Featured Story

อาจารย์นันทพล จั่นเงิน ประธานจัดงานสถาปนิก’60 [siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widgets_ImageGrid_Widget”][/siteorigin_widget] ASA CREW: ในฐานะประธานจัดงานงานสถาปนิก’60 อยากให้เล่าถึงแนวคิดหลักของงานในปีนี้ ทำไมต้อง “บ้าน บ้าน” Reconsidering Dwelling อ.นันทพล : เรามองว่า ‘บ้าน’ เป็นหน่วยย่อยของสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของคนทั่วไป การสร้างหรือเปลี่ยนแปลงอะไร การเริ่มจากหน่วยเล็กๆ อย่างบ้านที่ออกแบบมาดี วางแผนดี จะส่งผลให้ภาพรวมหรือชุมชนระดับเมืองออกมาดีมีคุณภาพ ในขณะเดียวกัน ‘บ้าน’ น่าจะเป็นเครื่องมือทางสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดที่สถาปนิกจะสามารถสื่อสารกับประชาชนคนทั่วไปได้ ซึ่งตรงนี้เป็นนโยบายของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์ เราอยากให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจบทบาทของสถาปนิกมากขึ้น โดยมีเครื่องมือคือ ‘บ้าน’ ที่จะทำให้ประชาชนและสถาปนิกได้มาเจอกัน นอกจากนั้นเรามองว่า ‘บ้าน’ น่าจะทำให้สถาปนิกรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมกับสมาคมฯ มากขึ้น เพราะสถาปนิกแทบทุกคน ได้โครงการแรกๆ ของการทำงานส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการออกแบบบ้าน ส่วนที่มาของชื่อ ‘บ้าน บ้าน’ เราอยากได้ชื่อแบบไทยๆ เป็นคำซ้ำที่ทำให้เกิดการตีความได้หลายอย่าง นอกจากหมายถึงบ้านแล้ว อาจหมายถึง บ้านหลายๆ หลัง สื่อถึงชุมชน หรือการเล่นกับคำซ้ำที่เราคุ้นเคยก็อาจจะหมายถึง ความสบายๆ ง่ายๆ ไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมาก แต่อยู่ได้มีความสุข […]

ASA Admin

ASA Admin

15 เมษายน 2560

“ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Building and Environments Design Recommendation for All)”

“ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Building and Environments Design Recommendation for All)” เรียน สมาชิกฯ ด้วยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำ “ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Building and Environments Design Recommendation for All)” เพื่อเผยแพร่ต่อกลุ่มสถาปนิก และนิสิตนักศึกษา ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบเป็นแนวทางการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคนได้ สมาคมฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลทางเทคนิคเพื่อเป็นคู่มือในการนำไปออกแบบอาคารสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับทุกคนนี้ จะสามารถเป็นรากฐานที่ดีในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อความแตกต่างหลากหลายทางกายภาพของคนทุกคนในสังคม และ จะช่วยสร้างความก้าวหน้าให้กับการพัฒนางานด้านออกแบบสถาปัตยกรรมของประเทศไทยให้ทัดเทียมสากลโลกยิ่งขึ้น และในอนาคต คณะทำงานตั้งใจจะพัฒนา ปรับปรุง ข้อแนะนำการออกแบบให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยท่านสามารถ download คู่มือฉบับนี้ ได้จาก link ด้านล่างนี้ DOWNLOAD

1 6 7