ASA CREW

บ้านทางเลือกดินและไม้ไผ่ นวัตกรรมธรรมชาติจากอดีตสู่อนาคต

  ปัจจุบันงานออกแบบก่อสร้างบ้านและอาคารมีการนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาง่ายและลดกระบวนการผลิตที่สิ้นเปลืองพลังงานมาใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น แนวคิดการสร้างบ้านดินและบ้านไม้ไผ่จึงมีการออกแบบนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งบ้านที่อยู่อาศัยขนาดเล็กไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ ภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังกลับมาเป็นทางเลือกสำหรับอนาคต ดินและไม้ไผ่ถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในเกือบทุกพื้นที่และมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ ซึ่งถ้าอาคารที่ต้องการนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากก็อยู่ในวิสัยที่จะฝึกฝนให้สามารถทำด้วยตัวเองได้     บ้านดิน      บ้านดินถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาดั้งเดิมในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีเทคนิควิธีในการก่อสร้างที่หลากหลาย ต่อมาได้รับการศึกษาพัฒนาจนได้รับการรองรับด้วยกฎหมายในหลายประเทศ โดยมีการพัฒนาส่วนผสม เช่น การผสมปูนขาวหรือคอนกรีต เพื่อทำให้สามารถทนต่อการกัดเซาะของฝนได้ดีมากขึ้น เทคนิคการสร้างบ้านดินที่นิยมใช้มีอยู่ 2 วิธี คือการทำเป็นอิฐดินดิบและการใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินผสมฟาง ดินที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการสร้างบ้านดินคือ ดินที่มีดินเหนียวเพียงพอที่จะทนต่อการกัดเซาะของน้ำ (ฝน) และมีทรายมากพอที่จะช่วยไม่ให้เกิดการแตกร้าว (จากการที่มีดินเหนียวมากเกินไป) ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยการนำดินที่มีอยู่ในพื้นที่มาผสมน้ำเล็กน้อย นวดและปั้นให้เป็นก้อน ขนาดเท่ากับกำปั้นแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ถ้ามีรอยแตกร้าวแสดงว่าควรจะผสมทรายเพิ่ม ถ้าไม่แตกร้าวให้ทดลองนำไปจุ่มในน้ำ ถ้าละลายอย่างรวดเร็วแสดงว่ามีทรายมากเกินไป ในการทำอิฐดินดิบจะมีการผสมแกลบ แล้วนำไปใส่ไม้แบบโดยเมื่อเทดินใส่แล้วจะทำการยกไม้แบบออกทันที เพื่อปล่อยให้อิฐแห้งก่อนจะนำไปใช้ ส่วนในการใช้โครงไม้นั้นจะต้องมีการทำผนังโครงสร้างตีเป็นตาตาราง (ให้มีช่องว่างพอที่จะลอดแขนเข้าไปทำงานได้ทั้งสองด้าน) จากนั้นนำดินที่ผสมฟางเส้นยาวมาวางพาดแล้วลูบผิวให้เรียบ ข้อดีของการทำอิฐดินดิบคือ สามารถทยอยทำอิฐสะสมไว้ก่อนได้ และใช้เวลาไม่มากในช่วงก่อสร้าง สามารถใช้เป็นผนังหรือโครงสร้างรับน้ำหนักได้ ในขณะที่การใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินนั้นจำเป็นต้องมีโครงสร้างหลักที่จะรับน้ำหนักหลังคา (ซึ่งอาจจะเป็นเหล็กคอนกรีต อิฐดินดิบ หรือวัสดุอื่นก็ได้) แต่ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามบ้านดินยังคงมีข้อด้อย คือแพ้น้ำที่อาจท่วมขังในระยะยาว การออกแบบจึงควรทำฐานรากและมีชายคาที่ยื่นยาว เพื่อป้องกันความชื้นจากดินและฝนที่จะปะทะกับผนังดินโดยตรง รวมทั้งไม่สามารถสร้างบนพื้นที่ซึ่งอาจมีน้ำท่วมขัง ยกเว้นการผสมก่อสร้างด้วยดินผสมคอนกรีตในอัตราสว่นประมาณ 7-10 เปอรเ์ซ็นต์   […]

ASA Admin

ASA Admin

1 สิงหาคม 2561

เมื่อฉันไปเรียนสถาปัตย์ที่ฟินแลนด์ ประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก

  ก่อนอื่นขอเกริ่นว่าฉันเลือกเรียน Construction and Real Estate Management (ConREM) ซึ่งเป็นคอร์สของหาวิทยาลัย HTW Berlin เปิดร่วมกับ Helsinki Metropolia จัดระบบการเรียนการสอนประเทศละ 1 ปี หลักสูตรรวม 2 ปี โดยเริ่มเทอม 1-2 ที่เฮลซิงกิในปีแรกและย้ายมาเรียนเทอม 3-4 ที่เบอร์ลินในปีถัดมา จากเดิมที่ HTW Berlin มีเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้หรือคณาจารย์กับทาง Helsinki Metropolia เท่านั้น ถ้าพูดถึงภาพรวมของสาขา ConREM จะเน้นไปในด้าน Life Cycle Management, Real Estate Development, Construction and Real Estate Technology, Business and Management Science, International and Intercultural Collaboration, Renovation […]

ลูกอีสานวันนี้ เรื่องเล่าก่อนจะเป็นนิทรรศการแรกที่ TCDC ขอนแก่น

    ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบขอนแก่น หรือ TCDC Khon Kaen สาขาแห่งที่สอง (สาขาแรกคือ TCDC Chiang Mai) จะเปิดให้บริการที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์แห่งภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วยบริการหลัก 3 ด้าน คือ การเป็นศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ การเป็นศูนย์วัสดุท้องถิ่นอีสาน และการพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดการนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจพร้อมกับการเปิดนิทรรศการ “Look Isan Now: ลูกอีสานวันนี้” ด้วย หลายบรรทัดด้านล่างนี้คือเรื่องราวร่วมๆ หนึ่งปีก่อนวันเปิดนิทรรศการจากภัณฑารักษ์ และนักออกแบบนิทรรศการ     นิทรรศการแรกของ TCDC ขอนแก่น แต่เป็นนิทรรศการเรื่อง “อีสาน” ครั้งที่สองของ TCDC   “ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 13 ปีที่แล้ว  “กันดารคือสินทรัพย์ :อีสาน” เป็นนิทรรศการแรกเมื่อครั้งTCDC เริ่มต้นเปิดให้บริการ เราจะหยิบจับเรื่องราวในตอนนั้นกลับมาเล่าใหมเ่หมือนเป็นภาคต่อใน พ.ศ. นี้ดีไหมคือสิ่งที่ทีมภัณฑารักษต์องกลับไปทำการบ้าน”   เมื่อต้องเล่าเรื่องอีสานให้คนอีสานฟัง “ความท้าทายครั้งนี้คือเราจะเล่าเรื่องที่ลูกหลานชาวอีสานพบเห็นทุกวันจนเกือบจะเคยชินออกมาอย่างไรให้น่าสนใจ ต่างจากนิทรรศการครั้งที่แล้วที่เล่าเรื่องคนอีสาน ให้คนต่างถิ่นอย่างคนกรุงเทพฯ ฟังประมาณกลางปี 2560 […]

รางวัลผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น 2561

ประกาศผลการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2561 ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลงานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าให้เผยแพร่เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะนั้น ในการนี้สมาคมฯ ขอแจ้งผลการคัดเลือกดังนี้ ASA AD Award – Silver โครงการ Chulalongjkorn University Centenary Park โดย N7A Architect-Landprocess   ASA AD Award – Bronze โครงการ ASA Lanna Center โดย Somdoon Architects ASA AD Award – Commendation โครงการ Novice’s Living Quarters, Buddhanimit Temple โดย Skarn Chaiyawat, Rina Shindo, Witee […]

REWIND TO THE PAST AT BANGKOKIAN MUSEUM ย้อนเวลาหาอดีตที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

