Art for Happiness in Chalit Nakpawan Style ศิลปะสร้างสุข ในแบบ ชลิต นาคพะวัน

ชลิต นาคพะวัน ผู้อำนวยการ Chalit Art Project & Gallery และศิลปินแนวนามธรรมชื่อดัง อารมรณ์ดีที่มีลายเส้นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้เทคนิคแป้งทัลคัมและยางพาราใน      โทนสีสดใสจนได้ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากแต่ในการสอนศิลปะชลิตกลับไม่ได้ให้ผู้เรียนต้องสร้างงานตามลายเส้นของเขา ในทางกลับกันเขาได้ให้ผู้เรียนได้ค้นหาตัวตนที่แท้จริง แล้วถ่ายทอดผ่านเส้น สี ที่แปรงลวดลาย จนกลายเป็นงานศิลปะในรูปแบบเฉพาะตนที่แตกต่างออกไป ไม่เพียงเท่านี้ ในอีกด้านเขายังเป็นเสมือนจิตแพทย์ ผู้ใช้ศิลปะเป็นสื่อในการดึงความคิด ความรู้สึกปมทั้งด้านดีและร้ายของผู้เรียนออกมา แล้วค่อยๆ คลี่คลายปมนั้นด้วยการพูดคุยและใช้ศิลปะในการบำบัด “การสอนศิลปะคือการดึงคาแรกเตอร์หรือตัวตนของผู้เรียนออกมา ไม่ใช่ให้ผู้เรียนทำตามผู้สอน คาแรกเตอร์ คือประสบการณ์ สิ่งที่ชอบ จิตใต้สำนึก ฯลฯ ซึ่งความเป็นตัวตนที่ดีสามารถสร้างสิ่งที่ดีและมีความจริงแท้ได้ ผมผสมผสานความรู้บวกศิลปะ ใช้ความงามทางศิลปะ ทัศนศิลป์ เพื่อสื่อสารกับผู้คน สังคม เวลาสอนศิลปะผมจะให้หัวข้อในการวาดภาพ เมื่อวาดเสร็จก็จะให้ทุกคนอธิบายภาพของตัวเองและถามความคิดเห็นของเพื่อนๆด้วย ซึ่งในภาพแต่ละภาพจะสะท้อนปมบางอย่างออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ความสุข ความทุกข์ ความรัก          ความโกรธ ความเกลียด ความห่วงใย โดยจะพบปมด้านไม่ดีมากกว่า ผมก็จะยกตัวอย่างจากการอ่านบ้าง ประสบการณ์ของตัวเองบ้างมาพูดคุย แลกเปลี่ยนกันแล้วค่อยๆ บอก […]

“Darunbannalai” the Library for Kids บ้านโบราณซอยวัดม่วงแค สู่ห้องสมุดเจ้าตัวจิ๋ว

จากแนวคิด“บุงโกะ” ของประเทศญี่ปุ่น ที่แม้บ้านและผู้ใหญ่รักการอ่านมักดัดแปลงบ้านของตนให้เป็นห้องสมุดในชุมชนสำหรับเด็กๆ เป็นแรงบันดาลใจให้มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งมีภารกิจ “นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ” มองหาสถานที่ในฝันที่จะเป็นพื้นที่แบ่งปันการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (สำหรับเด็กแรกเกิด จนถึงเด็กอายุ 7 ขวบก่อนเข้าชั้น ป.1 ) และได้ส่งต่อสมุดนิทานถึงมือเด็กๆ ในชุมชนตามแนวคิดแบบบุงโกะบ้าง “ที่ผ่านมาเรามีหนังสือให้เด็ก แต่ห้องสมุดเราไม่มี” คุณสุธาทิพ ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการอรุณบรรณาลัย ผู้อำนวยการดรุณบรรณาลัย (รองประธานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กในขณะนั้น) บอกเล่ากับ ASA CREW ถึงจุดเริ่มต้นของแนวคิดสรรหาห้องสมุดเด็กเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรตันราชสดุาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา โดยแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล (ในขณะนั้น) ได้เสนอบ้านร้างสองชั้น สันนิษฐานอายุกว่า 100 ปี ก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ตอนกลาง ซึ่งอดีตเคยเป็นที่ทำการของศูนย์พัฒนาเด็กราชานุกูล แต่ปัจจุบันบ้านหลังนี้ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ สภาพค่อนข้างทรุดโทรม เมื่อได้แรงสนับสนุนอีกฝ่ายจากผู้ใหญ่ใจดี ทีมสถาปนิกจากบริษัท แปลน อาคิเต็ค จำกัด มาออกแบบและควบคุมการบรูณะให้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันสร้างสรรค์ห้องสมุดเด็กปฐมวัยแห่งแรกในประเทศไทยขึ้นมา สู่ “ดรุณบรรณาลัย” ห้องสมุดปฐมวัยที่ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี […]

