NEW FACES : ดึงเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกับ BODINCHAPA ARCHITECTS

  เมื่อพวกเขานำหัวใจสำคัญของภูมิปัญญาพื้นถิ่น มาสรรสร้างเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ติดตามบทสัมภาษณ์และเรื่องราวของ BODINCHAPA ARCHITECTS สตูดิโอสถาปนิกจากอยุธยา กับแนวคิดการนำประโยชน์จากวัสดุที่เรียบง่าย มาผสมผสานกับสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ พร้อมเต็มอิ่มกับแนวคิดสร้างสรรค์ของเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่ในวารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลัก การทำงานของออฟฟิศ Bodinchapa เป็นทีมสถาปนิกที่สนใจงานออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีการศึกษาถึงบริบททางสังคม ความงามที่เป็นธรรมชาติในแบบของมัน โดยเราถ่ายทอดความเป็นพื้นถิ่นในรูปแบบร่วมสมัยประสานภูมิปัญญา การก่อสร้างแบบพื้นถิ่นร่วมกับเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ รวมทั้งประยุกต์ใช้วัสดุที่เรียบง่ายหรือวัสดุพื้นถิ่นมาออกแบบให้เกิดมูลค่าทางมุมมองในอีกรูปแบบหนึ่ง การถ่ายทอดความเป็นพื้นถิ่นในรูปแบบร่วมสมัยเป็นแนวคิดหลักๆ ของเรา ที่เราใช้เป็นมุมมองกับงานและประยุกต์กับการใช้ชีวิตในเรื่องอื่นๆ ด้วย เราสนใจในเรื่องการหยิบจับวัสดุและวิธีการที่เรียบง่ายนำมาประยุกต์ให้มีมุมมองที่หลากหลาย   น่าสนใจและยั่งยืน สำคัญที่สุดคือการนำภูมิปัญญาที่มีของพื้นถิ่นนั้นๆ มาประยุกต์ใช้กับวิธีคิดหรือองค์ประกอบบางอย่างในงาน ซึ่งคำว่าพื้นถิ่นในที่นี้เราอาจจะเอามาตีความในหลายรูปแบบ เช่น การตีความจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ การเลือกใช้วัสดุที่ได้จากในพื้นที่บริบทรอบข้างหรือตีความจากสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเจ้าของอาคารที่เราออกแบบ     ทำไมถึงมาเปิดออฟฟิศที่อยุธยา ช่วงแรกที่เราเริ่มทำงานนั้น สถานที่ทำงานก็อยู่ในกรุงเทพฯ เหมือนออฟฟิศส่วนใหญ่ แต่เราทั้งสองคนเป็นคนต่างจังหวัดและมองว่าหากเราต้องการให้งานออกมาดีในแบบที่เราสนใจ เราควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เรามีความสุขในการทำงาน สิ่งเหล่านั้นจะส่งผลต่อภาษาทางสถาปัตยกรรมของเราด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้นเราสามารถที่จะนั่งทำงานที่ไหนก็ได้ที่เราสบายใจ เราจึงลองตั้งสถานที่ทำงานของเราไว้ที่อยุธยาและเชียงรายซึ่งเป็นบ้านเกิดของเราทั้งสองคน   […]

ASA CREW ISSUE11 เรื่องราวของ 25 สถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง

  จะเป็นอย่างไร ? เมื่อ ASA CREW ชวนเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง มา #ปล่อยของ พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดที่พวกเขามีต่อการทำงาน ติดตามบทสนทนาที่เปี่ยมด้วยความสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความพยายาม และความรักในวิชาชีพของเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่ ซึ่งเราเชื่อว่ากลุ่มคนเหล่านี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพและวงการสถาปัตยกรรมในบ้านเราต่อไป   ผลงานของทั้ง 25 ออฟฟิศ(และสตูดิโอ)ออกแบบ สถาปัตยกรรมหน้าใหม่ที่ถูกรวบรวมไว้นี้ คือภาพบางส่วนของการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของบ้านเรา การคัดเลือกสถาปนิกหน้าใหม่กลุ่มนี้ต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มออฟฟิศที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งในกรุงเทพมหานครและในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่การนำเสนอจึงมี ความจำเป็นที่ต้องตัดออฟฟิศบางกลุ่มออกไป (เพราะมีชื่อเสียงและมีผลงานเป็นที่รู้จักมากกว่า) เพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่กลุ่มที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากเท่าและที่ยังไม่ปรากฏในสื่อมากนัก หรือกระทั่งบางกลุ่มที่ถูกคัดเลือกมาลงในที่นี้ถึงแม้จะเริ่มเป็นที่รู้จักในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ด้วยตัวผลงานและแนวทางการทำงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมและสาธารณะที่น่าสนใจ จึงถูกนำมารวบรวมไว้ในกลุ่มนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม การรวบรวมผลงานของกลุ่มสถาปนิกหน้าใหม่เหล่านี้ ไม่ใช่การจัดทำนามานุกรมหรือทำเนียบนามที่รวบรวมทุกออฟฟิศเปิดใหม่ให้ครบถ้วนไว้ในเล่มเดียวจึงตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์ตรงนี้ และนอกจากนี้ยังมีสถาปนิกอีกกลุ่มที่ขาดหายไปในการรวบรวมครั้งนี้ คือกลุ่มที่ทำงานด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี และด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ซึ่งถ้าเป็นไปได้เราคงจะได้นำผลงานของสถาปนิกกลุ่มที่ขาดตกไปนี้ มานำเสนอเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ขึ้นในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป     เมื่อดูข้อมูลของทั้ง 25 ออฟฟิศ สามารถแบ่ง สถาปนิกออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่เพิ่งผ่านการทำงานมาช่วงสั้นๆ และยังมีอายุไม่เยอะมากนัก กับอีกกลุ่มคือกลุ่มที่เคยผ่านการทำงานมาแล้วพักใหญ่ สั่งสมประสบการณ์มานานแต่เพิ่งได้ออกมาเริ่มต้นเปิดออฟฟิศขึ้นเป็นของตัวเอง ซึ่งพบว่าจำนวนผู้ก่อตั้งในกลุ่มหลังนี้ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 36 – 40 ปี มีจำนวน 12 […]

NEW FACES :ถอดสมการมนุษย์ + สภาพแวดล้อม = สถาปัตยกรรม BLACK PENCILS STUDIO

  ถึงแม้สถาปนิกกลุ่มนี้จะไม่ใช่ซุปเปอร์ฮีโร่ แต่พวกเขาเปี่ยมไปด้วยพลังและความเชื่อที่ว่า “สถาปัตยกรรมมีพลังพิเศษ ที่สามารถเล่าเรื่องของชีวิตให้เป็นเรื่องจริงได้” ตาม ASA CREW มาเปิดบ้าน BLACK PENCILS STUDIO สตูดิโอเล็กๆ แต่มีแนวคิดอันยิ่งใหญ่ พร้อมอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของพวกเขา และเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่จากหลากหลายสตูดิโอได้ที่ NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ แบล็คเพนซิลส์ สตูดิโอ เป็นสตูดิโอขนาดเล็กที่สนใจในกระบวนการและแนวความคิดทางสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงบทสนทนาระหว่างมนุษย์และสภาพแวดล้อม ก่อรูปออกมาเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวกลางของการสื่อสาร ระหว่างมนุษย์และบริบทรอบข้าง เพราะเราเชื่อว่าแม้กระทั่งปูนและอิฐก็สามารถเป็นตัวแทนที่สะท้อนเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ได้ เราให้ความสนใจในการร้อยเรียงบรรยากาศของที่ว่าง ผูกรวมกันเป็นเรื่องราวสะท้อนออกมาเป็นระบบของสถาปัตยกรรม   จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่มีพลังอันพิเศษ สามารถแปลงเรื่องเล่าของชีวิตให้กลายเป็นความจริงหรือสามารถพูดได้ว่า การแปลงเนื้อหาของสถาปัตยกรรมให้กลายเป็นกายภาพที่มนุษย์ สามารถเข้าไปรับรู้สัมผัสได้และถูกร้อยเรียงออกมาเป็นระบบของการก่อสร้าง     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่อง อะไรที่ประทับใจ ที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง หนึ่งในโครงการที่เราออกแบบคือโครงการอากาศเขาใหญ่ จุดเริ่มต้นของการออกแบบเกิดจากความประทับใจในทัศนียภาพที่สวยงามของสภาพแวดล้อมรอบโครงการ เราจึงได้นำเอาภาพเหล่านั้นมาเป็นเนื้อหาหลักของสถาปัตยกรรม โดยที่ทุกๆ พื้นที่ของโครงการสามารถเห็นทัศนียภาพที่มองไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จึงได้ออกแบบอาคารให้มนุษย์รับรู้เสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติรอบข้าง   มองว่าสถาปนิกรุ่นใหม่และวงการปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างกันไหมเมื่อ […]

