NEW FACES : เส้นทางของ ‘SUBPER’ สถาปนิกที่เปรียบตนเองเป็นนักวิ่งมาราธอน

  แม้ SUBPER จะแนะนำตัวเองว่าพวกเขาทำงานออกแบบขนาดเล็กๆ ทว่าเส้นทางของการเป็นสถาปนิกของพวกเขาไม่เล็กอย่างที่คิดเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีเรื่องราวอันน่าสนใจ (แถมยังสนุกสนาน) มาบอกเล่าให้คนรักงานออกแบบได้ติดตามกัน สำหรับใครที่กำลังค้นหาแรงบันดาลใจในการทำงานออกแบบ ให้เรื่องราวของ SUBPER เป็นแรงบันดาลใจของคุณได้เลย วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง….     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ SUBPER เป็นบริษัทสถาปนิกที่เน้นทำงานออกแบบงานที่มีขนาดเล็กๆ แต่ตั้งใจให้งานมีรูปแบบที่ชัดเจน สะท้อน character ของลูกค้า ตามแนวคิดของ SUBPER ที่มาจากคำว่า “supersub” หมายถึงนักกีฬาหรือผู้เล่นตัวสำรองที่ลงมาแทน แล้วเปลี่ยนให้เกมส์กลับมาชนะได้   ทำไมถึงมาเปิดออฟฟิศที่สงขลา เริ่มตั้งแต่ตอนเรียนปริญญาตรีแล้วว่าไม่อยากขึ้นกรงุเทพฯ เพราะเราเชื่อว่าถ้าเราตั้งใจจริงแล้ว การอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถหาความรู้ได้เท่าๆ กับคนที่เรียนอยู่กรุงเทพฯ จบมาเลยตั้งใจที่จะอยู่หาดใหญ่ เพราะชอบกลับบ้านที่ยะลา ไม่ชอบที่จะต้องเหนื่อยกับการเดินทางในกรุงเทพฯ   ความได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันกับออฟฟิศที่เปิดที่กรุงเทพฯ อย่างไร เรานั่งเครื่องบินไปกรุงเทพฯ ใช้เวลาชั่วโมงครึ่งเร็วกว่าการนั่งรถกลับบ้านช่วงเวลาเลิกงานในกรุงเทพฯ เราถือว่าถ้ามีงานกิจกรรมดีๆ ที่ กรุงเทพฯ เราสามารถไปได้ง่ายและถ้าเราอยากกลับบ้านที่ยะลา เราก็ใช้เวลาชั่วโมงครึ่งเช่นกัน เราชอบบรรยากาศแบบนี้มากกว่า ต่อให้งานที่นี่จะเล็กน้อยกว่ากรุงเทพฯ […]