APERTURE HOUSE บ้าน-ช่อง-แสง

ช่องเปิด คือ องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบอาคาร นอกจากการใช้งานในแง่แสงสว่างและการระบายอากาศแล้ว บ่อยครั้งสถาปนิกยังคํานึงถึงการออกแบบช่องเปิดที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในอาคารให้เชื่อมโยงกัน   บ้าน-ช่อง-แสง (หรือที่คุ้นหูในชื่อบ้านเปา) การันตีด้วย รางวัล Gold Medal Awards ของสมาคมสถาปนิกสยาม (ASA) ประจำปี 2559 คุณชนาสติ ชลศึกษ์ จาก Stu/D/O Architects บริษัทผู้ออกแบบได้ขยายความเกี่ยวกับช่องเปิดที่เน้นในเรื่องแสงและเงา อันเป็นเอกลกัษณ์ของบ้านหลังนี้และกลายเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง “ถ้าถามถึงคอนเซ็ปต์โดยรวมของบ้าน เริ่มต้นมาจากเจ้าของบ้านเองซึ่งเป็นภูมิสถาปนิกและเป็นดีไซเนอร์ที่ เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วย เราจึงแตกความคิดออกมาในเรื่องเฟรม มุมมอง แสงและเงา เลยนึกถึงศัพท์ที่ใช้ในวงการถ่ายภาพคือ Aperture หมายถึง รูรับแสงของกล้องถ่ายรูป และคําว่า ‘ช่องแสง’ ยังเอามาเล่นกับคําว่า‘บ้านช่อง’เลยเป็นที่มาของรูปแบบอาคาร คือ เล่นกับช่องว่างและช่องเปิด”   “ส่วนรายละเอียดของช่องแสงที่ว่านี้เรานึกถึงโบสถ์ รงช็อง(Ronchamp) ของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เลอ คอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier) ที่ออกแบบช่องเปิดให้เป็น Cube ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู คือ กรอบด้านนอกจะแคบและขยายกว้างขึ้นเมื่อเข้าสู่ภายใน เพื่อให้แสงเวลากลางวันที่สาดเข้ามาในโบสถ์มีเอ็กเฟ็กต์ที่นุ่มนวล แต่โปรเจ็กต์ของเรานี้กลับกัน ช่องเปิดที่เป็น Cube […]

Behind the Building – Behind the Picture ข้างหลังตึก ข้างหลังภาพ

เมื่อต้นปี 2560 แฮชแท็ก#SavingThaiModernArchitecture บนกน้าฟีดเฟซบุ๊คได้ทำให้บรรดา ฅ ฅนรักตึก ใจเต้นตึกๆ กันพอสมควร แฮชแท็กนี้เกิดขึ้นเมื่อเพจ Foto_momo โดย วีรพล สิงห์น้อย หรือ “เบียร์ สิงห์น้อย” ช่างภาพสถาปัตยกรรมได้บันทึกความโมเดิร์นของอาคารเก่าช่วงศตวรรษ 2549-2510 (ยุค 50s-70s) ผ่านภาพถ่าย แม้วันนี้บริบททางสังคมและความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยได้ทำให้บางอาคารหล่นหายไปตามกาลเวลา จากความคุ้นเคย จากความช่างสังเกต จากโจทย์ของหน้าที่การงาน จากความประทับใจและหลงรักรูปทรงอาคารเหล่านี้ที่ยังคงความสวยงามอยู่ จากการค้นคว้าข้อมูลประทับใจในแง่มุมการออกแบบของสถาปนิกชั้นครูล้วนเป็นเหตุผลให้ “เบียร์ สิงห์น้อย” ตัดสินใจกดชัตเตอร์เก็บภาพอาคารเหล่านี้ไว้เป็นความทรงจำ “อาคารปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร หรือตึกฟักทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นอาคารแรกที่ทำให้ผมอยากเก็บภาพตึกอื่นๆ ต่อเป็นซีรี่ย์ ตึกฟักทองเปรียบเหมือนไอดอลของ ม.อ. ก็ว่าได้ ถ้าดูตามหลักสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม จะเห็นว่าอาคารเหมือนรูปชามทรงคว่ำ มีกลีบเป็นรูปผลฟักทอง ความพิเศษของการก่อสร้างคือ การถ่ายเทน้ำหนักจากจุดศูนย์กลางของอาคาร ซึ่งอาคารนี้สร้างขึ้นในช่วงปี 2509-2510 นับว่าประทับใจมากในยุคนั้น ภาพนี้สำเร็จได้ผ่านการถ่ายด้วยโดรน” FYI : ความสวยงามของตึกฟักทองในยุคนั้นทำให้มีกองถ่ายภาพยนตร์ 2 เรื่อง เลือกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำ คือเรื่อง จินตะหรา (2516) และวงศคณาญาติ […]

