทั้งสี่กลุ่มใน Feeling Grounds นี้ ได้กระตุ้นให้ผลงานสถาปัตยกรรมสร้างกระบวนการเอื้อเฟื้อและเห็นอกเห็นใจต่อผืนดิน เกิดเป็นความพิเศษเหนือธรรมดา, การระลึกถึงถิ่นที่, การมีอยู่ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, และการไร้ซึ่งขอบเขตของสถาปัตยกรรม

องค์ประกอบเหล่านี้เมื่อปรากฏต่างเวลาต่างสถานที่ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเชื่อมโยงให้กับโลกใบนี้ พื้นที่นิทรรศการที่ถูกโอบล้อมด้วยบ้านเก้าหลังลดหลั่นไม่เสมอกัน เกิดเป็นความหลากหลายของพื้นที่จัดแสดงที่มีทั้งพื้นที่ร่มและสว่างซึ่งเปิดโล่งและต่อเนื่องกัน ความลาดเอียงของหลังคาที่ต่อเนื่องไม่เพียงแต่จะนำเสนอภาพลักษณ์ของนิทรรศการแล้ว ยังสร้างความต่างของพื้นที่เกิดเป็นความมืดและสว่างร่วมกับภาพผลงานของสถาปนิกทั้ง 8 บริษัทที่นำมาจัดแสดง สร้างความสงบและผ่อนคลายให้กับผู้เยี่ยมชมหาคำตอบถึงอนาคตของหน้าที่สถาปัตยกรรมต่อผืนดินที่ตั้งอยู่ และมองหาการบรรจบกันของสถาปัตยกรรมที่สนองต่อบริบทของถิ่นที่และบริบทของโลกบนผืนดินที่ไม่สิ้นสุดนี้ร่วมกัน

Hosts
The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage; Taipei Economic and Cultural Office in Thailand; Chulalongkorn University – Faculty of Architecture; King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang – School of Architecture, Art, and Design; King Mongkut’s University of Technology Thonburi – School of Architecture and Design; Silpakorn University – Faculty of Architecture

Co-Organizers

HAS design and research, Bangkok Art and Culture Centre, art4d, Alliance for Architectural Modernity Taiwan

Principal Curators

Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee

Participants

Architects 49 Limited, Behet Bondzio Lin Architekten, Duangrit Bunnag Architect Limited, MAYU architects, Arsomsilp Community and Environment Architect, Ambi Studio, Department of ARCHITECTURE, Atelier Or

Space Design
HAS design and research

Supporters

Alufence, Canon Thailand, Jorakay, Saint-Gobain Thailand, RichCons, FloraScape, Zdecor


Duration

2023 July 18 – August 6

Opening Event 

2023 July 18, 14:00 (invitation only)

Opening Hours

Tuesday – Sunday, 10:00 – 20:00

Venue

Bangkok Art and Culture Centre LF 939 Rama I Road, Wang Mai, Pathum Wan, Bangkok

หัวหน้าภัณฑารักษ์

Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee
HAS design and research

HAS design and research ก่อตั้งโดย เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และกุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) พวกเขาสำรวจภาษาสถาปัตยกรรมของเอเชียผ่านแนวทาง “การออกแบบ + การวิจัย” แบบคู่ขนาน หง และทรงกิตติภักดี (HAS) ได้สร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติด้วยการชนะการประกวดรางวัลต่างๆ ผลงานของพวกเขาเกิดจากการสังเคราะห์รูปแบบ ลวดลาย วัสดุ และเทคโนโลยีท้องถิ่นให้เป็นโครงสร้างที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ผลงานของพวกเขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและได้รับรางวัลและเกียรติประวัติต่างๆ จาก Thailand Prestige Award 2021, Designer of the Year Award 2019, Design Star Award 2018 รวมถึงการได้รับเลือกให้รวมอยู่ใน Wallpaper* Architects’ Directory 2022

เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานจัดนิทรรศการนี้ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และกุลธิดา ทรงกิตติภักดีเป็นผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ พวกเขาเป็นภัณฑารักษ์หลักของ “Infinity Ground” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) หง และทรงกิตติภักดี ยังมีส่วนร่วมในแวดวงวิชาการในฐานะอาจารย์พิเศษและผู้ตรวจผลงานสถาปัตยกรรม ในมหาวิทยาลัยถงจี (Tongji University) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พวกเขายังได้รับเชิญให้ทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์และนักวิจารณ์สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ผู้ดำเนินการจัดนิทรรศการ สิ่งพิมพ์ และสัมมนาต่างๆ ในระดับประเทศและนานาชาติ

Infinity Ground Architecture Museum, Bangkok, Thailand ©HAS design and research

ผู้เข้าร่วมและผลงานที่นำมาจัดแสดง

Nithi Sthapitanonda, Prabhakorn Vadanyakul | Architects 49 Limited (A49)

Nithi Sthapitanonda, Prabhakorn Vadanyakul
Architects 49 Limited (A49)

บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยนิธิ สถาปิตานนท์ ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 200 คน ประจำที่สำนักงานกรุงเทพฯ ทั้งนี้ยังมีสำนักงานประจำภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น ทีมงานที่หลากหลายของเราได้สร้างโครงการทั้งในเอเชียและตะวันออกกลาง มุ่งเน้นการออกแบบที่ยั่งยืนและเน้นผู้คนเป็นศูนย์กลางพร้อมทั้งออกแบบให้สถาปัตยกรรมนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยการใช้ข้อมูลผสานเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมร่วมกับเทคนิคที่ทันสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของโปรแกรมด้วยตัวเอง (ML) ซึ่งนำมาช่วยในกระบวนการทำงานของเรา เพื่อเสริมศักยภาพของพนักงานให้บรรลุเป้าหมายในการออกแบบ ประภากร วทานยกุล ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด สำเร็จการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก The Catholic University of America กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการมากมาย ทั้งนี้ผลงานออกแบบของคุณประภากรยังได้ขยายไปยังภูมิภาคต่างประเทศ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอินเดีย ซึ่งเป็นที่รู้จักให้กับผลงานของ A49

Velaa Sindhorn Village Langsuan, Bangkok, Thailand ©W Workspace
Singha D’luck Cinematic Theatre, Pattaya, Thailand ©Chaovarith Poonphol

Yu-Han Michael Lin | Behet Bondzio Lin Architekten

Yu-Han Michael Lin Behet Bondzio Lin Architekten

Yu-Han Michael Lin, สภาสถาปนิกเยอรมันแห่งสหพันธรัฐ (BAK), สมาคมสถาปนิกเยอรมัน (BDA) จบการศึกษาในสาขาการออกแบบของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard GSD) เป็นสถาปนิกชาวไต้หวันเยอรมัน เขาก่อตั้ง Behet Bondzio Lin Architekten ร่วมกับ Martin Behet และ Roland Bondzio ในปีพ.ศ. 2546 หลังจากร่วมงานกับ Peter Wilson เป็นเวลาห้าปี Behet Bondzio Lin Architekten เน้นแนวทางปฏิบัติทางสถาปัตยกรรมจากความหลากหลายวัฒนธรรมที่มีสำนักงานใน มึนส์เทอร์ (Münster) และไลพ์ซิช (Leipzig) ในเยอรมนี  ที่ไทเป และไทจง ในไต้หวัน และได้รับเลือกให้อยู่ใน 10 อันดับแรกจากบริษัทสถาปนิก 30,000 แห่ง ที่พูดภาษาเยอรมัน ผลงานที่สำคัญของเขา ได้แก่ โบสถ์ Tamkang, Textile Association NRW, มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช (Leipzig University) ใน Augustus Platz, Paul Chiang art center, City columbarium Hsinchu และพาวิลเลียนไต้หวันที่ร่วมกับ Ming-Liang Tsai ในงานเวนิส เบียนนาเล่ ปี ค.ศ. 2012 เขาได้รับรางวัลสถาปนิกรุ่นเยาว์ชาวเยอรมัน, รางวัลสถาปัตยกรรมไต้หวัน, รางวัล AIT, รางวัล Taiwanese housing award, รางวัล BSP การออกแบบชุมชนเมืองของเยอรมัน, รางวัล German brick, รางวัล BDA, รางวัล Fritz-Hoger Brick Prize

