ASA CREW

NEW FACES : เพราะ CLOUD-FLOOR เชื่อว่าพวกเขาสามารถสร้างเมืองในฝันได้

  “ออกแบบอาคารแล้วอย่าลืมออกแบบเมืองที่เราอยู่ด้วย” นี่คือเสียงสะท้อนบางส่วนจาก CLOUD-FLOOR บริษัทสถาปนิกที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบและพัฒนาพื้นที่สาธารณะ หลายคนอาจคุ้นหน้าคุ้นตากับพวกเขาไม่น้อย หากเราพูดถึงผลงาน #ป้ายรถเมล์ในฝัน จากกิจกรรม Workshop ของ ASA CAN Ten for Ninety 2017 ไอเดียออกแบบป้ายรถเมล์สารพัดประโยชน์ที่สอดรับไปกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย ร่วมพูดคุยเพื่อค้นหาพลังในการออกแบบเมืองของสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรงกลุ่มนี้ในวารสารอาษาครู ฉบับ 11     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ บริษัท คลาวด์ฟลอร์ จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นจากความตั้งใจในการใช้ความรู้และความสามารถในการออกแบบ เพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์องค์ประกอบทางกายภาพของเมือง ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ความสำคัญกับคนและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจหลัก จุดเริ่มต้นคือการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานที่ Studio Schwittala ที่เมืองเบอร์ลิน ซึ่งให้ความสนใจกับเรื่องการออกแบบเมืองและการอยู่อาศัยในอนาคต   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักทำงานของออฟฟิศ การใช้นวัตกรรมพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเมืองด้วยการออกแบบอย่างมีกระบวนการ โดยไม่จำกัดประเภทของผลลัพธ์ซึ่งเป็นไปได้ทั้งสถาปัตยกรรม ศิลปะ ผลิตภัณฑ์      งานบราการหรืองานสื่อประเภทต่างๆ     ในการทำงานที่ผ่านมามีโครงการไหนหรือเรื่อง อะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง กิจกรรม workshop ร่วมกับ ASA CAN […]

ASA Admin

ASA Admin

16 มีนาคม 2562

NEW FACES : ดึงเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกับ BODINCHAPA ARCHITECTS

  เมื่อพวกเขานำหัวใจสำคัญของภูมิปัญญาพื้นถิ่น มาสรรสร้างเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ติดตามบทสัมภาษณ์และเรื่องราวของ BODINCHAPA ARCHITECTS สตูดิโอสถาปนิกจากอยุธยา กับแนวคิดการนำประโยชน์จากวัสดุที่เรียบง่าย มาผสมผสานกับสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ พร้อมเต็มอิ่มกับแนวคิดสร้างสรรค์ของเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่ในวารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลัก การทำงานของออฟฟิศ Bodinchapa เป็นทีมสถาปนิกที่สนใจงานออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีการศึกษาถึงบริบททางสังคม ความงามที่เป็นธรรมชาติในแบบของมัน โดยเราถ่ายทอดความเป็นพื้นถิ่นในรูปแบบร่วมสมัยประสานภูมิปัญญา การก่อสร้างแบบพื้นถิ่นร่วมกับเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ รวมทั้งประยุกต์ใช้วัสดุที่เรียบง่ายหรือวัสดุพื้นถิ่นมาออกแบบให้เกิดมูลค่าทางมุมมองในอีกรูปแบบหนึ่ง การถ่ายทอดความเป็นพื้นถิ่นในรูปแบบร่วมสมัยเป็นแนวคิดหลักๆ ของเรา ที่เราใช้เป็นมุมมองกับงานและประยุกต์กับการใช้ชีวิตในเรื่องอื่นๆ ด้วย เราสนใจในเรื่องการหยิบจับวัสดุและวิธีการที่เรียบง่ายนำมาประยุกต์ให้มีมุมมองที่หลากหลาย   น่าสนใจและยั่งยืน สำคัญที่สุดคือการนำภูมิปัญญาที่มีของพื้นถิ่นนั้นๆ มาประยุกต์ใช้กับวิธีคิดหรือองค์ประกอบบางอย่างในงาน ซึ่งคำว่าพื้นถิ่นในที่นี้เราอาจจะเอามาตีความในหลายรูปแบบ เช่น การตีความจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ การเลือกใช้วัสดุที่ได้จากในพื้นที่บริบทรอบข้างหรือตีความจากสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเจ้าของอาคารที่เราออกแบบ     ทำไมถึงมาเปิดออฟฟิศที่อยุธยา ช่วงแรกที่เราเริ่มทำงานนั้น สถานที่ทำงานก็อยู่ในกรุงเทพฯ เหมือนออฟฟิศส่วนใหญ่ แต่เราทั้งสองคนเป็นคนต่างจังหวัดและมองว่าหากเราต้องการให้งานออกมาดีในแบบที่เราสนใจ เราควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เรามีความสุขในการทำงาน สิ่งเหล่านั้นจะส่งผลต่อภาษาทางสถาปัตยกรรมของเราด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้นเราสามารถที่จะนั่งทำงานที่ไหนก็ได้ที่เราสบายใจ เราจึงลองตั้งสถานที่ทำงานของเราไว้ที่อยุธยาและเชียงรายซึ่งเป็นบ้านเกิดของเราทั้งสองคน   […]