NEW FACES : เพราะอาคารไม่ใช่แค่ตึก เปิดบ้าน APLUSCON ARCHITECTS

“not just another building” เพียงแค่ประโยคสั้นๆ ก็สามารถส่งต่อความมุ่งมั่น ตั้งใจ และแสดงถึงความเคารพในวิชาชีพสถาปนิกของเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่กลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี พบกับ “ใจบันดาลแรง” และทัศคติในการทำงานที่เต็มไปด้วย “ความสุข” ของ APLUSCON ARCHITECTS ใครที่กำลังคิดว่าสถาปนิกต้องทำงานหนักจนอดหลับอดนอน บทสนทนาต่อไปนี้จะทำให้ภาพของสถาปนิกในหัวของคุณเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ [ A + Con ] = Architects + Constructive จุดเริ่มของแต่ละโครงการเริ่มที่บริบท จากนั้นตีความตามโจทย์ ตามความต้องการลูกค้าที่แตกต่างกันไป (requirement) ศึกษาความเป็นไปได้ด้านกฎหมาย  (regulation) และประสานสามสิ่งสำคัญนี้ด้วยการสร้างสรรค์ความงาม (aesthetic) จากสายตาและประสบการณ์ของผู้ออกแบบ โดยรวมแล้วการออกแบบทั้งหมดจะถูกคลุมด้วยรูปทรงที่ดูเรียบง่าย (simple form) และต้องใช้งานได้ดี (functional) ส่วนหลักการทำงานของบริษัทจะเน้นเรื่องการเคารพทั้งเวลาของลูกค้าและเวลาการทำงานของทีม ลบค่านิยมที่ว่าสถาปนิกต้องนอนดึกหรือต้องทำงานล่วงเวลา เราพยายามสร้างสมดุลการทำงานกับชีวิตส่วนตัวของทุกคนในทีม จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม อาคารไม่ใช่แค่ตึก เพราะฉะนั้นการออกแบบอาคารคือการที่เรารับผิดชอบการใช้งานในอนาคตของอาคารนั้น สิ่งที่เราพูดกันเสมอในทีมคือ “not just another […]