ผู้เขียนเคยได้ยินชื่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตบางรัก หรือในอีกชื่อคือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี2550 จากการที่มีผู้เสนอชื่อเข้ารับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จากนั้นทีมที่เข้าไปถ่ายทําภาพนิ่งก็เล่าย้ำอีกครั้งว่า ที่นี่ดีจริงๆ น่าจะพาเด็กเรียนอนุรักษ์มาดูสักครั้ง แต่ด้วยความที่เห็นว่าอยู่ใกล้แค่นี้ทําให้หาเวลามาดูไม่ได้สักทีจนเมื่อมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้ขอให้เข้ามาช่วยประเมินเพื่อขอรับรางวัลอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมจาก UNESCO Asia-Pacific Awards จึงมีโอกาสเข้ามาพิสูจน์ด้วยตาตนเอง หลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์มาร่วม 5 ปี สิ่งที่เห็นไม่ได้ทําให้ผิดหวังไปจากที่ได้ยินได้ฟังมาไม่ว่าจะเป็นทําเลที่ตั้งที่เคยเข้าออกได้จากทางคลองหน้าบ้าน ซึ่งแปรสภาพมาเป็นถนนในภายหลัง ผนวกความร่มรื่นด้วยพรรณไม้พื้นบ้านที่นิยมปลูกตามบ้านทั่วไป ตลอดจนตัวเรือนหลักทั้ง 3 หลังที่มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมตามสมัยนิยม ที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนเมืองในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งดูสงบและสบายในสภาวะอากาศเมืองร้อนเช่นนี้ ส่วนที่เกินจากความคาดหมายคือประวัติความเป็นมาของเรือนหลังเล็กที่ย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวแทนของชาวบางกอกในยุคนั้นเนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่มีคนอย่างน้อย 3 ชั่วคน และ 3 เชื้อชาติได้มาใช้ชีวิตผูกพันกัน ณ อาคารเหล่านี้ โดยมีสังคมเมืองบางกอกยุครัตนโกสินทร์เป็นฉากหลัง   นางอิน ตันบุ้นเต็ก คุณยายของเจ้าของเรือนมีเชื้อสายจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากทํามาหากินอยู่ที่เมืองสยามตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนนางสอาง สุรวดีผู้เป็นมารดาได้                แต่งงานครั้งแรกกับนายแพทย์ฟรานซีส […]

Art for Happiness in Chalit Nakpawan Style ศิลปะสร้างสุข ในแบบ ชลิต นาคพะวัน

ชลิต นาคพะวัน ผู้อำนวยการ Chalit Art Project & Gallery และศิลปินแนวนามธรรมชื่อดัง อารมรณ์ดีที่มีลายเส้นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้เทคนิคแป้งทัลคัมและยางพาราใน      โทนสีสดใสจนได้ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากแต่ในการสอนศิลปะชลิตกลับไม่ได้ให้ผู้เรียนต้องสร้างงานตามลายเส้นของเขา ในทางกลับกันเขาได้ให้ผู้เรียนได้ค้นหาตัวตนที่แท้จริง แล้วถ่ายทอดผ่านเส้น สี ที่แปรงลวดลาย จนกลายเป็นงานศิลปะในรูปแบบเฉพาะตนที่แตกต่างออกไป ไม่เพียงเท่านี้ ในอีกด้านเขายังเป็นเสมือนจิตแพทย์ ผู้ใช้ศิลปะเป็นสื่อในการดึงความคิด ความรู้สึกปมทั้งด้านดีและร้ายของผู้เรียนออกมา แล้วค่อยๆ คลี่คลายปมนั้นด้วยการพูดคุยและใช้ศิลปะในการบำบัด “การสอนศิลปะคือการดึงคาแรกเตอร์หรือตัวตนของผู้เรียนออกมา ไม่ใช่ให้ผู้เรียนทำตามผู้สอน คาแรกเตอร์ คือประสบการณ์ สิ่งที่ชอบ จิตใต้สำนึก ฯลฯ ซึ่งความเป็นตัวตนที่ดีสามารถสร้างสิ่งที่ดีและมีความจริงแท้ได้ ผมผสมผสานความรู้บวกศิลปะ ใช้ความงามทางศิลปะ ทัศนศิลป์ เพื่อสื่อสารกับผู้คน สังคม เวลาสอนศิลปะผมจะให้หัวข้อในการวาดภาพ เมื่อวาดเสร็จก็จะให้ทุกคนอธิบายภาพของตัวเองและถามความคิดเห็นของเพื่อนๆด้วย ซึ่งในภาพแต่ละภาพจะสะท้อนปมบางอย่างออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ความสุข ความทุกข์ ความรัก          ความโกรธ ความเกลียด ความห่วงใย โดยจะพบปมด้านไม่ดีมากกว่า ผมก็จะยกตัวอย่างจากการอ่านบ้าง ประสบการณ์ของตัวเองบ้างมาพูดคุย แลกเปลี่ยนกันแล้วค่อยๆ บอก […]

“Darunbannalai” the Library for Kids บ้านโบราณซอยวัดม่วงแค สู่ห้องสมุดเจ้าตัวจิ๋ว