ASA CREW ISSUE11 เรื่องราวของ 25 สถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง

  จะเป็นอย่างไร ? เมื่อ ASA CREW ชวนเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง มา #ปล่อยของ พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดที่พวกเขามีต่อการทำงาน ติดตามบทสนทนาที่เปี่ยมด้วยความสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความพยายาม และความรักในวิชาชีพของเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่ ซึ่งเราเชื่อว่ากลุ่มคนเหล่านี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพและวงการสถาปัตยกรรมในบ้านเราต่อไป   ผลงานของทั้ง 25 ออฟฟิศ(และสตูดิโอ)ออกแบบ สถาปัตยกรรมหน้าใหม่ที่ถูกรวบรวมไว้นี้ คือภาพบางส่วนของการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของบ้านเรา การคัดเลือกสถาปนิกหน้าใหม่กลุ่มนี้ต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มออฟฟิศที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งในกรุงเทพมหานครและในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่การนำเสนอจึงมี ความจำเป็นที่ต้องตัดออฟฟิศบางกลุ่มออกไป (เพราะมีชื่อเสียงและมีผลงานเป็นที่รู้จักมากกว่า) เพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่กลุ่มที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากเท่าและที่ยังไม่ปรากฏในสื่อมากนัก หรือกระทั่งบางกลุ่มที่ถูกคัดเลือกมาลงในที่นี้ถึงแม้จะเริ่มเป็นที่รู้จักในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ด้วยตัวผลงานและแนวทางการทำงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมและสาธารณะที่น่าสนใจ จึงถูกนำมารวบรวมไว้ในกลุ่มนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม การรวบรวมผลงานของกลุ่มสถาปนิกหน้าใหม่เหล่านี้ ไม่ใช่การจัดทำนามานุกรมหรือทำเนียบนามที่รวบรวมทุกออฟฟิศเปิดใหม่ให้ครบถ้วนไว้ในเล่มเดียวจึงตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์ตรงนี้ และนอกจากนี้ยังมีสถาปนิกอีกกลุ่มที่ขาดหายไปในการรวบรวมครั้งนี้ คือกลุ่มที่ทำงานด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี และด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ซึ่งถ้าเป็นไปได้เราคงจะได้นำผลงานของสถาปนิกกลุ่มที่ขาดตกไปนี้ มานำเสนอเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ขึ้นในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป     เมื่อดูข้อมูลของทั้ง 25 ออฟฟิศ สามารถแบ่ง สถาปนิกออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่เพิ่งผ่านการทำงานมาช่วงสั้นๆ และยังมีอายุไม่เยอะมากนัก กับอีกกลุ่มคือกลุ่มที่เคยผ่านการทำงานมาแล้วพักใหญ่ สั่งสมประสบการณ์มานานแต่เพิ่งได้ออกมาเริ่มต้นเปิดออฟฟิศขึ้นเป็นของตัวเอง ซึ่งพบว่าจำนวนผู้ก่อตั้งในกลุ่มหลังนี้ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 36 – 40 ปี มีจำนวน 12 […]