NEW FACES : สตูดิโอ ‘ANONYM’ สร้างสมดุลเพื่อความสุข

“เราเองก็อยากออกแบบงานบ้านและทำให้บ้านเป็นบ้านที่มีความสุข” ทำความรู้จักกับกลุ่มสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง ‘ANONYM’ (แอนโนนีม) กับแนวคิดที่ไม่เพียงแต่สร้างสรรค์อาคารเพื่อความสุขของผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังมุ่ง #สร้างสมดุล ในการทำงานออกแบบ เพื่อให้ได้สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในตัวเอง   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ แนวความคิดหลักๆ ในงานออกแบบ คือการทำให้ผู้ใช้งานมีความสุขในพื้นที่ที่เราออกแบบ ซึ่งอาคารที่ออกแบบได้ดีจะทำให้ผู้ใช้อาคารมีความสุข เราชอบที่จะสังเกตคนที่เข้ามาใช้ในอาคาร เราจะเห็นปฏิกิริยาของคนที่เข้ามาใช้วาดหรือไม่ดี ส่วนเรื่องที่สนใจหลักและหลักการทำงานของออฟฟิศเรา คือการหาความสมดุลของงานออกแบบและการทำงานอย่างมีความสุข     จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเป็นงานที่มีขั้นตอนมากและต้องใช้ระยะเวลานาน เรามองว่าหัวใจและคุณค่าคือ ขั้นตอนต่างๆ กระบวนการทำงานและการหาทีมงานที่เหมาะสมกับงาน เพราะเราเชื่อว่าถ้าเรามีขั้นตอน ทีมงาน และกระบวนการที่ดี มีสมดุลที่เหมาะสมแล้ว ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร เราเชื่อว่างานสถาปัตยกรรมที่ออกมาจะมีคุณค่าในตัวของมันเอง     ในการทำงานที่ผ่านมามีโครงการไหนหรือเรื่อง อะไรที่ประทับใจ ที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง น่าจะเป็นบ้านหลังแรกที่ทำ (บ้านสามเหลี่ยม) เราชอบในความคิดที่ธรรมดา เป็นธรรมชาติแบบง่ายๆ และไม่คาดหวังกับผลงาน ไม่ได้คิดว่างานจะต้องโดดเด่นหรือมีรูปทรงที่เตะตาอะไรทั้งนั้น แค่อยากให้งานออกมาเรียบง่าย ใช้งานได้ดี และผสมผสานงานให้เข้ากับบริบท และพยายามที่จะสะท้อนตัวตนเจ้าของบ้านให้มากที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ออกมาดีมากทั้งผู้อยู่อาศัยและภาพรวมของบ้าน  อีกทั้งมันคือการเริ่มต้นของแอนโนนีมสตูดิโอที่เราเองก็อยากออกแบบงานบ้านและทำให้บ้านเป็นบ้านที่มีความสุข     มองว่าสถาปนิกรุ่นใหม่และวงการปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างกันไหม […]

อาคาร 9 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เรือนไม้เก่ากว่า 70 ปีที่ยังมีลมหายใจ

  Building 9, Burirum Pittayakom School The still breathing 70 years old wood building อาคาร 9 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เรือนไม้เก่ากว่า 70 ปีที่ยังมีลมหายใจ   โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เดิมชื่อ “โรงเรียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์” จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตั้งอยู่บริเวณวัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาทางราชการแผนกมหาดไทยได้ยกศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดกลางเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ภายหลังโรงเรียนได้รับพิจารณาให้ย้ายสถานที่ใหม่มาตั้งบริเวณสวนหม่อน (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเทศบาล 2) และทางราชการได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดบุรีรัมย์ “ศรีบุรีรัมย์” ในปี พ.ศ. 2481 จนถึงปี พ.ศ. 2483 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณ 20,000 […]