Eternal Hill Columbarium, Hsinchu, Taiwan ©YuChen Chao Photography
House of Roofs, Pingtung, Taiwan ©YuChen Chao Photography

Duangrit Bunnag | Duangrit Bunnag Architect Limited (DBALP)

Duangrit Bunnag
Duangrit Bunnag Architect Limited (DBALP)

บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด  (DBALP) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดย ดวงฤทธิ์ บุนนาค และ บริษัทสถาปนิก 49 จำกัด เป็นสตูดิโอสถาปัตยกรรมขนาดเล็กที่มีทีมออกแบบเพียง 5 คน ในปี พ.ศ. 2543 สตูดิโอได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ดวงฤทธิ์กลายเป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียวของบริษัทและจดทะเบียนบริษัทใหม่ เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ DBALP ให้ความสนใจในการบูรณาการงานออกแบบระหว่างการออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบภายใน และการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมแบบเป็นองค์รวม ด้วยจำนวนพนักงานทั้งหมดกว่า 32 คน ได้แบ่งกลุ่มสตูดิโอออกแบบเป็น กลุ่มสถาปนิก 3 กลุ่ม ออกแบบภายใน 2 กลุ่ม และภูมิสถาปนิก 1 กลุ่ม

แนวทางปฏิบัติของสตูดิโอเน้นการส่งเสริมคุณค่าขององค์กรผ่านหลักการดังต่อไปนี้ ความเที่ยงตรง ความรับผิดชอบ ความตรงไปตรงมา และการสืบทอด โดยเชื่อในการปฏิบัติที่ส่งผลให้สถาปัตยกรรมใช้งานได้จริง สมเหตุสมผล และสวยงาม เป็นเวลากว่าหลายปีแล้วที่ยึดตามหลักการนี้ทำให้ผลงานของสตูดิโอเป็นที่ยอมรับและได้รับรางวัลมากมายทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ การทำงานดังกล่าวได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงยุโรปตะวันตก จวบจนปัจจุบัน ดวงฤทธิ์ บุนนาค เป็น Design Director และกรรมการผู้จัดการบริษัท ยังคงตั้งใจทำงานในแต่ละโครงการเพื่อให้มั่นใจว่าการส่งมอบผลงานไม่ว่าจะเป็นโครงการขนาดเล็กและใหญ่จะสมบูรณ์แบบที่สุดตามคำที่ให้และคาดหวังไว้

The Glass Temple, Nakhon Ratchasima, Thailand ©W Workspace
Residence Prachachuen, Bangkok, Thailand ©W Workspace

