REWIND TO THE PAST AT BANGKOKIAN MUSEUM ย้อนเวลาหาอดีตที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

ผู้เขียนเคยได้ยินชื่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตบางรัก หรือในอีกชื่อคือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี2550 จากการที่มีผู้เสนอชื่อเข้ารับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จากนั้นทีมที่เข้าไปถ่ายทําภาพนิ่งก็เล่าย้ำอีกครั้งว่า ที่นี่ดีจริงๆ น่าจะพาเด็กเรียนอนุรักษ์มาดูสักครั้ง แต่ด้วยความที่เห็นว่าอยู่ใกล้แค่นี้ทําให้หาเวลามาดูไม่ได้สักทีจนเมื่อมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้ขอให้เข้ามาช่วยประเมินเพื่อขอรับรางวัลอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมจาก UNESCO Asia-Pacific Awards จึงมีโอกาสเข้ามาพิสูจน์ด้วยตาตนเอง หลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์มาร่วม 5 ปี สิ่งที่เห็นไม่ได้ทําให้ผิดหวังไปจากที่ได้ยินได้ฟังมาไม่ว่าจะเป็นทําเลที่ตั้งที่เคยเข้าออกได้จากทางคลองหน้าบ้าน ซึ่งแปรสภาพมาเป็นถนนในภายหลัง ผนวกความร่มรื่นด้วยพรรณไม้พื้นบ้านที่นิยมปลูกตามบ้านทั่วไป ตลอดจนตัวเรือนหลักทั้ง 3 หลังที่มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมตามสมัยนิยม ที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนเมืองในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งดูสงบและสบายในสภาวะอากาศเมืองร้อนเช่นนี้ ส่วนที่เกินจากความคาดหมายคือประวัติความเป็นมาของเรือนหลังเล็กที่ย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวแทนของชาวบางกอกในยุคนั้นเนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่มีคนอย่างน้อย 3 ชั่วคน และ 3 เชื้อชาติได้มาใช้ชีวิตผูกพันกัน ณ อาคารเหล่านี้ โดยมีสังคมเมืองบางกอกยุครัตนโกสินทร์เป็นฉากหลัง   นางอิน ตันบุ้นเต็ก คุณยายของเจ้าของเรือนมีเชื้อสายจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากทํามาหากินอยู่ที่เมืองสยามตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนนางสอาง สุรวดีผู้เป็นมารดาได้                แต่งงานครั้งแรกกับนายแพทย์ฟรานซีส […]

Art for Happiness in Chalit Nakpawan Style ศิลปะสร้างสุข ในแบบ ชลิต นาคพะวัน

ชลิต นาคพะวัน ผู้อำนวยการ Chalit Art Project & Gallery และศิลปินแนวนามธรรมชื่อดัง อารมรณ์ดีที่มีลายเส้นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้เทคนิคแป้งทัลคัมและยางพาราใน      โทนสีสดใสจนได้ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากแต่ในการสอนศิลปะชลิตกลับไม่ได้ให้ผู้เรียนต้องสร้างงานตามลายเส้นของเขา ในทางกลับกันเขาได้ให้ผู้เรียนได้ค้นหาตัวตนที่แท้จริง แล้วถ่ายทอดผ่านเส้น สี ที่แปรงลวดลาย จนกลายเป็นงานศิลปะในรูปแบบเฉพาะตนที่แตกต่างออกไป ไม่เพียงเท่านี้ ในอีกด้านเขายังเป็นเสมือนจิตแพทย์ ผู้ใช้ศิลปะเป็นสื่อในการดึงความคิด ความรู้สึกปมทั้งด้านดีและร้ายของผู้เรียนออกมา แล้วค่อยๆ คลี่คลายปมนั้นด้วยการพูดคุยและใช้ศิลปะในการบำบัด “การสอนศิลปะคือการดึงคาแรกเตอร์หรือตัวตนของผู้เรียนออกมา ไม่ใช่ให้ผู้เรียนทำตามผู้สอน คาแรกเตอร์ คือประสบการณ์ สิ่งที่ชอบ จิตใต้สำนึก ฯลฯ ซึ่งความเป็นตัวตนที่ดีสามารถสร้างสิ่งที่ดีและมีความจริงแท้ได้ ผมผสมผสานความรู้บวกศิลปะ ใช้ความงามทางศิลปะ ทัศนศิลป์ เพื่อสื่อสารกับผู้คน สังคม เวลาสอนศิลปะผมจะให้หัวข้อในการวาดภาพ เมื่อวาดเสร็จก็จะให้ทุกคนอธิบายภาพของตัวเองและถามความคิดเห็นของเพื่อนๆด้วย ซึ่งในภาพแต่ละภาพจะสะท้อนปมบางอย่างออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ความสุข ความทุกข์ ความรัก          ความโกรธ ความเกลียด ความห่วงใย โดยจะพบปมด้านไม่ดีมากกว่า ผมก็จะยกตัวอย่างจากการอ่านบ้าง ประสบการณ์ของตัวเองบ้างมาพูดคุย แลกเปลี่ยนกันแล้วค่อยๆ บอก […]