บ้านทางเลือกดินและไม้ไผ่ นวัตกรรมธรรมชาติจากอดีตสู่อนาคต

  ปัจจุบันงานออกแบบก่อสร้างบ้านและอาคารมีการนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาง่ายและลดกระบวนการผลิตที่สิ้นเปลืองพลังงานมาใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น แนวคิดการสร้างบ้านดินและบ้านไม้ไผ่จึงมีการออกแบบนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งบ้านที่อยู่อาศัยขนาดเล็กไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ ภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังกลับมาเป็นทางเลือกสำหรับอนาคต ดินและไม้ไผ่ถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในเกือบทุกพื้นที่และมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ ซึ่งถ้าอาคารที่ต้องการนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากก็อยู่ในวิสัยที่จะฝึกฝนให้สามารถทำด้วยตัวเองได้     บ้านดิน      บ้านดินถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาดั้งเดิมในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีเทคนิควิธีในการก่อสร้างที่หลากหลาย ต่อมาได้รับการศึกษาพัฒนาจนได้รับการรองรับด้วยกฎหมายในหลายประเทศ โดยมีการพัฒนาส่วนผสม เช่น การผสมปูนขาวหรือคอนกรีต เพื่อทำให้สามารถทนต่อการกัดเซาะของฝนได้ดีมากขึ้น เทคนิคการสร้างบ้านดินที่นิยมใช้มีอยู่ 2 วิธี คือการทำเป็นอิฐดินดิบและการใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินผสมฟาง ดินที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการสร้างบ้านดินคือ ดินที่มีดินเหนียวเพียงพอที่จะทนต่อการกัดเซาะของน้ำ (ฝน) และมีทรายมากพอที่จะช่วยไม่ให้เกิดการแตกร้าว (จากการที่มีดินเหนียวมากเกินไป) ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยการนำดินที่มีอยู่ในพื้นที่มาผสมน้ำเล็กน้อย นวดและปั้นให้เป็นก้อน ขนาดเท่ากับกำปั้นแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ถ้ามีรอยแตกร้าวแสดงว่าควรจะผสมทรายเพิ่ม ถ้าไม่แตกร้าวให้ทดลองนำไปจุ่มในน้ำ ถ้าละลายอย่างรวดเร็วแสดงว่ามีทรายมากเกินไป ในการทำอิฐดินดิบจะมีการผสมแกลบ แล้วนำไปใส่ไม้แบบโดยเมื่อเทดินใส่แล้วจะทำการยกไม้แบบออกทันที เพื่อปล่อยให้อิฐแห้งก่อนจะนำไปใช้ ส่วนในการใช้โครงไม้นั้นจะต้องมีการทำผนังโครงสร้างตีเป็นตาตาราง (ให้มีช่องว่างพอที่จะลอดแขนเข้าไปทำงานได้ทั้งสองด้าน) จากนั้นนำดินที่ผสมฟางเส้นยาวมาวางพาดแล้วลูบผิวให้เรียบ ข้อดีของการทำอิฐดินดิบคือ สามารถทยอยทำอิฐสะสมไว้ก่อนได้ และใช้เวลาไม่มากในช่วงก่อสร้าง สามารถใช้เป็นผนังหรือโครงสร้างรับน้ำหนักได้ ในขณะที่การใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินนั้นจำเป็นต้องมีโครงสร้างหลักที่จะรับน้ำหนักหลังคา (ซึ่งอาจจะเป็นเหล็กคอนกรีต อิฐดินดิบ หรือวัสดุอื่นก็ได้) แต่ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามบ้านดินยังคงมีข้อด้อย คือแพ้น้ำที่อาจท่วมขังในระยะยาว การออกแบบจึงควรทำฐานรากและมีชายคาที่ยื่นยาว เพื่อป้องกันความชื้นจากดินและฝนที่จะปะทะกับผนังดินโดยตรง รวมทั้งไม่สามารถสร้างบนพื้นที่ซึ่งอาจมีน้ำท่วมขัง ยกเว้นการผสมก่อสร้างด้วยดินผสมคอนกรีตในอัตราสว่นประมาณ 7-10 เปอรเ์ซ็นต์   […]

เมื่อฉันไปเรียนสถาปัตย์ที่ฟินแลนด์ ประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก

  ก่อนอื่นขอเกริ่นว่าฉันเลือกเรียน Construction and Real Estate Management (ConREM) ซึ่งเป็นคอร์สของหาวิทยาลัย HTW Berlin เปิดร่วมกับ Helsinki Metropolia จัดระบบการเรียนการสอนประเทศละ 1 ปี หลักสูตรรวม 2 ปี โดยเริ่มเทอม 1-2 ที่เฮลซิงกิในปีแรกและย้ายมาเรียนเทอม 3-4 ที่เบอร์ลินในปีถัดมา จากเดิมที่ HTW Berlin มีเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้หรือคณาจารย์กับทาง Helsinki Metropolia เท่านั้น ถ้าพูดถึงภาพรวมของสาขา ConREM จะเน้นไปในด้าน Life Cycle Management, Real Estate Development, Construction and Real Estate Technology, Business and Management Science, International and Intercultural Collaboration, Renovation […]