NEW FACES :ถอดสมการมนุษย์ + สภาพแวดล้อม = สถาปัตยกรรม BLACK PENCILS STUDIO

  ถึงแม้สถาปนิกกลุ่มนี้จะไม่ใช่ซุปเปอร์ฮีโร่ แต่พวกเขาเปี่ยมไปด้วยพลังและความเชื่อที่ว่า “สถาปัตยกรรมมีพลังพิเศษ ที่สามารถเล่าเรื่องของชีวิตให้เป็นเรื่องจริงได้” ตาม ASA CREW มาเปิดบ้าน BLACK PENCILS STUDIO สตูดิโอเล็กๆ แต่มีแนวคิดอันยิ่งใหญ่ พร้อมอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของพวกเขา และเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่จากหลากหลายสตูดิโอได้ที่ NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ แบล็คเพนซิลส์ สตูดิโอ เป็นสตูดิโอขนาดเล็กที่สนใจในกระบวนการและแนวความคิดทางสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงบทสนทนาระหว่างมนุษย์และสภาพแวดล้อม ก่อรูปออกมาเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวกลางของการสื่อสาร ระหว่างมนุษย์และบริบทรอบข้าง เพราะเราเชื่อว่าแม้กระทั่งปูนและอิฐก็สามารถเป็นตัวแทนที่สะท้อนเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ได้ เราให้ความสนใจในการร้อยเรียงบรรยากาศของที่ว่าง ผูกรวมกันเป็นเรื่องราวสะท้อนออกมาเป็นระบบของสถาปัตยกรรม   จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่มีพลังอันพิเศษ สามารถแปลงเรื่องเล่าของชีวิตให้กลายเป็นความจริงหรือสามารถพูดได้ว่า การแปลงเนื้อหาของสถาปัตยกรรมให้กลายเป็นกายภาพที่มนุษย์ สามารถเข้าไปรับรู้สัมผัสได้และถูกร้อยเรียงออกมาเป็นระบบของการก่อสร้าง     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่อง อะไรที่ประทับใจ ที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง หนึ่งในโครงการที่เราออกแบบคือโครงการอากาศเขาใหญ่ จุดเริ่มต้นของการออกแบบเกิดจากความประทับใจในทัศนียภาพที่สวยงามของสภาพแวดล้อมรอบโครงการ เราจึงได้นำเอาภาพเหล่านั้นมาเป็นเนื้อหาหลักของสถาปัตยกรรม โดยที่ทุกๆ พื้นที่ของโครงการสามารถเห็นทัศนียภาพที่มองไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จึงได้ออกแบบอาคารให้มนุษย์รับรู้เสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติรอบข้าง   มองว่าสถาปนิกรุ่นใหม่และวงการปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างกันไหมเมื่อ […]

NEW FACES : เพราะอาคารไม่ใช่แค่ตึก เปิดบ้าน APLUSCON ARCHITECTS

“not just another building” เพียงแค่ประโยคสั้นๆ ก็สามารถส่งต่อความมุ่งมั่น ตั้งใจ และแสดงถึงความเคารพในวิชาชีพสถาปนิกของเหล่าสถาปนิกหน้าใหม่กลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี พบกับ “ใจบันดาลแรง” และทัศคติในการทำงานที่เต็มไปด้วย “ความสุข” ของ APLUSCON ARCHITECTS ใครที่กำลังคิดว่าสถาปนิกต้องทำงานหนักจนอดหลับอดนอน บทสนทนาต่อไปนี้จะทำให้ภาพของสถาปนิกในหัวของคุณเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ [ A + Con ] = Architects + Constructive จุดเริ่มของแต่ละโครงการเริ่มที่บริบท จากนั้นตีความตามโจทย์ ตามความต้องการลูกค้าที่แตกต่างกันไป (requirement) ศึกษาความเป็นไปได้ด้านกฎหมาย  (regulation) และประสานสามสิ่งสำคัญนี้ด้วยการสร้างสรรค์ความงาม (aesthetic) จากสายตาและประสบการณ์ของผู้ออกแบบ โดยรวมแล้วการออกแบบทั้งหมดจะถูกคลุมด้วยรูปทรงที่ดูเรียบง่าย (simple form) และต้องใช้งานได้ดี (functional) ส่วนหลักการทำงานของบริษัทจะเน้นเรื่องการเคารพทั้งเวลาของลูกค้าและเวลาการทำงานของทีม ลบค่านิยมที่ว่าสถาปนิกต้องนอนดึกหรือต้องทำงานล่วงเวลา เราพยายามสร้างสมดุลการทำงานกับชีวิตส่วนตัวของทุกคนในทีม จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม อาคารไม่ใช่แค่ตึก เพราะฉะนั้นการออกแบบอาคารคือการที่เรารับผิดชอบการใช้งานในอนาคตของอาคารนั้น สิ่งที่เราพูดกันเสมอในทีมคือ “not just another […]

