NEW FACES : เส้นทางของ ‘SUBPER’ สถาปนิกที่เปรียบตนเองเป็นนักวิ่งมาราธอน

  แม้ SUBPER จะแนะนำตัวเองว่าพวกเขาทำงานออกแบบขนาดเล็กๆ ทว่าเส้นทางของการเป็นสถาปนิกของพวกเขาไม่เล็กอย่างที่คิดเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีเรื่องราวอันน่าสนใจ (แถมยังสนุกสนาน) มาบอกเล่าให้คนรักงานออกแบบได้ติดตามกัน สำหรับใครที่กำลังค้นหาแรงบันดาลใจในการทำงานออกแบบ ให้เรื่องราวของ SUBPER เป็นแรงบันดาลใจของคุณได้เลย วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง….     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ SUBPER เป็นบริษัทสถาปนิกที่เน้นทำงานออกแบบงานที่มีขนาดเล็กๆ แต่ตั้งใจให้งานมีรูปแบบที่ชัดเจน สะท้อน character ของลูกค้า ตามแนวคิดของ SUBPER ที่มาจากคำว่า “supersub” หมายถึงนักกีฬาหรือผู้เล่นตัวสำรองที่ลงมาแทน แล้วเปลี่ยนให้เกมส์กลับมาชนะได้   ทำไมถึงมาเปิดออฟฟิศที่สงขลา เริ่มตั้งแต่ตอนเรียนปริญญาตรีแล้วว่าไม่อยากขึ้นกรงุเทพฯ เพราะเราเชื่อว่าถ้าเราตั้งใจจริงแล้ว การอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถหาความรู้ได้เท่าๆ กับคนที่เรียนอยู่กรุงเทพฯ จบมาเลยตั้งใจที่จะอยู่หาดใหญ่ เพราะชอบกลับบ้านที่ยะลา ไม่ชอบที่จะต้องเหนื่อยกับการเดินทางในกรุงเทพฯ   ความได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันกับออฟฟิศที่เปิดที่กรุงเทพฯ อย่างไร เรานั่งเครื่องบินไปกรุงเทพฯ ใช้เวลาชั่วโมงครึ่งเร็วกว่าการนั่งรถกลับบ้านช่วงเวลาเลิกงานในกรุงเทพฯ เราถือว่าถ้ามีงานกิจกรรมดีๆ ที่ กรุงเทพฯ เราสามารถไปได้ง่ายและถ้าเราอยากกลับบ้านที่ยะลา เราก็ใช้เวลาชั่วโมงครึ่งเช่นกัน เราชอบบรรยากาศแบบนี้มากกว่า ต่อให้งานที่นี่จะเล็กน้อยกว่ากรุงเทพฯ […]

