รายการประกอบแบบก่อสร้าง ฉบับปี พ.ศ. 2566

ปี พ.ศ. 2558 สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้จัดทำคู่มือปฏิบัติวิชาชีพ รายการประกอบแบบก่อสร้าง ปรับปรุงจากฉบับปี พ.ศ. 2554 เพื่อผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมได้นำไปใช้เป็น “ต้นร่าง” สำหรับการทำรายการประกอบแบบก่อสร้าง ซึ่งในครั้งนั้นยังได้ทำทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกด้วย
รายการประกอบแบบก่อสร้างฉบับปี พ.ศ. 2566 ได้ทำการปรับปรุงให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยยังยึดแนวทางรูปแบบอิงมาตรฐาน CSI (Construction Specification Institute) ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน นอกจากจะปรับปรุงหมวดงานเดิมแล้ว ยังได้เพิ่มหมวดงานใหม่

แนวทางการดำเนินการทำงานที่ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมจากฉบับปี พ.ศ. 2558 พอสรุปโดยสังเขปได้ ดังนี้
– ปรับเลขมาตรฐาน มอก. และมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงในรายการประกอบแบบให้เป็นปัจจุบัน
– ตรวจ และแก้ไขการสะกดคำผิดที่พบ
– ปรับปรุงเนื้อหารายละเอียดในบางหมวด
– เพิ่มรายการประกอบแบบขึ้นอีก 17 หมวด ได้แก่ หมวด 05 30 00 แผ่นเหล็กแบบพื้น, หมวด 07 42 13 แผ่นผนังโลหะ, หมวด 07 42 13.19 ระบบแผ่นผนังโลหะพร้อมฉนวนกันไฟ, หมวด 07 42 43 แผ่นผนังคอมโพสิต, หมวด 07 46 19 แผ่นผนังโลหะรีดลอน, หมวด 07 80 00 วัสดุป้องกันไฟและควัน, หมวด 07 81 23 สีกันไฟ (สีพองตัวกันไฟ), หมวด 08 33 43 ม่านกันควันอัตโนมัติ, หมวด 08 33 44 ม่านกันไฟอัตโนมัติ, หมวด 08 44 00 ระบบผนังกระจก, หมวด 08 88 13 กระจกกันไฟ, หมวด 09 65 00 งานกระเบื้องยาง, หมวด 09 67 00 งานระบบเคลือบผิวพื้น, หมวด 09 69 00 ระบบพื้นยก, หมวด 10 00 00 งานเบ็ดเตล็ด, หมวด 10 22 26 ผนังเลื่อนกั้นห้อง, หมวด 12 21 00 งานม่าน
– ตรวจสอบและปรับปรุงการใช้งานแมโครให้เหมาะสม ทันสมัย

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์จัดทำรายการประกอบแบบก่อสร้างนี้เพื่อใช้เป็น “ต้นร่าง” ที่มีการจัดระเบียบข้อกำหนด รูปแบบมาตรฐาน เพื่อผู้ออกแบบนำไปใช้เป็นภาษางานก่อสร้างเดียวกัน เป็นประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ สถาปนิก, วิศวกร, ผู้ควบคุมงาน, ผู้รับเหมาหลัก, ผู้รับเหมาช่วง, ผู้แทนจำหน่าย, ผู้ว่าจ้าง, และตัวแทนผู้ว่าจ้าง เป็นต้น รายการประกอบแบบก่อสร้างจะต้องปรับปรุงตามความเหมาะสมในการใช้งานสำหรับแต่ละโครงการออกแบบและก่อสร้าง เป็นเครื่องมือใช้สื่อสารให้ข้อมูลโครงการระหว่างกันอย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพ ให้ได้มาซึ่งวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ มีวิธีการติดตั้งที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และคำนึงถึงความปลอดภัย สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริงโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ได้ผลงานก่อสร้างที่ดีมีคุณภาพ มาตรฐาน ช่วยควบคุมระยะเวลาและงบประมาณการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ตัวอย่างหนังสือ https://drive.google.com/file/d/12J_471iU9FfY_vRIVQqjjy4hhBoWCsi6/view?usp=sharing

สั่งซื้อหนังสือได้ที่ https://shop.asa.or.th/

** ท่านใดสั่งซื้อตัวเล่มแล้วจะได้รับตัวไฟล์ดิจิตัลสำหรับนำไปใช้งาน **

Facebook
Twitter
LinkedIn