MODERN COLONIAL โมเดิร์น โคโลเนียล

D HOSTEL BANGKOK ผลงานของ Klickken Studio เป็นโฮสเทลที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในย่านข้าวสาร อันเป็นที่รู้กันว่าคือเมืองหลวงของเหล่าแบคแพคเกอร์ การออกแบบโฮสเทลแห่งนี้ได้รับโจทย์มาว่าอยากได้อาคารที่หน้าตาของมันดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ซึ่งแถวที่ตั้งของโครงการจะมีสถาปัตยกรรมในสไตล์โคโลเนียลอยู่ค่อนข้างมาก จึงนำาเอาเส้นสายสไตล์โคโลเนียลมาสร้างขึ้นใหม่แต่จะไม่ปั้นปูนในแบบร้อยปีที่แล้วเพื่อสร้างอาคารในปัจจุบันที่ยัง คงเป็นสไตล์โคโลเนียล ผู้ออกแบบจึงตัดสินใจใช้ดีเทลเหล็กเป็นองค์ประกอบแทน “Facade หรือผนังด้านหน้าอาคาร ถูกออกแบบให้เป็นตึกโคโลเนียลสีขาวในเฟรมสีดำ เราพยายามเปลี่ยนฉากหน้าของตึกให้กลายเป็นงานดรอว์อิ้ง เราสร้างกระดาษกราฟขึ้นมาเหมือนกับเวลาทำางานใน AutoCAD ตัวดีเทลเน้นโครงเหล็กง่ายๆ ด้วยการใช้เหล็กขนาดต่างๆ มาดัดเป็นรูปทรงด้วยเทคนิควิธีการเบื้องต้นอย่างการเชื่อมเหล็ก ดัดเหล็ก โดยใช้ขนาดของเหล็กเป็นตัวแทนความเข้มของเส้นดินสอ เหล็กหนาก็แทนเส้นเข้ม ส่วนเหล็กเส้นเล็กก็แทนเส้นบาง นอกจากนี้ฟังก์ชั่นของแผงเหล็กชุดนี้ยังติดไฟเพื่อที่จะสามารถเปิดใช้งานในเวลากลางคืน พร้อมทั้งให้แสงสว่างกับบันไดหนีไฟที่อยู่ด้านหลังแผงเหล็กชุดนี้อีกด้วย”