APERTURE HOUSE บ้าน-ช่อง-แสง

ช่องเปิด คือ องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบอาคาร นอกจากการใช้งานในแง่แสงสว่างและการระบายอากาศแล้ว บ่อยครั้งสถาปนิกยังคํานึงถึงการออกแบบช่องเปิดที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในอาคารให้เชื่อมโยงกัน   บ้าน-ช่อง-แสง (หรือที่คุ้นหูในชื่อบ้านเปา) การันตีด้วย รางวัล Gold Medal Awards ของสมาคมสถาปนิกสยาม (ASA) ประจำปี 2559 คุณชนาสติ ชลศึกษ์ จาก Stu/D/O Architects บริษัทผู้ออกแบบได้ขยายความเกี่ยวกับช่องเปิดที่เน้นในเรื่องแสงและเงา อันเป็นเอกลกัษณ์ของบ้านหลังนี้และกลายเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง “ถ้าถามถึงคอนเซ็ปต์โดยรวมของบ้าน เริ่มต้นมาจากเจ้าของบ้านเองซึ่งเป็นภูมิสถาปนิกและเป็นดีไซเนอร์ที่ เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วย เราจึงแตกความคิดออกมาในเรื่องเฟรม มุมมอง แสงและเงา เลยนึกถึงศัพท์ที่ใช้ในวงการถ่ายภาพคือ Aperture หมายถึง รูรับแสงของกล้องถ่ายรูป และคําว่า ‘ช่องแสง’ ยังเอามาเล่นกับคําว่า‘บ้านช่อง’เลยเป็นที่มาของรูปแบบอาคาร คือ เล่นกับช่องว่างและช่องเปิด”   “ส่วนรายละเอียดของช่องแสงที่ว่านี้เรานึกถึงโบสถ์ รงช็อง(Ronchamp) ของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เลอ คอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier) ที่ออกแบบช่องเปิดให้เป็น Cube ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู คือ กรอบด้านนอกจะแคบและขยายกว้างขึ้นเมื่อเข้าสู่ภายใน เพื่อให้แสงเวลากลางวันที่สาดเข้ามาในโบสถ์มีเอ็กเฟ็กต์ที่นุ่มนวล แต่โปรเจ็กต์ของเรานี้กลับกัน ช่องเปิดที่เป็น Cube […]