จากแนวคิด“บุงโกะ” ของประเทศญี่ปุ่น ที่แม้บ้านและผู้ใหญ่รักการอ่านมักดัดแปลงบ้านของตนให้เป็นห้องสมุดในชุมชนสำหรับเด็กๆ เป็นแรงบันดาลใจให้มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งมีภารกิจ “นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ” มองหาสถานที่ในฝันที่จะเป็นพื้นที่แบ่งปันการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (สำหรับเด็กแรกเกิด จนถึงเด็กอายุ 7 ขวบก่อนเข้าชั้น ป.1 ) และได้ส่งต่อสมุดนิทานถึงมือเด็กๆ ในชุมชนตามแนวคิดแบบบุงโกะบ้าง “ที่ผ่านมาเรามีหนังสือให้เด็ก แต่ห้องสมุดเราไม่มี” คุณสุธาทิพ ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการอรุณบรรณาลัย ผู้อำนวยการดรุณบรรณาลัย (รองประธานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กในขณะนั้น) บอกเล่ากับ ASA CREW ถึงจุดเริ่มต้นของแนวคิดสรรหาห้องสมุดเด็กเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรตันราชสดุาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา โดยแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล (ในขณะนั้น) ได้เสนอบ้านร้างสองชั้น สันนิษฐานอายุกว่า 100 ปี ก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ตอนกลาง ซึ่งอดีตเคยเป็นที่ทำการของศูนย์พัฒนาเด็กราชานุกูล แต่ปัจจุบันบ้านหลังนี้ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ สภาพค่อนข้างทรุดโทรม เมื่อได้แรงสนับสนุนอีกฝ่ายจากผู้ใหญ่ใจดี ทีมสถาปนิกจากบริษัท แปลน อาคิเต็ค จำกัด มาออกแบบและควบคุมการบรูณะให้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันสร้างสรรค์ห้องสมุดเด็กปฐมวัยแห่งแรกในประเทศไทยขึ้นมา สู่ “ดรุณบรรณาลัย” ห้องสมุดปฐมวัยที่ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี […]

APERTURE HOUSE บ้าน-ช่อง-แสง

ช่องเปิด คือ องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบอาคาร นอกจากการใช้งานในแง่แสงสว่างและการระบายอากาศแล้ว บ่อยครั้งสถาปนิกยังคํานึงถึงการออกแบบช่องเปิดที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในอาคารให้เชื่อมโยงกัน   บ้าน-ช่อง-แสง (หรือที่คุ้นหูในชื่อบ้านเปา) การันตีด้วย รางวัล Gold Medal Awards ของสมาคมสถาปนิกสยาม (ASA) ประจำปี 2559 คุณชนาสติ ชลศึกษ์ จาก Stu/D/O Architects บริษัทผู้ออกแบบได้ขยายความเกี่ยวกับช่องเปิดที่เน้นในเรื่องแสงและเงา อันเป็นเอกลกัษณ์ของบ้านหลังนี้และกลายเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง “ถ้าถามถึงคอนเซ็ปต์โดยรวมของบ้าน เริ่มต้นมาจากเจ้าของบ้านเองซึ่งเป็นภูมิสถาปนิกและเป็นดีไซเนอร์ที่ เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วย เราจึงแตกความคิดออกมาในเรื่องเฟรม มุมมอง แสงและเงา เลยนึกถึงศัพท์ที่ใช้ในวงการถ่ายภาพคือ Aperture หมายถึง รูรับแสงของกล้องถ่ายรูป และคําว่า ‘ช่องแสง’ ยังเอามาเล่นกับคําว่า‘บ้านช่อง’เลยเป็นที่มาของรูปแบบอาคาร คือ เล่นกับช่องว่างและช่องเปิด”   “ส่วนรายละเอียดของช่องแสงที่ว่านี้เรานึกถึงโบสถ์ รงช็อง(Ronchamp) ของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เลอ คอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier) ที่ออกแบบช่องเปิดให้เป็น Cube ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู คือ กรอบด้านนอกจะแคบและขยายกว้างขึ้นเมื่อเข้าสู่ภายใน เพื่อให้แสงเวลากลางวันที่สาดเข้ามาในโบสถ์มีเอ็กเฟ็กต์ที่นุ่มนวล แต่โปรเจ็กต์ของเรานี้กลับกัน ช่องเปิดที่เป็น Cube […]