Malone Chang, Yu-lin Chen | MAYU architects

Malone Chang, Yu-lin Chen MAYU architects

MAYU Architects ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1999 ในชื่อ Malone Chang Architects และปรับระบบใหม่ในปี 2010 โดย Malone Chang และ Yu-lin Chen รวมการทำงานเป็นรูปแบบสหวิทยาการตั้งอยู่ในเมืองเกาสง ไต้หวัน ขอบเขตงานของ MAYU ครอบคลุมตั้งแต่โครงการขนาดใหญ่ระดับเมืองไปจนถึงโครงการขนาดเล็ก สตูดิโอตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานเป็นทีมในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม โดยยังคงเอกลักษณ์และความเป็นศิลปะของแต่ละโครงการไว้ ดังนั้นจึงมีการใช้แนวทางสถาปัตยกรรมที่หาจุดร่วมระหว่างความร่วมมือในหลายแขนงและแรงบันดาลใจทางศิลปะ แนวคิดของสตูดิโอในแต่ละโครงการจะหลีกเลี่ยงรูปแบบที่ตายตัวและการแสดงตัวตนที่ชัดเจน โดยสนับสนุนกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนตามธรรมชาติ ซึ่งองค์ประกอบที่มีส่วนช่วยในการสร้างสถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่องคือการสื่อสารระหว่างที่ตั้ง บริบท โปรแกรม เวลา วัสดุ ผู้ใช้ และเจ้าของโครงการ การจัดระบบของอาคารทางกายภาพ ประสบการณ์แบบองค์รวมของที่ว่าง และลักษณะการเปลี่ยนแปลงของวัสดุเป็นลำดับความสำคัญในการออกแบบของสตูดิโอ โครงการที่เสร็จสมบูรณ์ไม่นานนี้และที่กำลังดำเนินอยู่ ได้แก่ ศูนย์ศิลปะ Da-Dong (Da-Dong Arts Center), โรงเรียนอเมริกันเกาสง (Kaohsiung American School), ห้องสมุดหลักไถหนาน (Tainan Main Library), ห้องสมุดไถหนาน ยูเหวิน (Tainan Yuwen Library), อาคารวิจัย ITRI (ITRI Research Building), โบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ตุงเหมิน (Tung-Men Holiness Church) และหอจัดแสดงพืชพรรณไทจง (Taichung Flora Exposition Hall) เป็นต้น MAYU ประกอบด้วยทีมงานสหสาขาวิชาชีพที่มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า 90 คน ประกอบด้วยสถาปนิก วิศวกร นักออกแบบภายใน นักวางผังเมือง ภูมิสถาปนิก และผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจาก LEED

Pingtung Public Library, Pingtung, Taiwan ©YuChen Chao Photography
Kaohsiung American School Athletic Complex, Kaohsiung, Taiwan ©YuChen Chao Photography

Theeraphon Niyom | Arsomsilp Community and Environment Architect

Theeraphon Niyom Arsomsilp Community and Environment Architect

สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ สตูดิโอสถาปนิกวิชาชีพที่ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับการจัดการศึกษาบนฐานงานจริง (Work Based Learning ) ให้กับสาขาวิชาทางสถาปัตยกรรมของสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ( Non-Profit Organization) มีวิสัยทัศน์ในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงภายใน พัฒนาศักยภาพสถาปนิก เพื่อสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเพื่อร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีคุณภาพ โดยมีหลักคิดในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม 4 ประการ คือ (1) ให้ความสำคัญกับคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงของสถาปัตยกรรม (2) เน้นการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (3) สถาปัตยกรรมที่สมถะ เรียบง่าย เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ (4) นำภูมิปัญญาพื้นถิ่น ภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม (Tropical & Vernacular Architecture) เราเชื่อว่า “คุณค่า” หรือ “ความหมาย” ของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้จำกัดอยู่เพียงมิติของความสวยงามทางกายภาพเท่านั้น แต่ “คุณค่าแท้” ของงานสถาปัตยกรรมอยู่ที่ประโยชน์ต่อชีวิต ทั้งสำหรับผู้ใช้งาน เจ้าของโครงการ ชุมชน ไปจนถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในการดำเนินงานทุกโครงการ เราจึงให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจ “ปูมหลัง” ที่เป็นบริบทของแต่ละโครงการตามความเป็นจริงอย่างรอบด้าน เพื่อระบุโจทย์ หรือ “ความท้ายทาย” และตั้ง “เป้าหมายเชิงคุณค่า” ที่ชัดเจนต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Change) ที่เกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในมิติต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม ทั้งมิติของ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงมิติทางจิตวิญญาณ หรือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติภายในระดับปัจเจกบุคคล

Puey Ungphakorn Centenary Hall, Pathum Thani, Thailand ©Pat Phuchamni
Tha Chalom Sky Boat Library, Samut Sakhon, Thailand ©Srirath Somsawat