NEW FACES : STUDIO PHASARN กับแนวคิดผสมผสานจุดเด่นของงานสถาปัตย์อย่างลงตัว

  “ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้สมบูรณ์ดีพร้อมไปทุกอย่าง หรือย่ำแย่ไปเสียหมด” นำมาสู่การสอดประสานจุดเด่นของศาสตร์ด้านต่างๆ ในวงการสถาปัตยกรรมและงานออกแบบเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อนำไปสู่ชิ้นงานที่มีคุณคาและสร้างมิติใหม่ให้แก่วงการสถาปนิก สัมผัสแนวคิดการทำงานและเรื่องราวของสตูดิโอน้องใหม่ แต่มีแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ได้ที่ วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ จากหลักคิดที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้สมบูรณ์ดีพร้อมไปทุกอย่าง หรือย่ำแย่ไปเสียหมด” นำมาซึ่งหลักการทำงานที่จะวิเคราะห์ข้อดีของแต่ละสิ่งมาผสมผสานและถ่วงความสมดุลซึ่งกันและกัน เช่น การผสานกันระหว่างความเก่ากับความใหม่ เสน่ห์ในรูปทรงของงานในอดีตกับความเรียบง่ายและเทคโนโลยีในปัจจุบันสถาปัตยกรรมไทย และพื้นถิ่นกับความทันสมัยรวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นวัสดุพื้นฐาน แต่นำมาจัดเรียงด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายแต่มีพลัง จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม คุณค่าของสถาปัตยกรรมคือการตอบสนองความต้องการใช้งานอย่างเหมาะสมและสามารถถ่ายทอดความคิดของสถาปนิก ไปสู่การรับรู้ในมิติต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสที่มีจนประทับลงสู่ใจของผู้ใช้งาน   ในการทำงานที่ผ่านมามีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง งานออกแบบที่เพิ่งเสร็จไปล่าสุดคือบ้านอิงกายที่จังหวัดอ่างทองนับเป็นการกลับมาออกแบบบ้านพักอาศัยอีกครั้งหลังจากการออกแบบงานสาธารณะมาหลายงาน ทำให้มีความ “หมายมั่น ปั้นมือ” เป็นพิเศษ เนื่องจากมี “ของ” ที่สะสมไว้มาก ทั้งแรงบันดาลใจ ความประทับใจ และองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมอันได้จากการลงภาคสนาม ไปทัศนศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหลายแห่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับระหว่างการทำงานเจ้าของบ้านให้อิสระและความไว้วางใจ ในการออกแบบอย่างเต็มที่ อีกทั้งได้ผู้รับเหมาที่รู้มือกันทำให้สถาปนิกทำงานอย่างเต็มแรงใจ ทำให้ได้เห็นว่าองค์ประกอบส่วนที่สำคัญ เมื่อลงตัวแล้วงานมักจะออกมาดี   มองว่าสถาปนิกรุ่นใหม่และวงการปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างกันไหมเมื่อ […]

NEW FACES : S PACE STUDIO ก้าวเล็กๆ ที่มั่นคงสู่สถาปัตยกรรมทรงคุณค่า

  พบกับเรื่องราวการก่อตั้งสตูดิโอสถาปนิกรุ่นใหม่ที่มีจุดเริ่มต้นจากศูนย์… พร้อมงานก่อสร้างชิ้นแรกที่มีราคา 75,000.- ก่อนจะขยับขยายชิ้นงานเรื่อยจนเป็น S PACE STUDIO ที่นั่งสนทนากับ ASA CREW ในปัจจุบัน ติดตามเรื่องราวความประทับใจ และมุมมองที่มีต่อวงการก่อสร้างช่างพื้นบ้าน ช่างท้องถิ่น และหลากหลายประสบการณ์ทำงานที่ทำให้พวกเขาเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้ที่ วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ เราเน้นความพอดีแล้วก็มีจุดศูนย์กลางเป็นลูกค้า ผมเองให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก แต่ว่าไม่ได้ยึด character ว่าต้องมีตัวตนเป็นของเรา เราสามารถมี character ของเราในแบบที่มันควรจะเป็น แต่เราจะให้ความสำคัญกับความต้องการ ลูกค้าเป็นหลัก ลูกค้าจะต้องมีความต้องการหรือรสนิยมที่มันใกล้เคียงกับเรา เพื่อช่วยให้วิธีคิดในการทำงานปรับเข้าหากันตรงกัน นอกจากนี้ผมชอบความเป็นพื้นถิ่นไม่ว่าจะเป็น space หรือว่าการใช้งานในรูปแบบที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้   ความยาก ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่เจอในการทำออฟฟิศตนเองและการแก้ปัญหาหรือผ่านพ้นมันมาได้อย่างไร ตัวผมเองเริ่มต้นจากศูนย์เลย ไม่ได้มีเครดิตของงานที่เคยทำมาก่อน และไม่เคยมีงานในขอนแก่นคือเริ่มจากงานชิ้นเล็กมาก งานชิ้นแรกมีค่า ก่อสร้าง 75,000 บาท […]