NEW FACES : STUDIO PHASARN กับแนวคิดผสมผสานจุดเด่นของงานสถาปัตย์อย่างลงตัว

  “ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้สมบูรณ์ดีพร้อมไปทุกอย่าง หรือย่ำแย่ไปเสียหมด” นำมาสู่การสอดประสานจุดเด่นของศาสตร์ด้านต่างๆ ในวงการสถาปัตยกรรมและงานออกแบบเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อนำไปสู่ชิ้นงานที่มีคุณคาและสร้างมิติใหม่ให้แก่วงการสถาปนิก สัมผัสแนวคิดการทำงานและเรื่องราวของสตูดิโอน้องใหม่ แต่มีแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ได้ที่ วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ จากหลักคิดที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้สมบูรณ์ดีพร้อมไปทุกอย่าง หรือย่ำแย่ไปเสียหมด” นำมาซึ่งหลักการทำงานที่จะวิเคราะห์ข้อดีของแต่ละสิ่งมาผสมผสานและถ่วงความสมดุลซึ่งกันและกัน เช่น การผสานกันระหว่างความเก่ากับความใหม่ เสน่ห์ในรูปทรงของงานในอดีตกับความเรียบง่ายและเทคโนโลยีในปัจจุบันสถาปัตยกรรมไทย และพื้นถิ่นกับความทันสมัยรวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นวัสดุพื้นฐาน แต่นำมาจัดเรียงด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายแต่มีพลัง จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม คุณค่าของสถาปัตยกรรมคือการตอบสนองความต้องการใช้งานอย่างเหมาะสมและสามารถถ่ายทอดความคิดของสถาปนิก ไปสู่การรับรู้ในมิติต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสที่มีจนประทับลงสู่ใจของผู้ใช้งาน   ในการทำงานที่ผ่านมามีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง งานออกแบบที่เพิ่งเสร็จไปล่าสุดคือบ้านอิงกายที่จังหวัดอ่างทองนับเป็นการกลับมาออกแบบบ้านพักอาศัยอีกครั้งหลังจากการออกแบบงานสาธารณะมาหลายงาน ทำให้มีความ “หมายมั่น ปั้นมือ” เป็นพิเศษ เนื่องจากมี “ของ” ที่สะสมไว้มาก ทั้งแรงบันดาลใจ ความประทับใจ และองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมอันได้จากการลงภาคสนาม ไปทัศนศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหลายแห่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับระหว่างการทำงานเจ้าของบ้านให้อิสระและความไว้วางใจ ในการออกแบบอย่างเต็มที่ อีกทั้งได้ผู้รับเหมาที่รู้มือกันทำให้สถาปนิกทำงานอย่างเต็มแรงใจ ทำให้ได้เห็นว่าองค์ประกอบส่วนที่สำคัญ เมื่อลงตัวแล้วงานมักจะออกมาดี   มองว่าสถาปนิกรุ่นใหม่และวงการปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างกันไหมเมื่อ […]

NEW FACES : S PACE STUDIO ก้าวเล็กๆ ที่มั่นคงสู่สถาปัตยกรรมทรงคุณค่า

  พบกับเรื่องราวการก่อตั้งสตูดิโอสถาปนิกรุ่นใหม่ที่มีจุดเริ่มต้นจากศูนย์… พร้อมงานก่อสร้างชิ้นแรกที่มีราคา 75,000.- ก่อนจะขยับขยายชิ้นงานเรื่อยจนเป็น S PACE STUDIO ที่นั่งสนทนากับ ASA CREW ในปัจจุบัน ติดตามเรื่องราวความประทับใจ และมุมมองที่มีต่อวงการก่อสร้างช่างพื้นบ้าน ช่างท้องถิ่น และหลากหลายประสบการณ์ทำงานที่ทำให้พวกเขาเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้ที่ วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ เราเน้นความพอดีแล้วก็มีจุดศูนย์กลางเป็นลูกค้า ผมเองให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก แต่ว่าไม่ได้ยึด character ว่าต้องมีตัวตนเป็นของเรา เราสามารถมี character ของเราในแบบที่มันควรจะเป็น แต่เราจะให้ความสำคัญกับความต้องการ ลูกค้าเป็นหลัก ลูกค้าจะต้องมีความต้องการหรือรสนิยมที่มันใกล้เคียงกับเรา เพื่อช่วยให้วิธีคิดในการทำงานปรับเข้าหากันตรงกัน นอกจากนี้ผมชอบความเป็นพื้นถิ่นไม่ว่าจะเป็น space หรือว่าการใช้งานในรูปแบบที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้   ความยาก ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่เจอในการทำออฟฟิศตนเองและการแก้ปัญหาหรือผ่านพ้นมันมาได้อย่างไร ตัวผมเองเริ่มต้นจากศูนย์เลย ไม่ได้มีเครดิตของงานที่เคยทำมาก่อน และไม่เคยมีงานในขอนแก่นคือเริ่มจากงานชิ้นเล็กมาก งานชิ้นแรกมีค่า ก่อสร้าง 75,000 บาท […]