Behind the Building – Behind the Picture ข้างหลังตึก ข้างหลังภาพ

เมื่อต้นปี 2560 แฮชแท็ก#SavingThaiModernArchitecture บนกน้าฟีดเฟซบุ๊คได้ทำให้บรรดา ฅ ฅนรักตึก ใจเต้นตึกๆ กันพอสมควร แฮชแท็กนี้เกิดขึ้นเมื่อเพจ Foto_momo โดย วีรพล สิงห์น้อย หรือ “เบียร์ สิงห์น้อย” ช่างภาพสถาปัตยกรรมได้บันทึกความโมเดิร์นของอาคารเก่าช่วงศตวรรษ 2549-2510 (ยุค 50s-70s) ผ่านภาพถ่าย แม้วันนี้บริบททางสังคมและความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยได้ทำให้บางอาคารหล่นหายไปตามกาลเวลา จากความคุ้นเคย จากความช่างสังเกต จากโจทย์ของหน้าที่การงาน จากความประทับใจและหลงรักรูปทรงอาคารเหล่านี้ที่ยังคงความสวยงามอยู่ จากการค้นคว้าข้อมูลประทับใจในแง่มุมการออกแบบของสถาปนิกชั้นครูล้วนเป็นเหตุผลให้ “เบียร์ สิงห์น้อย” ตัดสินใจกดชัตเตอร์เก็บภาพอาคารเหล่านี้ไว้เป็นความทรงจำ “อาคารปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร หรือตึกฟักทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นอาคารแรกที่ทำให้ผมอยากเก็บภาพตึกอื่นๆ ต่อเป็นซีรี่ย์ ตึกฟักทองเปรียบเหมือนไอดอลของ ม.อ. ก็ว่าได้ ถ้าดูตามหลักสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม จะเห็นว่าอาคารเหมือนรูปชามทรงคว่ำ มีกลีบเป็นรูปผลฟักทอง ความพิเศษของการก่อสร้างคือ การถ่ายเทน้ำหนักจากจุดศูนย์กลางของอาคาร ซึ่งอาคารนี้สร้างขึ้นในช่วงปี 2509-2510 นับว่าประทับใจมากในยุคนั้น ภาพนี้สำเร็จได้ผ่านการถ่ายด้วยโดรน” FYI : ความสวยงามของตึกฟักทองในยุคนั้นทำให้มีกองถ่ายภาพยนตร์ 2 เรื่อง เลือกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำ คือเรื่อง จินตะหรา (2516) และวงศคณาญาติ […]

MODERN COLONIAL โมเดิร์น โคโลเนียล

D HOSTEL BANGKOK ผลงานของ Klickken Studio เป็นโฮสเทลที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในย่านข้าวสาร อันเป็นที่รู้กันว่าคือเมืองหลวงของเหล่าแบคแพคเกอร์ การออกแบบโฮสเทลแห่งนี้ได้รับโจทย์มาว่าอยากได้อาคารที่หน้าตาของมันดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ซึ่งแถวที่ตั้งของโครงการจะมีสถาปัตยกรรมในสไตล์โคโลเนียลอยู่ค่อนข้างมาก จึงนำาเอาเส้นสายสไตล์โคโลเนียลมาสร้างขึ้นใหม่แต่จะไม่ปั้นปูนในแบบร้อยปีที่แล้วเพื่อสร้างอาคารในปัจจุบันที่ยัง คงเป็นสไตล์โคโลเนียล ผู้ออกแบบจึงตัดสินใจใช้ดีเทลเหล็กเป็นองค์ประกอบแทน “Facade หรือผนังด้านหน้าอาคาร ถูกออกแบบให้เป็นตึกโคโลเนียลสีขาวในเฟรมสีดำ เราพยายามเปลี่ยนฉากหน้าของตึกให้กลายเป็นงานดรอว์อิ้ง เราสร้างกระดาษกราฟขึ้นมาเหมือนกับเวลาทำางานใน AutoCAD ตัวดีเทลเน้นโครงเหล็กง่ายๆ ด้วยการใช้เหล็กขนาดต่างๆ มาดัดเป็นรูปทรงด้วยเทคนิควิธีการเบื้องต้นอย่างการเชื่อมเหล็ก ดัดเหล็ก โดยใช้ขนาดของเหล็กเป็นตัวแทนความเข้มของเส้นดินสอ เหล็กหนาก็แทนเส้นเข้ม ส่วนเหล็กเส้นเล็กก็แทนเส้นบาง นอกจากนี้ฟังก์ชั่นของแผงเหล็กชุดนี้ยังติดไฟเพื่อที่จะสามารถเปิดใช้งานในเวลากลางคืน พร้อมทั้งให้แสงสว่างกับบันไดหนีไฟที่อยู่ด้านหลังแผงเหล็กชุดนี้อีกด้วย”