NEW FACES : SKARN CHAIYAWAT, RINA SHINDO AND WITEE WISUTHUMPORN

  เพราะจุดมุ่งหมายเดียวกัน จึงทำให้พวกเขารวมตัวเพื่อใช้ความรู้ทางสถาปัตยกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้คน กำเนิดเป็นสตูดิโอสถาปนิกน้องใหม่ซึ่งก่อตั้งในปี 2016 พบกับอีกบทบาทหนึ่งของการทำงาน ที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงความสวยงามเท่านั้น แต่ยังใส่ใจทรัพยากรแวดล้อม พร้อมนำมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11  NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ เป็นการรวมตัวของสถาปนิกที่มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้คนด้วยสถาปัตยกรรมผ่านกระบวนการออกแบบที่ทำความเข้าใจบริบทในแง่มุมต่างๆ และให้ความสำคัญกับคุณภาพของงานเชิงรูปธรรม ตั้งแต่ในภาพใหญ่ไปจนถึงรายละเอียด ในปี พ.ศ. 2559 นางอรวรรณ จัยวัฒน์ มีความประสงค์ที่จะบริจาคเงินส่วนตัวสร้างหอพักสามเณร วัดป่าพุทธนิมต จังหวัดอุดรธานี จึงขอให้นายสการ จัยวัฒน์ นางสาวรินะ ชินโด และนายวิธี วิสุทธิอัมพร ช่วยออกแบบซึ่งเป็นการรวมตัวกันครั้งแรกเพื่อออกแบบโครงการนี้   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักาการทำงานของออฟฟิศ เราสนใจงานออกแบบที่มีศักยภาพในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของผู้คน เชื่อว่าการทำความเข้าใจ กลุ่มคนใช้งานจริงมีความสำคัญต่อกระบวนการออกแบบและความเอาใจใส่ในรายละเอียดของงานในเชิงรูปธรรมมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อวิถีชีวิต สภาพจิตใจและความรู้สึกของผู้คน     ลักษณะงานที่เน้น/สนใจ หรือประเภทอาคารที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สนใจงานที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนไปในทางที่ดี ไม่จำกัดประเภทของอาคารผู้ว่าจ้างหรืองบประมาณ มีความสนใจการทดลองใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในแง่การใช้งาน ความคุ้มค่าในการลงทุนและสุนทรียภาพ   จากการทำงานที่ผ่านมา […]

NEW FACES : พลิกวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่สตูดิโอ SHER MAKER

  ASA CREW ชวนคุณเปิดสตูดิโอสถาปนิกที่จังหวัดเชียงใหม่ SHER MAKER สตูดิโอขนาดเล็กที่มีจุดเริ่มต้นจากงาน Craft พร้อมนำความชื่นชอบนี้มาผสมผสานกับองค์คงามทางวิชาชีพสถาปนิก และเชื่อมโยงกับความสามารถของช่างพื้นถิ่นและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงใหม่ ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ พวกเราทั้งคู่มีความสนใจด้านงาน craft ภายในที่มีช่างท้องถิ่นและช่างฝีมือซึ่งทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายแต่ละโครงการ Sher Maker เป็นสตูดิโอออกแบบและปฏิบัติงานขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ประกอบด้วย ส่วน design studio และ workshop โดยเน้นกระบวนการการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน ในเชิงสหวิทยาการ เน้นเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ ทางการออกแบบเข้าด้วยกันและเรียนรู้ พัฒนา ทักษะร่วมกับช่างท้องถิ่น   ทำไมถึงมาเปิดออฟฟิศที่เชียงใหม่ เป็นคนต่างจังหวัดอยู่แล้วทั้งคู่เกิดที่จังหวัดเชียงรายและมีความผูกพันกับจังหวัดเชียงใหม่ อยากเห็นสถาปัตยกรรมดีๆ ที่ไม่กระจุกตัวอยู่แค่ในเมืองหลวงของประเทศเท่านั้น อยากให้เกิดทัศนคติที่ว่างานออกแบบนั้นมีความสำคัญช่วยสนับสนุนภาพลักษณ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองได้   ความได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันกับออฟฟิศที่เปิดที่กรุงเทพฯ อย่างไร ข้อได้เปรียบคือต่างจังหวัดมีวัฒนธรรมทางเลือกมากมายให้หยิบมาใช้ ผู้คนอะลุ้มอล่วยให้กับวิถีชีวิตมากกว่าช่างก่อสร้าง ช่างฝีมือ มีวิธีคิดเฉพาะทางอันเป็นแหล่งเรียนรู้ไม่รู้จบ นอกจากนี้คุณภาพชีวิตดีกว่าอยู่กรุงเทพมาก ข้อเสียเปรียบคือความ หลากหลายของโจทย์งานมีไม่มากนัก และการตีมูลค่าทางวิชาชีพที่ต่ำ […]