NEW FACES : SKARN CHAIYAWAT, RINA SHINDO AND WITEE WISUTHUMPORN

  เพราะจุดมุ่งหมายเดียวกัน จึงทำให้พวกเขารวมตัวเพื่อใช้ความรู้ทางสถาปัตยกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้คน กำเนิดเป็นสตูดิโอสถาปนิกน้องใหม่ซึ่งก่อตั้งในปี 2016 พบกับอีกบทบาทหนึ่งของการทำงาน ที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงความสวยงามเท่านั้น แต่ยังใส่ใจทรัพยากรแวดล้อม พร้อมนำมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11  NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ เป็นการรวมตัวของสถาปนิกที่มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้คนด้วยสถาปัตยกรรมผ่านกระบวนการออกแบบที่ทำความเข้าใจบริบทในแง่มุมต่างๆ และให้ความสำคัญกับคุณภาพของงานเชิงรูปธรรม ตั้งแต่ในภาพใหญ่ไปจนถึงรายละเอียด ในปี พ.ศ. 2559 นางอรวรรณ จัยวัฒน์ มีความประสงค์ที่จะบริจาคเงินส่วนตัวสร้างหอพักสามเณร วัดป่าพุทธนิมต จังหวัดอุดรธานี จึงขอให้นายสการ จัยวัฒน์ นางสาวรินะ ชินโด และนายวิธี วิสุทธิอัมพร ช่วยออกแบบซึ่งเป็นการรวมตัวกันครั้งแรกเพื่อออกแบบโครงการนี้   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักาการทำงานของออฟฟิศ เราสนใจงานออกแบบที่มีศักยภาพในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของผู้คน เชื่อว่าการทำความเข้าใจ กลุ่มคนใช้งานจริงมีความสำคัญต่อกระบวนการออกแบบและความเอาใจใส่ในรายละเอียดของงานในเชิงรูปธรรมมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อวิถีชีวิต สภาพจิตใจและความรู้สึกของผู้คน     ลักษณะงานที่เน้น/สนใจ หรือประเภทอาคารที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สนใจงานที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนไปในทางที่ดี ไม่จำกัดประเภทของอาคารผู้ว่าจ้างหรืองบประมาณ มีความสนใจการทดลองใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในแง่การใช้งาน ความคุ้มค่าในการลงทุนและสุนทรียภาพ   จากการทำงานที่ผ่านมา […]

NEW FACES : พลิกวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่สตูดิโอ SHER MAKER

  ASA CREW ชวนคุณเปิดสตูดิโอสถาปนิกที่จังหวัดเชียงใหม่ SHER MAKER สตูดิโอขนาดเล็กที่มีจุดเริ่มต้นจากงาน Craft พร้อมนำความชื่นชอบนี้มาผสมผสานกับองค์คงามทางวิชาชีพสถาปนิก และเชื่อมโยงกับความสามารถของช่างพื้นถิ่นและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงใหม่ ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ พวกเราทั้งคู่มีความสนใจด้านงาน craft ภายในที่มีช่างท้องถิ่นและช่างฝีมือซึ่งทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายแต่ละโครงการ Sher Maker เป็นสตูดิโอออกแบบและปฏิบัติงานขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ประกอบด้วย ส่วน design studio และ workshop โดยเน้นกระบวนการการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน ในเชิงสหวิทยาการ เน้นเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ ทางการออกแบบเข้าด้วยกันและเรียนรู้ พัฒนา ทักษะร่วมกับช่างท้องถิ่น   ทำไมถึงมาเปิดออฟฟิศที่เชียงใหม่ เป็นคนต่างจังหวัดอยู่แล้วทั้งคู่เกิดที่จังหวัดเชียงรายและมีความผูกพันกับจังหวัดเชียงใหม่ อยากเห็นสถาปัตยกรรมดีๆ ที่ไม่กระจุกตัวอยู่แค่ในเมืองหลวงของประเทศเท่านั้น อยากให้เกิดทัศนคติที่ว่างานออกแบบนั้นมีความสำคัญช่วยสนับสนุนภาพลักษณ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองได้   ความได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันกับออฟฟิศที่เปิดที่กรุงเทพฯ อย่างไร ข้อได้เปรียบคือต่างจังหวัดมีวัฒนธรรมทางเลือกมากมายให้หยิบมาใช้ ผู้คนอะลุ้มอล่วยให้กับวิถีชีวิตมากกว่าช่างก่อสร้าง ช่างฝีมือ มีวิธีคิดเฉพาะทางอันเป็นแหล่งเรียนรู้ไม่รู้จบ นอกจากนี้คุณภาพชีวิตดีกว่าอยู่กรุงเทพมาก ข้อเสียเปรียบคือความ หลากหลายของโจทย์งานมีไม่มากนัก และการตีมูลค่าทางวิชาชีพที่ต่ำ […]