เบื้องหลังแนวความคิดภาพปก วารสาร ASA Crew ฉบับที่ 6 หลังเงาพระเมรุมาศ

แบบร่างพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร   “หัวใจของการก่อสร้างทั้งหมดรวมอยู่ในกระดาษแผ่นเดียวนี้ ซึ่งมีความพิเศษตรงที่เป็นการนำองค์ความรู้มาวางแผนและคลี่ออกมาเป็นแต่ละส่วน ๆ ทั้งการวางสัดส่วน วางรูปทรง ขนาดของเสา การใช้เสาครุฑซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ รวมถึงความงาม การนำไปใช้ และคติความเชื่อต่าง ๆ โดยมีกรอบวิธีคิด คือ หนึ่ง ทำความคิดให้ออก ว่าเราจะออกแบบเพื่อใคร คำตอบคือ…เพื่อในหลวง รัชกาลที่ ๙  ดังนั้นจึงต้องให้สมพระเกียรติ สอง ทำให้ได้ คือ แปลงจากวิธีคิดออกมาเป็นสัดส่วนเส้นสายให้ได้ สาม ทำให้ถูก คือถูกต้องตามสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามลักษณะงานที่เป็นงานชั่วคราว ไม่ใช่ทำเหมือนจริงไปทั้งหมด และถูกต้องสมพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ และสี่ ทำให้สำเร็จ เราจะออกแบบดีอย่างไร แต่หากไม่ทันเวลา งานนั้นก็ไม่มีประโยชน์ จึงต้องทำอย่างสุดความสามารถ สุดฝีมือ สุดทุกสิ่งทุกอย่าง นั่นคือที่มาที่อยู่ในใจผมในการออกแบบครั้งนี้” ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม กรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ  

AUSTRALIAN EMBASSY สถานทูตออสเตรเลีย : สถาปัตยกรรมสีเหลืองทองบนถนนสาทรที่กำลังจะกลายเป็นอดีต

MAY-JUNE 2017 – ISSUE 04 ASACREW JOURNAL หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สัญจรไปมาบนถนนสาทร เราเชื่อว่าคุณต้องเคยสะดุดตาอาคารสีเหลืองทองทรง โมเดิร์น อันเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่ถนนสายนี้มายาวนานกว่า 38 ปี และเร็วๆ นี้ สถานที่แห่งนี้กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับตัวสอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป   ข่าวการย้ายสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย และการเตรียมพร้อมย้ายไปยังที่ทำการใหม่ในย่านสวนลุมพินี ด้วยเหตุผลด้านการประเมินพื้นที่ของรัฐบาลออสเตรเลีย ถึงตัวอาคารที่มีอายุยาวนาน รวมไปถึงการประเมินความเหมาะสมกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ได้สร้างความสนใจไม่น้อยในหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวออนไลน์ รวมไปถึงวงการอสังหาริมทรัพย์ เมื่อกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียได้ประกาศขายที่ดินบนถนนสาทร เนื้อที่ประมาณ 7.5 ไร่ asaCrew ร่วมเก็บบันทึกความทรงจำ รวมไปถึงจดบันทึกความรู้ทางสถาปัตยกรรมในครั้งนี้ นำโดยทีมอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และน้องๆ นักศึกษา โดยได้รับการต้อนรับพร้อมเปิดบ้านพักอันแสนอบอุ่นของคุณฮานาน โรบิลลิอาร์ด ภริยาเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย สถานทูตแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดย Mr.Ken Woolley สถาปนิกชั้นนำของออสเตรเลียในขณะนั้น และมีสถาปนิกที่ปรึกษาชาวไทยคือ หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล โดยผสมผสานการออกแบบในยุค 70s ร่วมกับความเป็นไทยไว้ด้วยกัน นำแรงบันดาลใจจากแม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯ บ้านไทยที่ยกใต้ถุนสูง รวมไปถึงสีเหลืองทอง อันเป็นแรงบันดาลใจจากวัดไทย การก่อสร้างมีขึ้นเมื่อวันที่ […]

เจาะลึกประเด็นป้อมมหากาฬ – สะพานเกียกกาย กับนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