NEW FACES : สตูดิโอสถาปนิกถิ่นใต้ SEA.MONKEY.COCONUT (เล ลิง พร้าว)

“หัวหินมีขนาดและความพอดีในความเป็นเมืองและธรรมชาติ” หากคุณชื่นชอบงานออกแบบเช่นเดียวกับเรา ถึงเวลาแล้วกับการเดินหน้าสู่สตูดิโอสถาปนิกแดนใต้ SEA.MONKEY.COCONUT (เล ลิง พร้าว) ค้นหาคล็ดลับในการทำงานสถาปัตยกรรมที่นอกจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้แล้ว ยังต้องไม่ลืมเพิ่มคุณค่าให้แก่ชิ้นงานนั้นๆ ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง… แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ ใช้เวลาเข้าใจลูกค้า/ผู้ใช้งาน ไม่ติดกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ลงรายละเอียดให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ทุกฝ่ายที่ทำงานกับเรามีปัญหาน้อยที่สุด การร่วมงานกับสถาปนิกเป็นลักษณะ project partner คือทำงานร่วมกันตามขนาดของแต่ละโครงการคือทำงานร่วมกันตามขนาดของแต่ละโครงการและความสนใจที่มีร่วมกัน   จากการทำงานที่ผ่านมา นิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไรหรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม คุณค่าของสถาปัตยกรรมอยู่ที่ผู้ใช้งาน หากการออกแบบสามารถเพิ่ม/เติมคุณค่าของพื้นที่ทั้งทางกายภาพและจิตใจแก่ผู้ใช้งานได้ ก็ถือว่างานประสบความสำเร็จ     ความยาก ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่เจอในการทำออฟฟิศตนเองและแก้ปัญหาหรือผ่านพ้นมันมาได้อย่างไร การทำงานทั้งหมดด้วยสถาปนิกโดยไม่ใช้ระบบออฟฟิศแบบเดิมเป็นเรื่องที่บังคับให้ต้องทำงานหรือจัดการในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เช่น เรื่องการทำแบบเองทุกขั้นตอน การเงิน การตลาด ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยแต่นั่นก็ทำให้ทีมงานมีความเข้าใจโครงการ นั้นๆ ในเชิงลึก และทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างได้ดียิ่งขึ้น   ต้องเตรียมตัว/ปรับตัว ต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วต่างๆ และความท้าทายใหม่ๆ ในยุคสมัยปัจจุบันอย่างไรบ้าง พยายามใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ช่วยลดเวลาการทำงานและความผิดพลาดให้ได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด เป็นความท้าทายที่ยาก และเรื่องของการที่จะไม่หลงไปกับกระแสความเปลี่ยนแปลงจนลืมความเชื่อในการทำงานของเราเอง   […]