NEW FACES : ออกแบบ-สร้าง-กำหนดพื้นที่กับ POONSOOK ARCHITECTS

  “งานสถาปัตยกรรมไม่มีถูกหรือผิด ทุกความคิดเห็นเป็นไปได้ถ้ามีเหตุและผลรองรับ” พูดคุยกับสตูดิโอสถาปนิกน้องใหม่ไฟแรง POONSOOK ARCHITECTS พร้อมล้วงลึกแนวคิด “ออกแบบ-สร้าง-กำหนดพื้นที่” อันก่อให้เกิดคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมทีใช้พื้นที่อันจำกัดได้เกิดประโยชน์สูงสุด ติดคามความสุขกับการทำอาชีพในฝันของพวกเขาได้แล้ววันนี้ ที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ เป็นความตั้งใจของผมตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยแล้วที่จะก่อตั้งสำนักงานสถาปนิก เพื่อที่จะได้สามารถผลักดันแนวความคิดหรือสิ่งที่สนใจในการออกแบบให้ออกมาเป็นงานสถาปัตยกรรมได้   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ งานสถาปัตยกรรมไม่มีถูกหรือผิด ทุกความคิดเห็นเป็นไปได้ถ้ามีเหตุและผลรองรับ   จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม คือการออกแบบ-สร้าง-กำหนด ‘พื้นที่’ โดยคุณค่าของสถาปัตยกรรมอยู่ที่การตอบสนองการใช้สอยของพื้นที่ที่เกิดขึ้น     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง โครงการ Sun Plaza 2 ซึ่งเราได้มีโอกาสทำงานร่วมกับบริษัท Normal Studio เริ่มแรกเราได้รับโจทย์จากลูกค้ามาเป็นกระดาษ A4 2 แผ่น เรา เริ่มต้นโครงการโดยมีกรอบเงื่อนไขของเวลาที่จำกัดมาก จากโปรแกรมเดิมที่จะสร้างอาคารขึ้นมาใหม่กลายเป็นงานปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ท้ายที่สุดเราสามารถทำงานบนข้อจำกัดต่างๆ ได้ลุล่วง และได้ผลลัพธ์ที่เป็นที่พอใจ   […]