BARTLETT SCHOOL OF ARCHITECT โรงเรียนสถาปัตย์ผลิตนักคิด

The Bartlett School of Architecture, University College London (UCL) ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะผลิตสถาปนิกเพียงอย่างเดียว แต่มีระบบการเรียนการสอนที่เปิดกว้างให้นักศึกษาได้ทดลองและค้นคว้าหาสิ่งที่ชอบและนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมก็ได้ สิ่งหนึ่งที่ได้เปรียบสำหรับโรงเรียนคือที่ตั้งกลางกรุงลอนดอน เมืองระดับโลกที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากทั่วโลกได้สัมผัสและเรียนรู้จากสิ่งที่พบเจอในชีวิตประจำวัน และเนื่องจากโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนด้านวิชาการหลากหลายด้าน จึงมีห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ และe-database ที่รวบรวมหนังสือและบทความเกี่ยวกับความรู้งานวิจัยด้านต่างๆ จากทั่วโลกไว้บริการนักศึกษาอีกด้วย ระบบการศึกษาของอังกฤษมุ่งเน้นไปในด้านงานวิจัยทางด้านวิชาการหรือ AcademicResearch แม้แต่ในโรงเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์เอง นักศึกษาในทุกๆ สาขาวิชาจะต้องผ่านการฝึกเขียนรายงานอย่างถูกต้องการเขียนเป็นหนึ่งในวิธีการหาความรู้เพราะจำเป็นต้องมีการอ่านหนังสือเพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เขียน วิธีการนี้ถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบนำตัวเองหรือSelf-LearningProcessซึ่งนักศึกษาทุกคนต้องขวนขวายเองในหัวข้อที่ตนเองสนใจ โดยมีอาจารย์ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำ ส่วนการเรียนการสอนวิชาต่างๆ นั้นส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสัมมนาซึ่งผู้เรียนจะได้รับรายการของสิ่งที่ต้องอ่านก่อนเรียนแต่ละคาบเพื่อทำความเข้าใจและนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับอาจารย์และเพื่อนๆ ซึ่งเป็นวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพกว่าการฟังและจดจากอาจารย์ผู้สอน การเรียนปริญญาโท หรือ Postgraduate ที่อังกฤษมีระยะเวลาสั้นมาก ส่วนใหญ่จะมีระยะ12เดือนเต็ม ซึ่งช่วงเวลาปิดเทอมจะเป็นช่วงทำรายงานส่งและอ่านหนังสือสอบ ดังนั้นจึงเป็นระยะเวลา 1 ปีที่เข้มข้นมาก เพราะนอกจากจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังต้องทำวิทยานิพนธ์ในระยะเวลาไม่ถึงครึ่งปี ระบบการเรียนการสอนที่นี่เป็นรูปแบบสหพันธวิชาหรือInterdisciplinary เป็นการผสมผสานความรู้หลายๆแขนงเข้าด้วยกัน ทำให้แนวทางการเรียนไม่ได้เจาะจงแค่สถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว แต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเรียน และความสนใจส่วนตัวซึ่งมีส่วนทำให้Bartlett เป็นหนึ่งในโรงเรียนระดับโลกที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ โลกยุคปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นใหม่และหายไปตลอดเวลา ในด้านการศึกษาก็เช่นกัน เนื้อหาของบทเรียนไม่สามารถปรับทันตามกระแสโลกได้ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนอยู่ทุกๆ ปี สิ่งที่สำคัญกว่าคือการหาความรู้และรับข่าวสารให้ทันโลกโดยผู้สอนและผู้เรียนเอง The […]

AUSTRALIAN EMBASSY สถานทูตออสเตรเลีย : สถาปัตยกรรมสีเหลืองทองบนถนนสาทรที่กําลังจะกลายเป็นอดีต

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สัญจรไปมาบนถนนสาทรเราเชื่อว่าคุณต้องเคยสะดุดตาอาคารสีเหลืองทองทรงโมเดิร์น อันเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยซึ่งอยู่คู่ถนนสายนี้มายาวนานกว่า38 ปีและเร็วๆ นี้สถานที่แห่งนี้กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวสอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปข่าวการย้ายสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย และการเตรียมพร้อมย้ายไปยังที่ทำการใหม่ในย่านสวนลุมพินีด้วยเหตุผลด้านการประเมินพื้นที่ของรัฐบาลออสเตรเลียถึงตัวอาคารที่มีอายุยาวนาน รวมไปถึงการประเมินความเหมาะสมกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ได้สร้างความสนใจไม่น้อยในหน้าหนังสือพิมพ์ข่าวออนไลน์รวมไปถึงวงการอสังหาริมทรัพย์เมื่อกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียได้ประกาศขายที่ดินบนถนนสาทรเนื้อที่ประมาณ 7.5ไร่ ASA CREW ร่วมเก็บบันทึกความทรงจำ รวมไปถึงจดบันทึกความรู้ทางสถาปัตยกรรมในครั้งนี้นำโดยทีมอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพและน้องๆนักศึกษา โดยได้รับการต้อนรับพร้อมเปิดบ้านพักอันแสนอบอุ่นของคุณฮานาน โรบิลลิอาร์ด ภริยาเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย   สถานทูตแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดย Mr.Ken Woolley สถาปนิกชั้นนำของออสเตรเลียในขณะนั้น และมีสถาปนิกที่ปรึกษาชาวไทยคือ หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล โดยผสมผสานการออกแบบในยุค 70sร่วมกับความเป็นไทยไว้ด้วยกัน นำแรงบันดาลใจจากแม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯ บ้านไทยที่ยกใต้ถุนสูง รวมไปถึง        สีเหลืองทองอันเป็นแรงบันดาลใจจากวัดไทยการก่อสร้างมีขึ้นเมื่อวันที่17 มิถุนายน 2518 และมีพิธีเปิดอาคาร  อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่26 มกราคม 2523   ในบทบาทของสถาปนิก Mr.Ken Woolley ได้เข้ามาดูพื้นที่ และพบว่าบริเวณของถนนสาทรเมื่อ 38 ปีก่อนนั้นมีปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีหากแก้ปัญหาด้วยการถมที่ดินลงไปจะทำให้ที่ดินรอดจากการถูกน้ำท่วม แต่จะส่งผลกระทบน้ำท่วมไปยังที่อื่นแทน ระหว่างนั้นเอง Mr.Ken Woolley ได้ไปเยี่ยมชมวังสวนผักกาดร่วมกับหม่อมหลวงตรีทศยุทธ จึงนำแนวคิดไทยในการออกแบบ การใช้น้ำในภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์อันโดด      เด่นให้กับสถานที่มาปรับใช้นอกจากช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับสถานที่แล้วยังช่วยรองรับน้ำท่วมได้อีกด้วย […]