NEW FACES : ออกแบบ-สร้าง-กำหนดพื้นที่กับ POONSOOK ARCHITECTS

  “งานสถาปัตยกรรมไม่มีถูกหรือผิด ทุกความคิดเห็นเป็นไปได้ถ้ามีเหตุและผลรองรับ” พูดคุยกับสตูดิโอสถาปนิกน้องใหม่ไฟแรง POONSOOK ARCHITECTS พร้อมล้วงลึกแนวคิด “ออกแบบ-สร้าง-กำหนดพื้นที่” อันก่อให้เกิดคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมทีใช้พื้นที่อันจำกัดได้เกิดประโยชน์สูงสุด ติดคามความสุขกับการทำอาชีพในฝันของพวกเขาได้แล้ววันนี้ ที่วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ เป็นความตั้งใจของผมตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยแล้วที่จะก่อตั้งสำนักงานสถาปนิก เพื่อที่จะได้สามารถผลักดันแนวความคิดหรือสิ่งที่สนใจในการออกแบบให้ออกมาเป็นงานสถาปัตยกรรมได้   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ งานสถาปัตยกรรมไม่มีถูกหรือผิด ทุกความคิดเห็นเป็นไปได้ถ้ามีเหตุและผลรองรับ   จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตยกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม คือการออกแบบ-สร้าง-กำหนด ‘พื้นที่’ โดยคุณค่าของสถาปัตยกรรมอยู่ที่การตอบสนองการใช้สอยของพื้นที่ที่เกิดขึ้น     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง โครงการ Sun Plaza 2 ซึ่งเราได้มีโอกาสทำงานร่วมกับบริษัท Normal Studio เริ่มแรกเราได้รับโจทย์จากลูกค้ามาเป็นกระดาษ A4 2 แผ่น เรา เริ่มต้นโครงการโดยมีกรอบเงื่อนไขของเวลาที่จำกัดมาก จากโปรแกรมเดิมที่จะสร้างอาคารขึ้นมาใหม่กลายเป็นงานปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ท้ายที่สุดเราสามารถทำงานบนข้อจำกัดต่างๆ ได้ลุล่วง และได้ผลลัพธ์ที่เป็นที่พอใจ   […]

NEW FACES : JAIBAAN STUDIO จากสถาปัตยกรรมชุมชนสู่สะพานแห่งความรู้

ASA CREW ขอพาทุกคนขึ้นเหนือ บุกสตูดิโอสถาปนิกกันที่จังหวัดเชียงใหม่ เรียนรู้การทำงานออกแบบ ที่เปรียบเสมือนสะพานนำสู่ความรู้อย่างไร้ขีดจำกัด เพราะเราเชื่อว่า…เมื่อคุณทำงานสถาปนิก คุณจะได้ศึกษา ทดลอง ตั้งคำถาม รวมไปถึงหาคำตอบ พบกับความท้าทายทั้งหมด ที่เกิดขึ้นกับ “ใจบ้านสตูดิโอ” ได้แล้ววันนี้ ติดตามบทสนทนาที่ให้ข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจแก่สถาปนิกรุ่นใหม่ได้ที่ :  วารสารอาษาครู ฉบับ 11 NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิศสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…     แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ “ใจบ้านสตูดิโอ” ให้บริการออกแบบ วางผัง และให้คำปรึกษางานทางด้านออกแบบชุมชน สถาปัตย์ ภูมิสถาปัตย์ และพื้นที่เกษตรกรรม โดยเชื่อว่างานออกแบบและวางผังที่ดีนั้นมีส่วนสำคัญในการดูแลโลกและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เป็นสตูดิโอ ออกแบบที่พัฒนามาจากงานสถาปัตยกรรมชุมชนของกลุ่ม “คนใจบ้าน” ที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2551 แบ่งประเภทงานออกเป็น 3 กลุ่ม คืองานออกแบบ สถาปัตยกรรม งานออกแบบภูมิทัศน์และงานออกแบบเมืองที่ทำร่วมกับชุมชนและภาคีต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีความตั้งใจในการส่งต่อและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผ่านการอบรมและการจัดเวิร์คช็อป เราทำงานบนปรัชญาการออกแบบและร่วมสร้างระหว่างธรรมชาติและผู้คนแบบ co-create design เพื่อให้งานสถาปัตยกรรมและกระบวนการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเป็นเสมือนสะพานในความรู้ที่เรียนรู้มา เราได้ทำ […]