ลูกอีสานวันนี้ เรื่องเล่าก่อนจะเป็นนิทรรศการแรกที่ TCDC ขอนแก่น

    ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบขอนแก่น หรือ TCDC Khon Kaen สาขาแห่งที่สอง (สาขาแรกคือ TCDC Chiang Mai) จะเปิดให้บริการที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์แห่งภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วยบริการหลัก 3 ด้าน คือ การเป็นศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ การเป็นศูนย์วัสดุท้องถิ่นอีสาน และการพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดการนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจพร้อมกับการเปิดนิทรรศการ “Look Isan Now: ลูกอีสานวันนี้” ด้วย หลายบรรทัดด้านล่างนี้คือเรื่องราวร่วมๆ หนึ่งปีก่อนวันเปิดนิทรรศการจากภัณฑารักษ์ และนักออกแบบนิทรรศการ     นิทรรศการแรกของ TCDC ขอนแก่น แต่เป็นนิทรรศการเรื่อง “อีสาน” ครั้งที่สองของ TCDC   “ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 13 ปีที่แล้ว  “กันดารคือสินทรัพย์ :อีสาน” เป็นนิทรรศการแรกเมื่อครั้งTCDC เริ่มต้นเปิดให้บริการ เราจะหยิบจับเรื่องราวในตอนนั้นกลับมาเล่าใหมเ่หมือนเป็นภาคต่อใน พ.ศ. นี้ดีไหมคือสิ่งที่ทีมภัณฑารักษต์องกลับไปทำการบ้าน”   เมื่อต้องเล่าเรื่องอีสานให้คนอีสานฟัง “ความท้าทายครั้งนี้คือเราจะเล่าเรื่องที่ลูกหลานชาวอีสานพบเห็นทุกวันจนเกือบจะเคยชินออกมาอย่างไรให้น่าสนใจ ต่างจากนิทรรศการครั้งที่แล้วที่เล่าเรื่องคนอีสาน ให้คนต่างถิ่นอย่างคนกรุงเทพฯ ฟังประมาณกลางปี 2560 […]

REWIND TO THE PAST AT BANGKOKIAN MUSEUM ย้อนเวลาหาอดีตที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

ผู้เขียนเคยได้ยินชื่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตบางรัก หรือในอีกชื่อคือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี2550 จากการที่มีผู้เสนอชื่อเข้ารับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จากนั้นทีมที่เข้าไปถ่ายทําภาพนิ่งก็เล่าย้ำอีกครั้งว่า ที่นี่ดีจริงๆ น่าจะพาเด็กเรียนอนุรักษ์มาดูสักครั้ง แต่ด้วยความที่เห็นว่าอยู่ใกล้แค่นี้ทําให้หาเวลามาดูไม่ได้สักทีจนเมื่อมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้ขอให้เข้ามาช่วยประเมินเพื่อขอรับรางวัลอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมจาก UNESCO Asia-Pacific Awards จึงมีโอกาสเข้ามาพิสูจน์ด้วยตาตนเอง หลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์มาร่วม 5 ปี สิ่งที่เห็นไม่ได้ทําให้ผิดหวังไปจากที่ได้ยินได้ฟังมาไม่ว่าจะเป็นทําเลที่ตั้งที่เคยเข้าออกได้จากทางคลองหน้าบ้าน ซึ่งแปรสภาพมาเป็นถนนในภายหลัง ผนวกความร่มรื่นด้วยพรรณไม้พื้นบ้านที่นิยมปลูกตามบ้านทั่วไป ตลอดจนตัวเรือนหลักทั้ง 3 หลังที่มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมตามสมัยนิยม ที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนเมืองในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งดูสงบและสบายในสภาวะอากาศเมืองร้อนเช่นนี้ ส่วนที่เกินจากความคาดหมายคือประวัติความเป็นมาของเรือนหลังเล็กที่ย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวแทนของชาวบางกอกในยุคนั้นเนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่มีคนอย่างน้อย 3 ชั่วคน และ 3 เชื้อชาติได้มาใช้ชีวิตผูกพันกัน ณ อาคารเหล่านี้ โดยมีสังคมเมืองบางกอกยุครัตนโกสินทร์เป็นฉากหลัง   นางอิน ตันบุ้นเต็ก คุณยายของเจ้าของเรือนมีเชื้อสายจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากทํามาหากินอยู่ที่เมืองสยามตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนนางสอาง สุรวดีผู้เป็นมารดาได้                แต่งงานครั้งแรกกับนายแพทย์ฟรานซีส […]

1 2 3