NEW FACES : JAIBAAN STUDIO จากสถาปัตยกรรมชุมชนสู่สะพานแห่งความรู้

ASA CREW ขอพาทุกคนขึ้นเหนือ บุกสตูดิโอสถาปนิกกันที่จังหวัดเชียงใหม่ เรียนรู้การทำงานออกแบบ ที่เปรียบเสมือนสะพานนำสู่ความรู้อย่างไร้ขีดจำกัด เพราะเราเชื่อว่า…เมื่อคุณทำงานสถาปนิก คุณจะได้ศึกษา ทดลอง ตั้งคำถาม รวมไปถึงหาคำตอบ พบกับความท้าทายทั้งหมด ที่เกิดขึ้นกับ “ใจบ้านสตูดิโอ” ได้แล้ววันนี้ ติดตามบทสนทนาที่ให้ข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจแก่สถาปนิกรุ่นใหม่ได้ที่ :  วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ “ใจบ้านสตูดิโอ” ให้บริการออกแบบ วางผัง และให้คำปรึกษางานทางด้านออกแบบชุมชน สถาปัตย์ ภูมิสถาปัตย์ และพื้นที่เกษตรกรรม โดยเชื่อว่างานออกแบบและวางผังที่ดีนั้นมีส่วนสำคัญในการดูแลโลกและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เป็นสตูดิโอ ออกแบบที่พัฒนามาจากงานสถาปัตยกรรมชุมชนของกลุ่ม “คนใจบ้าน” ที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2551 แบ่งประเภทงานออกเป็น 3 กลุ่ม คืองานออกแบบ สถาปัตยกรรม งานออกแบบภูมิทัศน์และงานออกแบบเมืองที่ทำร่วมกับชุมชนและภาคีต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีความตั้งใจในการส่งต่อและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผ่านการอบรมและการจัดเวิร์คช็อป เราทำงานบนปรัชญาการออกแบบและร่วมสร้างระหว่างธรรมชาติและผู้คนแบบ co-create design เพื่อให้งานสถาปัตยกรรมและกระบวนการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเป็นเสมือนสะพานในความรู้ที่เรียนรู้มา เราได้ทำ […]

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จากมุมมองที่เป็นส่วนขยาย

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ต่างกับ งานสถาปัตยกรรมทั่วไปอย่างไร.. ASA CREW ขอชวนคุณมาร่วมพูดคุยตามประสาคนรักงานสถาปัตยกรรม พบกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์อาวุโสและสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเด็น #สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แน่นอนว่าความละเมียดละไมที่เป็นส่วนหนึ่งกับภูมิปัญญาของสถาปัตยกรรมประเภทนี้จะทำให้คุณหลงรัก ‘ความดั้งเดิม’ อันสุดแสนคลาสสิกอย่างไม่รู้ตัว “เวลาที่เราลงไปในชุมชนในหมู่บ้าน เจ้าของบ้านหรือว่าคนที่นั่นเขาจะรู้สึกกับสถานที่ของเขาสถาปัตยกรรมของเขาว่ามันเป็นธรรมดา มันไม่ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเลย แต่พวกเราต่างหากที่กลับตื่นเต้นสนใจ อย่างหนึ่งก็คือ พื้นฐานทางความคิด อีกอย่างหนึ่งก็คือความเคยชินที่เขาอยู่ที่ตรงนั้น จนมองเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ธรรมดา” สนทนาโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศาสตราจารย์ ดร.วีระ อินพันทัง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ สถาปนิก / ผู้ก่อตั้ง Walllasia สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ Feature Editor วารสาร ASA CREW ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมของ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้ที่ วารสารอาษาครู 10  อ่านฉบับออนไลน์ได้แล้ววันนี้ คลิก : https://bit.ly/2QRwT1G ติดตามวิดีโอจาก ASA CREW CHANNEL คลิก : https://youtu.be/Ui5_Ux2n0-Q