ASA CREW อาษาครูและสมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมส่งเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9

วันนี้ ( 26 ตุลาคม 60 ) วารสารอาษาครูได้เป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศพร้อมใจส่งเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมอบวารสาร ASA CREW (อาษาครู) ฉบับพิเศษ “สถาปนิกแห่งแผ่นดิน” เพื่อแบ่งปันเรื่องราวพระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพทางด้านสถาปัตยกรรมและงานช่างของพระองค์ท่าน ให้แก่ประชาชนผู้มาเฝ้ารอ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทั้งนี้ประชานในบริเวณให้ความสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับท่านที่สนใจเรื่องราวพระอัจฉริยภาพด้านงานช่างและสถาปัตยกรรมของพระบาทสมเด็จพระ-ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 สามารถติดตามอ่านได้ที่ วารสาร ASA CREW (อาษาครู) ฉบับพิเศษ “สถาปนิกแห่งแผ่นดิน”  อ่านฉบับออนไลน์ได้ที่ : https://asa.or.th/journal/asa-crew-journal-0160/ .

เบื้องหลังแนวความคิดภาพปก วารสาร ASA Crew ฉบับที่ 6 หลังเงาพระเมรุมาศ

แบบร่างพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร   “หัวใจของการก่อสร้างทั้งหมดรวมอยู่ในกระดาษแผ่นเดียวนี้ ซึ่งมีความพิเศษตรงที่เป็นการนำองค์ความรู้มาวางแผนและคลี่ออกมาเป็นแต่ละส่วน ๆ ทั้งการวางสัดส่วน วางรูปทรง ขนาดของเสา การใช้เสาครุฑซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ รวมถึงความงาม การนำไปใช้ และคติความเชื่อต่าง ๆ โดยมีกรอบวิธีคิด คือ หนึ่ง ทำความคิดให้ออก ว่าเราจะออกแบบเพื่อใคร คำตอบคือ…เพื่อในหลวง รัชกาลที่ ๙  ดังนั้นจึงต้องให้สมพระเกียรติ สอง ทำให้ได้ คือ แปลงจากวิธีคิดออกมาเป็นสัดส่วนเส้นสายให้ได้ สาม ทำให้ถูก คือถูกต้องตามสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามลักษณะงานที่เป็นงานชั่วคราว ไม่ใช่ทำเหมือนจริงไปทั้งหมด และถูกต้องสมพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ และสี่ ทำให้สำเร็จ เราจะออกแบบดีอย่างไร แต่หากไม่ทันเวลา งานนั้นก็ไม่มีประโยชน์ จึงต้องทำอย่างสุดความสามารถ สุดฝีมือ สุดทุกสิ่งทุกอย่าง นั่นคือที่มาที่อยู่ในใจผมในการออกแบบครั้งนี้” ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม กรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ  

1 2 3