MAY-JUNE 2017 – ISSUE 04 ASACREW JOURNAL เกิดอะไรขึ้นกับชุมชนป้อมมหากาฬ เขาประท้วงกันทำไม สะพานเกียกกายมีประเด็นอะไรให้ต้องสนใจ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์มีจุดยืนอย่างไรกับสองโครงการนี้ asaCrew ฉบับนี้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์อัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้ติดตามและเข้าร่วมประชุมทั้งสองโครงการนี้มาโดยตลอด เพื่อขอทราบถึงที่มาที่ไปและเบื้องหลังเบื้องลึกที่หลายคนอาจยังไม่รู้ และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ชุมชนป้อมมหากาฬแห่งนี้มีหลักฐานบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานชุมชนเก่าบริเวณตามแนวกำแพงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์กว่า 100 ปีที่ยังคงเหลืออยู่ asaCrew : ก่อนอื่นอยากขอให้อาจารย์ช่วยเล่าที่มาคร่าวๆ เรื่องป้อมมหากาฬให้ฟังสักนิดครับ อ.อัชชพล : ประเด็นนี้เป็นเรื่องของที่ดินประมาณ 5 ไร่บริเวณป้อมมหากาฬที่ถูกโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของกรุงเทพมหานครในปี 2503 ต่อมาในปี 2535 รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือเพื่อรื้อย้ายอาคารบ้านเรือนซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยบริเวณป้อมมหากาฬนั้นมาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ ตามแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และเป็นตัวอย่างสุดท้ายที่เราจะได้เห็นโบราณสถานอยู่คู่กับชุมชน การรื้อถอนจึงเป็นเหมือนการทำลายประวัติศาสตร์ ซึ่งทางสมาคมฯ เห็นว่าควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา แต่ก็ยังสามารถทำเป็นพื้นที่สาธารณะได้ตามเจตจำนงเดิม asaCrew : ทำอย่างไรครับ อ.อัชชพล : ทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ เสนอให้ทำเป็น “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต” ในรูปแบบมรดกวัฒนธรรมที่ยั่งยืน เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมและศึกษาวิถีชุมชนพื้นถิ่นของป้อมมหากาฬ เรื่องนี้ต้องเริ่มเล่าจากที่อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้ลงพื้นที่ป้อมมหากาฬเพื่อสำรวจคุณค่าของชุมชน พบว่าในจำนวนบ้านทั้งหมด […]

ข้อคิดและบทเรียนจากกรณีโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย

ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว | อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และอุปนายกฝ่ายกิจกรรมเมืองและนโยบายสาธารณะ สมาคมสถาปนิกสยามฯ บทความฉบับเผยแพร่ใน นสพ.เดลินิวส์ 16 เมษายน 2554. ท่ามกลางข่าวที่มีผู้แจ้งมายังสมาคมสถาปนิกสยามฯ เรื่องคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย จะทำการรื้ออาคารโบสถ์ (พระวิหาร) เก่าอายุ 97 ปี หลังวันที่ 24 เมษายน ศกนี้ เพื่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ฉลองวาระครบรอบ 100 ปี และเพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการรองรับคนที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 คน เป็น 1,000 คน รวมทั้งอ้างถึงความชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจซ่อมแซมได้ต่อไปแล้ว ทั้งที่เมื่อ 2 ปีก่อนกรมศิลปากรได้เคยเข้าไปตรวจสอบแล้วมีความเห็นสรุปว่า “…สามารถดำเนินการอนุรักษ์ โดยเสริมความมั่นคงด้วยการเพิ่มเสาและฐานรากเพื่อรับน้ำหนักโครงหลังคา และตัดความชื้นที่ผนัง ตลอดจนปรับซ่อมอาคารให้มีความมั่นคงยืนยาวต่อไปได้” โดยข่าวล่าสุดได้ยืนยันว่าโครงสร้างโบสถ์เก่าหลังนี้ยังสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ที่มีศูนย์กลางอยู่ในพม่า เมื่อ 24 มีนาคม ที่เพิ่งผ่านไปได้อย่างมั่นคง โดยปรากฏความเสียหายเพียงรอยร้าวของผิวปูนใหม่ที่กระเทาะจากการซ่อมแซมผิดวิธีในอดีตเท่านั้น   […]

1 2 3