NEW FACES : สตูดิโอ ‘ANONYM’ สร้างสมดุลเพื่อความสุข

“เราเองก็อยากออกแบบงานบ้านและทำให้บ้านเป็นบ้านที่มีความสุข” ทำความรู้จักกับกลุ่มสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง ‘ANONYM’ (แอนโนนีม) กับแนวคิดที่ไม่เพียงแต่สร้างสรรค์อาคารเพื่อความสุขของผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังมุ่ง #สร้างสมดุล ในการทำงานออกแบบ เพื่อให้ได้สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในตัวเอง   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ แนวความคิดหลักๆ ในงานออกแบบ คือการทำให้ผู้ใช้งานมีความสุขในพื้นที่ที่เราออกแบบ ซึ่งอาคารที่ออกแบบได้ดีจะทำให้ผู้ใช้อาคารมีความสุข เราชอบที่จะสังเกตคนที่เข้ามาใช้ในอาคาร เราจะเห็นปฏิกิริยาของคนที่เข้ามาใช้วาดหรือไม่ดี ส่วนเรื่องที่สนใจหลักและหลักการทำงานของออฟฟิศเรา คือการหาความสมดุลของงานออกแบบและการทำงานอย่างมีความสุข     จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเป็นงานที่มีขั้นตอนมากและต้องใช้ระยะเวลานาน เรามองว่าหัวใจและคุณค่าคือ ขั้นตอนต่างๆ กระบวนการทำงานและการหาทีมงานที่เหมาะสมกับงาน เพราะเราเชื่อว่าถ้าเรามีขั้นตอน ทีมงาน และกระบวนการที่ดี มีสมดุลที่เหมาะสมแล้ว ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร เราเชื่อว่างานสถาปัตยกรรมที่ออกมาจะมีคุณค่าในตัวของมันเอง     ในการทำงานที่ผ่านมามีโครงการไหนหรือเรื่อง อะไรที่ประทับใจ ที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง น่าจะเป็นบ้านหลังแรกที่ทำ (บ้านสามเหลี่ยม) เราชอบในความคิดที่ธรรมดา เป็นธรรมชาติแบบง่ายๆ และไม่คาดหวังกับผลงาน ไม่ได้คิดว่างานจะต้องโดดเด่นหรือมีรูปทรงที่เตะตาอะไรทั้งนั้น แค่อยากให้งานออกมาเรียบง่าย ใช้งานได้ดี และผสมผสานงานให้เข้ากับบริบท และพยายามที่จะสะท้อนตัวตนเจ้าของบ้านให้มากที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ออกมาดีมากทั้งผู้อยู่อาศัยและภาพรวมของบ้าน  อีกทั้งมันคือการเริ่มต้นของแอนโนนีมสตูดิโอที่เราเองก็อยากออกแบบงานบ้านและทำให้บ้านเป็นบ้านที่มีความสุข     มองว่าสถาปนิกรุ่นใหม่และวงการปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างกันไหม […]

ASA CREW Journal Vol.11/2019

   ก่อนอื่นผมขอขอบคุณคุณผู้อ่านทุกท่าน สำหรับการตอบรับวารสาร ASA CREW โฉมใหม่ที่ถือว่าน่าปลื้มใจ และเป็นกำลังใจให้ทีมงานมากทีเดียว สำหรับฉบับนี้เรายังคงเลือกเฟ้นเนื้อหาที่น่าสนใจมานำเสนอกันเช่นเคย เรื่องเด่นประจำ ฉบับเราหยิบเอาเรื่องราวออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ที่น่าจับตามานำเสนอ รวมทั้งเชิญสถาปนิกรุ่นใหม่มานั่งล้อมวงคุยกัน เพื่อสะท้อนภาพ สถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งการเรียนและการทำงานด้านสถาปัตย์ พร้อมกับเรื่องที่น่าสนใจอีกมากมาย ถ้าพร้อมแล้วพลิกอ่านกันเลยครับ ผศ. ดร.กมล จิราพงษ์ บรรณาธิการบริหาร