Wei-Li Liao | Ambi Studio

Wei-Li Liao Ambi Studio

Wei-Li Liao เกิดในไต้หวันและได้รับการศึกษาในสหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจาก Southern California Institute of Architecture (SCI-Arc) และก่อตั้ง Ambi Studio ในปีค.ศ. 2001 เติบโตในเมืองถงเซียว (Tongxiao Township) เทศมณฑลเหมียวลี่ (Miaoli County) ต้องขอบคุณความทรงจำอันละเอียดอ่อนทางศิลปะในวัยเด็กที่ถงเซียวปะติดปะต่อความทรงจำทั้งหมดและกลายเป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจที่สร้างสรรค์สถาปัตยกรรม ผลงานส่วนใหญ่ของ Liaoตั้งอยู่ทางตะวันตกตอนกลางของไต้หวัน ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานชุดสะพาน โบสถ์ และพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ผลงานที่โดดเด่น ได้แก่ ห้องน้ำสาธารณะ Dongyanshan ในเถาหยวน (Dongyanshan Public Toilet in Taoyuan), สะพานลอย Wang Gong ในชางฮัว ( Wang Gong Footbridge, Changhua), สะพานลอยฟ้าในเป่ยกั่ง (Sky Bridge, Beigang), โบสถ์ The Light of Christ’s Salvationในไถจง (Light of Christ’s Salvation Church, Taichung), โบสถ์คริสตจักรเพรสไบทีเรียนในเจียวซี (Jiaoxi Presbyterian Church), โบสถ์คริสตจักรเพรสไบทีเรียนในไถหนาน (Tainan De-guang Presbyterian Church) และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะอวี้ซิ่ว ในหนานโถว (Yuhsiu Museum of Art, Nantou) การปฏิบัติต่อโลกด้วยความเคารพและกตัญญู เหมือนที่ Liao มุ่งมั่นเผชิญหน้ากับผู้คน เหตุการณ์ และสิ่งต่างๆ ในชีวิตอย่างจริงใจด้วยความเข้าใจและอารมณ์ ทำให้เขาตระหนักถึงความหมายของชีวิตและค้นพบศรัทธาในสถาปัตยกรรมของเขา ความทรงจำในวัยเด็ก เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างมุมมองทางสถาปัตยกรรมและขยายการรับรู้ไปยังโลกและธรรมชาติ ด้วยความพยายามคิดและดำเนินการเพื่อปลุกความหมายทางวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมในไต้หวัน จากการสังเกตและใคร่ครวญเขาใช้วัฒนธรรมชายขอบในไต้หวันเป็นจุดเริ่มต้น เขาค้นพบความมีชีวิตชีวาและความมีชีวิตชีวาของชีวิตคนธรรมดาในไต้หวันและความยืดหยุ่นที่ได้รับจากที่ตั้งของเกาะกลางมหาสมุทร ทั้งหมดนี้รวมเป็นพลังในการต่อต้านรูปแบบสากลและรักษาความเป็นไต้หวัน ดังที่ Liao กล่าวไว้ว่า “ผมจะอุทิศทั้งชีวิตของผมเพื่อค้นหาวิธีการนำเสนอลักษณะเฉพาะของภูมิภาคดั้งเดิมในสถาปัตยกรรมให้ดีขึ้นภายใต้มุมมองระหว่างประเทศ”

Hushan Reservoir Archaeological Exhibition Hall, Yunlin, Taiwan ©Kuomin Lee
Yuhsiu Museum of Art, Nantou, Taiwan ©Ambi Studio
Jiaoxi Presbyterian Church, Yilan, Taiwan ©Kuomin Lee