Behind the Building – Behind the Picture ข้างหลังตึก ข้างหลังภาพ

เมื่อต้นปี 2560 แฮชแท็ก#SavingThaiModernArchitecture บนกน้าฟีดเฟซบุ๊คได้ทำให้บรรดา ฅ ฅนรักตึก ใจเต้นตึกๆ กันพอสมควร แฮชแท็กนี้เกิดขึ้นเมื่อเพจ Foto_momo โดย วีรพล สิงห์น้อย หรือ “เบียร์ สิงห์น้อย” ช่างภาพสถาปัตยกรรมได้บันทึกความโมเดิร์นของอาคารเก่าช่วงศตวรรษ 2549-2510 (ยุค 50s-70s) ผ่านภาพถ่าย แม้วันนี้บริบททางสังคมและความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยได้ทำให้บางอาคารหล่นหายไปตามกาลเวลา จากความคุ้นเคย จากความช่างสังเกต จากโจทย์ของหน้าที่การงาน จากความประทับใจและหลงรักรูปทรงอาคารเหล่านี้ที่ยังคงความสวยงามอยู่ จากการค้นคว้าข้อมูลประทับใจในแง่มุมการออกแบบของสถาปนิกชั้นครูล้วนเป็นเหตุผลให้ “เบียร์ สิงห์น้อย” ตัดสินใจกดชัตเตอร์เก็บภาพอาคารเหล่านี้ไว้เป็นความทรงจำ “อาคารปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร หรือตึกฟักทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นอาคารแรกที่ทำให้ผมอยากเก็บภาพตึกอื่นๆ ต่อเป็นซีรี่ย์ ตึกฟักทองเปรียบเหมือนไอดอลของ ม.อ. ก็ว่าได้ ถ้าดูตามหลักสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม จะเห็นว่าอาคารเหมือนรูปชามทรงคว่ำ มีกลีบเป็นรูปผลฟักทอง ความพิเศษของการก่อสร้างคือ การถ่ายเทน้ำหนักจากจุดศูนย์กลางของอาคาร ซึ่งอาคารนี้สร้างขึ้นในช่วงปี 2509-2510 นับว่าประทับใจมากในยุคนั้น ภาพนี้สำเร็จได้ผ่านการถ่ายด้วยโดรน” FYI : ความสวยงามของตึกฟักทองในยุคนั้นทำให้มีกองถ่ายภาพยนตร์ 2 เรื่อง เลือกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำ คือเรื่อง จินตะหรา (2516) และวงศคณาญาติ […]

Maxime Residence สร้างบ้านเหมือนใจคิด

บ้าน Maxime Residence ของคุณ Maxime Gheysen และคุณรัตติกาล คงใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทั้งคู่ตัดสินใจเลือกซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อสร้างบ้านเนื่องจากตัวที่ดินติดกับอ่างเก็บนํ้าและตั้งอยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างเงียบสงบ คุณ Maxime เล่าย้อนไปถึงเมื่อครั้งเริ่มตันมีความคิดที่จะสร้างบ้าน และขั้นตอนในการหาสถาปนิกว่า … “เราค่อนข้างจะพอใจในการทํางานร่วมกับสถาปนิก เพราะทางสถาปนิกได้เสนอภาพสามมิติและหุ่นจําลอง ให้เราได้เข้าใจและเห็นภาพที่ตรงกับความคิดมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นประสบการณ์ที่เราต้องสะสมเพิ่มเพราะบ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังแรกของเรา” อย่างในส่วน landscape เราก็ค่อยๆ ลงต้นไม้เนื่องจากต้องดูทิศทางแดดในแต่ละฤดูก่อนตัดสินใจว่าจะปลูกต้นไม้ตรงไหน คิดว่าในอนาคตถ้าเราจะสร้างบ้านอีกหลัง เราก็จะทําได้ดีขึ้นครับ” คุณMaximeกล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม     “ผมค้นหาสถาปนิกจากอินเทอร์เน็ตครับจนมาเจอกับสำนักงานสถาปนิก blank studio ซึ่งเราคิดว่ามีแนวทางในการออกแบบตรงกับความคิดของเรา เราอยากได้บ้านเรียบๆ และดูโมเดิร์นตอนแรกก็กลัวเพราะหลายคนบอกว่าสร้างบ้านที่เมืองไทยจะมีปัญหาเยอะ แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรนะครับ เราก็พูดคุยกับสถาปนิกผ่านไลน์แชท มีการส่งภาพ รายงานตลอดเวลาในช่วงของการก่อสร้าง” ทางด้านคุณอุกฤษฎ์ บวรสิน หนึ่งในทีมสถาปนิกจาก blank studio ออกแบบตัวบ้านให้เป็นอาคารชั้นเดียว และแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งเป็นห้องนอน 2 ส่วน และพื้นที่หลักอย่างครัวและห้องรับแขกอีก 1 […]

1 2 3 4 7