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จากมุมมองที่เป็นส่วนขยาย

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ต่างกับ งานสถาปัตยกรรมทั่วไปอย่างไร.. ASA CREW ขอชวนคุณมาร่วมพูดคุยตามประสาคนรักงานสถาปัตยกรรม พบกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์อาวุโสและสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเด็น #สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แน่นอนว่าความละเมียดละไมที่เป็นส่วนหนึ่งกับภูมิปัญญาของสถาปัตยกรรมประเภทนี้จะทำให้คุณหลงรัก ‘ความดั้งเดิม’ อันสุดแสนคลาสสิกอย่างไม่รู้ตัว “เวลาที่เราลงไปในชุมชนในหมู่บ้าน เจ้าของบ้านหรือว่าคนที่นั่นเขาจะรู้สึกกับสถานที่ของเขาสถาปัตยกรรมของเขาว่ามันเป็นธรรมดา มันไม่ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเลย แต่พวกเราต่างหากที่กลับตื่นเต้นสนใจ อย่างหนึ่งก็คือ พื้นฐานทางความคิด อีกอย่างหนึ่งก็คือความเคยชินที่เขาอยู่ที่ตรงนั้น จนมองเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ธรรมดา” สนทนาโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศาสตราจารย์ ดร.วีระ อินพันทัง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ สถาปนิก / ผู้ก่อตั้ง Walllasia สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ Feature Editor วารสาร ASA CREW ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมของ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้ที่ วารสารอาษาครู 10  อ่านฉบับออนไลน์ได้แล้ววันนี้ คลิก : https://bit.ly/2QRwT1G ติดตามวิดีโอจาก ASA CREW CHANNEL คลิก : https://youtu.be/Ui5_Ux2n0-Q

อาคาร 9 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เรือนไม้เก่ากว่า 70 ปีที่ยังมีลมหายใจ

  Building 9, Burirum Pittayakom School The still breathing 70 years old wood building อาคาร 9 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เรือนไม้เก่ากว่า 70 ปีที่ยังมีลมหายใจ   โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เดิมชื่อ “โรงเรียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์” จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตั้งอยู่บริเวณวัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาทางราชการแผนกมหาดไทยได้ยกศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดกลางเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ภายหลังโรงเรียนได้รับพิจารณาให้ย้ายสถานที่ใหม่มาตั้งบริเวณสวนหม่อน (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเทศบาล 2) และทางราชการได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดบุรีรัมย์ “ศรีบุรีรัมย์” ในปี พ.ศ. 2481 จนถึงปี พ.ศ. 2483 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณ 20,000 […]

Udon Thani City Museum

  Udon Thani City Museum พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี อาคาร Neo Classic บอกเล่าอดีต เชื่อมโยงถึงปัจจุบัน อาคารพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีแต่เดิมนั้นเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนสตรีประจำมณฑลอุดร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้เป็นโรงเรียนประจำมณฑลอุดร แต่ในปีพุทธศักราช 2462 พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน การดำเนินงานจึงจำต้องค้างมา จนเวลาต่อมาพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ผู้สำเร็จราชการมณฑลอุดร และคุณหญิงน้อม ดิษยบุตร (ศรีสุริยราช) ได้ชักชวนข้าราชการพ่อค้า ประชาชนชาวเมืองร่วมบริจาคทรัพย์น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม สร้างอาคารเรียนอุปถัมภ์นารีใหม่เพื่ออุทิศถวายแด่พระองค์ท่านและเมื่อปีพุทธศักราช 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มเติม และพระราชทานนาม โรงเรียนใหม่ว่า “ราชินูทิศ” และได้ประกอบพิธีฝังรากศิลาจารึกโรงเรียนขึ้นในปี 2464 โดยตัวอาคารสร้างอยู่บริเวณ ริมหนองประจักษ์ และเปิดใช้เป็นโรงเรียนสตรีประจำมณฑลอุดรตั้งแต่ปี 2468 เป็นต้นมา หลังจากใช้เป็นโรงเรียนสตรีอาคารนี้ก็ถูกปรับเปลี่ยน การใช้งานเป็นสำนักงานการศึกษาธิการเขต และปรับมาเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีในปี 2547 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากเป็นอาคารเก่าแก่ ปัจจุบันอายุกว่า 90 ปี […]

1 2 3 7