Amata Luphaiboon, Twitee Vajrabhaya Teparkum | Department of ARCHITECTURE

Amata Luphaiboon, Twitee Vajrabhaya Teparkum Department of ARCHITECTURE

บริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด ก่อตั้งโดย อมตะ หลูไพบูลย์ และทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคํา ในปีพ.ศ. 2547 เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน ภูมิทัศน์ และการออกแบบอื่นๆ ในสาขาใกล้เคียง สตูดิโอทำงานออกแบบที่มีความหลากหลายทั้งในแง่โจทย์ของงาน ประเภทงาน และขนาดของโครงการ แนวทางการออกแบบของสตูดิโอไม่เพียงแต่ครอบคลุมแง่มุมที่จับต้องได้ของสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกำหนดแนวคิดที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ของผู้คน สถานที่ และเวลา แนวทางการออกแบบให้ความสนใจในการค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของสถาปัตยกรรมที่มากไปกว่ารูปลักษณ์ภายนอก โดยการสำรวจและออกแบบแกนความคิดที่อยู่เบื้องหลังของพื้นที่ทางกายภาพ

The Commons Thonglor, Bangkok, Thailand ©W Workspace
The Commons Thonglor, Bangkok, Thailand ©W Workspace

Sheng-Feng Lin Atelier Or

Sheng-Feng Lin
Atelier Or

Sheng-Feng Lin เป็นสถาปนิกและภัณฑารักษ์ ได้รับปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจาก Cranbrook Academy of Art ปัจจุบันเขาเป็นรองศาสตราจารย์ที่ภาควิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยสือเจี้ยน (Shih Chien University) และเป็นผู้ก่อตั้ง Atelier Or Lin ผลงานของเขาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากผลงานศิลปะบนบกกลางแจ้งที่ชื่อ The Memory of 80’s ซึ่งจัดแสดงในปีค.ศ. 2014 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไถตง (Taitung Art Museum ) ปี 2018 เขาได้รับรางวัลดีเด่นจาก TILA Landscape Awards สำหรับ Happiness Plaza ในซินจู๋ (Hsinchu) และรางวัลชมเชยจากรางวัลสถาปัตยกรรมไต้หวัน (Taiwan Architecture Awards) สำหรับการปรับปรุงวิทยาเขตมหาวิทยาลัยสือเจี้ยน ในปี 2022 เขาได้รับรางวัล Good Design Award จากญี่ปุ่น สำหรับผลงาน Sparkling Market ที่ตั้งอยู่ที่ท่าเรือประมงหนานเหลียว เมืองซินจู๋ (Nanliao Fishing Harbor, Hsinchu) พื้นที่ที่ออกแบบโดย Lin มักจะแสดงบรรยากาศของบทกวี “ต้นแบบ” ด้วยวัสดุต่างๆ ที่รวมเข้าด้วยกันอย่างง่ายดาย
Atelier Or ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2011 ดำเนินงานเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม การสร้างสรรค์รายละเอียดในการติดตั้ง การออกแบบนิทรรศการ ฯลฯ Atelier Or มุ่งเน้นไปที่การออกแบบเชิงทดลองด้วยกระบวนการของการติดตั้ง และที่มาของลำดับทางรูปทรงเรขาคณิต ผลงานของเขามักถูกมองว่าเป็นตัวแทนของนามธรรมและความบริสุทธิ์ และบทสนทนาที่กลมกลืนระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบทประพันธ์ โครงการในปัจจุบันและที่ก่อสร้างแล้วเสร็จยังรวมถึง ได้แก่ Sparkling Market ในซินจู๋, การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ (Renovation of National Museum of History), สะพานคนเดินลอยฟ้าในซินจู๋ (Pedestrian Overhead Bridge in Hsinchu), งานศิลปะภูมิทัศน์กลางแจ้งที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไถตง (outdoor landscape art installation, Taitung Art Museum) เป็นต้น

Sparkling Market, Hsinchu, Taiwan ©YuChen Chao Photography
Pavilion for Hsinchu Bus Station Plaza, Hsinchu, Taiwan ©YuChen Chao Photography

Date

Jul 18 2023 - Aug 06 2023
Expired!

Time

10:00 - 20:00
QR Code