ข้อแนะนำจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ข้อแนะนำจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้คำแนะนำในกรณีที่มีการเข้าขอตรวจค้นสำนักงานเพื่อค้นหาซอฟต์แวร์ไม่มีลิขสิทธิ์ ดังนี้

1. ขอตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐาน ดังนี้

1.1 หลักฐานการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดส่วนตัว เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจต้องแจ้งความร้องทุกข์เสียก่อน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีอำนาจในการจับกุมดำเนินคดีได้ และคดีนี้สามารถระงับได้โดยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
1.2 หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์หรือการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดย วิธีใด อาทิ สำเนาหลักฐานแสดงการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ
1.3 หลักฐานการมอบอำนาจให้ตัวแทนดำเนินคดี เช่น เอกสารหมดอายุหรือไม่ การมอบอำนาจถูกต้องหรือไม่ มีอำนาจในการร้องทุกข์ ถอดคำร้องทุกข์หรือยอมความหรือไม่
1.4 บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ

2. สิทธิตามกฎหมายของผู้ถูกดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์
2.1 กรณีถูกดำเนินคดีอาญา ผู้ประกอบการย่อมมีสิทธิดำเนินตามคดีตามกฎหมายที่จะขอตรวจดูเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการใดๆ อันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตนเอง
2.2 การค้นในที่รโหฐานจะต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลมาแสดงก่อนจึงจะทำการค้นได้
2.3 ของกลางในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ถูกยึดหรืออายัด คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำผิดเท่านั้น เช่น คอมพิวเตอร์ที่บันทึกโปรแกรมฯ ละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
2.4 ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ที่จะขอทราบข้อกล่าวหาในการกระทำผิดรวมทั้งมีสิทธิ์ ที่จะตรวจดูคำร้องทุกข์ที่กล่าวหาว่าได้กระทำความผิด
2.5 การประกันผู้ต้องหา หลักฐานที่ต้องนำมาใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหาคือ โฉนดที่ดิน หรือเงินสด

Facebook
Twitter
LinkedIn