บ้านทางเลือกดินและไม้ไผ่ นวัตกรรมธรรมชาติจากอดีตสู่อนาคต

  ปัจจุบันงานออกแบบก่อสร้างบ้านและอาคารมีการนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาง่ายและลดกระบวนการผลิตที่สิ้นเปลืองพลังงานมาใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น แนวคิดการสร้างบ้านดินและบ้านไม้ไผ่จึงมีการออกแบบนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งบ้านที่อยู่อาศัยขนาดเล็กไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ ภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังกลับมาเป็นทางเลือกสำหรับอนาคต ดินและไม้ไผ่ถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในเกือบทุกพื้นที่และมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ ซึ่งถ้าอาคารที่ต้องการนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากก็อยู่ในวิสัยที่จะฝึกฝนให้สามารถทำด้วยตัวเองได้     บ้านดิน      บ้านดินถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาดั้งเดิมในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีเทคนิควิธีในการก่อสร้างที่หลากหลาย ต่อมาได้รับการศึกษาพัฒนาจนได้รับการรองรับด้วยกฎหมายในหลายประเทศ โดยมีการพัฒนาส่วนผสม เช่น การผสมปูนขาวหรือคอนกรีต เพื่อทำให้สามารถทนต่อการกัดเซาะของฝนได้ดีมากขึ้น เทคนิคการสร้างบ้านดินที่นิยมใช้มีอยู่ 2 วิธี คือการทำเป็นอิฐดินดิบและการใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินผสมฟาง ดินที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการสร้างบ้านดินคือ ดินที่มีดินเหนียวเพียงพอที่จะทนต่อการกัดเซาะของน้ำ (ฝน) และมีทรายมากพอที่จะช่วยไม่ให้เกิดการแตกร้าว (จากการที่มีดินเหนียวมากเกินไป) ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยการนำดินที่มีอยู่ในพื้นที่มาผสมน้ำเล็กน้อย นวดและปั้นให้เป็นก้อน ขนาดเท่ากับกำปั้นแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ถ้ามีรอยแตกร้าวแสดงว่าควรจะผสมทรายเพิ่ม ถ้าไม่แตกร้าวให้ทดลองนำไปจุ่มในน้ำ ถ้าละลายอย่างรวดเร็วแสดงว่ามีทรายมากเกินไป ในการทำอิฐดินดิบจะมีการผสมแกลบ แล้วนำไปใส่ไม้แบบโดยเมื่อเทดินใส่แล้วจะทำการยกไม้แบบออกทันที เพื่อปล่อยให้อิฐแห้งก่อนจะนำไปใช้ ส่วนในการใช้โครงไม้นั้นจะต้องมีการทำผนังโครงสร้างตีเป็นตาตาราง (ให้มีช่องว่างพอที่จะลอดแขนเข้าไปทำงานได้ทั้งสองด้าน) จากนั้นนำดินที่ผสมฟางเส้นยาวมาวางพาดแล้วลูบผิวให้เรียบ ข้อดีของการทำอิฐดินดิบคือ สามารถทยอยทำอิฐสะสมไว้ก่อนได้ และใช้เวลาไม่มากในช่วงก่อสร้าง สามารถใช้เป็นผนังหรือโครงสร้างรับน้ำหนักได้ ในขณะที่การใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินนั้นจำเป็นต้องมีโครงสร้างหลักที่จะรับน้ำหนักหลังคา (ซึ่งอาจจะเป็นเหล็กคอนกรีต อิฐดินดิบ หรือวัสดุอื่นก็ได้) แต่ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามบ้านดินยังคงมีข้อด้อย คือแพ้น้ำที่อาจท่วมขังในระยะยาว การออกแบบจึงควรทำฐานรากและมีชายคาที่ยื่นยาว เพื่อป้องกันความชื้นจากดินและฝนที่จะปะทะกับผนังดินโดยตรง รวมทั้งไม่สามารถสร้างบนพื้นที่ซึ่งอาจมีน้ำท่วมขัง ยกเว้นการผสมก่อสร้างด้วยดินผสมคอนกรีตในอัตราสว่นประมาณ 7-10 เปอรเ์ซ็นต์   […]

เมื่อฉันไปเรียนสถาปัตย์ที่ฟินแลนด์ ประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก

  ก่อนอื่นขอเกริ่นว่าฉันเลือกเรียน Construction and Real Estate Management (ConREM) ซึ่งเป็นคอร์สของหาวิทยาลัย HTW Berlin เปิดร่วมกับ Helsinki Metropolia จัดระบบการเรียนการสอนประเทศละ 1 ปี หลักสูตรรวม 2 ปี โดยเริ่มเทอม 1-2 ที่เฮลซิงกิในปีแรกและย้ายมาเรียนเทอม 3-4 ที่เบอร์ลินในปีถัดมา จากเดิมที่ HTW Berlin มีเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้หรือคณาจารย์กับทาง Helsinki Metropolia เท่านั้น ถ้าพูดถึงภาพรวมของสาขา ConREM จะเน้นไปในด้าน Life Cycle Management, Real Estate Development, Construction and Real Estate Technology, Business and Management Science, International and Intercultural Collaboration, Renovation […]

1 2 3