NEW FACES : EKAR ARCHITECTS สถาปนิกที่เชื่อว่าสถาปัตยกรรมคือความจริง

  จะเป็นไปได้หรือไม่ ? เมื่อการ ‘ออกแบบ’ ตัวอาคารไม่ได้ถือกำเนิดจากฝีมือของสถาปนิกเท่านั้น แต่ตัวผู้อยู่อาศัยเอง…กลับเป็นกำลังหลักในการสร้างสรรค์ตัวอาคารด้วยเช่นกัน เรื่องราวของ NEW FACES สถาปนิกหน้าใหม่ในวันนี้ เราขอพาคุณมาเปิดบ้าน EKAR ARCHITECTS พร้อมเรียนรู้มุมมองการทำงานจากพวกเขา กับการสร้างคุณค่าให้แก่สถาปัตยกรรมเป็นมากกว่าสิ่งก่อสร้าง พร้อมอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของสถาปนิกหน้าใหม่จากหลากหลายสตูดิโอได้ที่ NEW FACES – สถาปนิกและออฟฟิสสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรง…   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักการทำงานของออฟฟิศ EKAR สนใจเรื่องการดำเนินไปของสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ หลังจากสถาปัตยกรรมนั้นเกิดขึ้นมา เรามีความสุขกับการได้ติดตามผลหลังจากที่สถาปัตยกรรมแล้วเสร็จ บางทีอาจจะชอบมากกว่ากระบวนการเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นสถาปัตยกรรมด้วยซ้ำ จากการทำงานที่ผ่านมานิยามของสถาปัตกรรมคืออะไร หรืออะไรคือหัวใจ/คุณค่าของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมคือความจริงเป็นพื้นที่หนึ่งในการสร้างองค์ประกอบของชีวิตและจิตวิญญาณ คุณค่าของของสถาปัตยกรรมอยู่ที่การส่งผลต่อสิ่งต่างๆ รอบๆ สถาปัตยกรรมนั้นๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น     ในการทำงานที่ผ่านมา มีโครงการไหนหรือเรื่องอะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง โครงการออกแบบอาคารพานิชย์ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีชื่อโครงการ Multi-Place  กระบวนการออกแบบไม่ได้ราบรื่นนัก อาจด้วยการสื่อสารที่เราอยู่กรุงเทพฯ แล้วลูกค้าอยู่ภาคใต้หลายๆ อย่างในแบบไม่ได้ถูกนำไปใช้ เมื่องานแล้วเสร็จก็ได้ตามที่ใจตั้งไว้ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งถือว่าเป็นงานที่น่าพอใจมากแล้ว วันที่เรากลับไปเยี่ยมโครงการเราได้พบการใช้สอยหลายอย่างที่ขัดกับรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมตามแนวคิดของนักออกแบบ หลังจากที่ได้พูดคุยกับเจ้าของโครงการ อธิบายให้ฟังถึงการใช้งานทุกอย่างว่าเหมาะสม ให้ฟังถึงการใช้งานทุกอย่างว่าเหมาะสมกับวิถีชีวิตของพวกเขาอย่างไร ทำให้เราได้เข้าใจว่า สถาปัตยกรรมไม่ใช่ที่ถูก […]

NEW FACES : เพราะ CLOUD-FLOOR เชื่อว่าพวกเขาสามารถสร้างเมืองในฝันได้

  “ออกแบบอาคารแล้วอย่าลืมออกแบบเมืองที่เราอยู่ด้วย” นี่คือเสียงสะท้อนบางส่วนจาก CLOUD-FLOOR บริษัทสถาปนิกที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบและพัฒนาพื้นที่สาธารณะ หลายคนอาจคุ้นหน้าคุ้นตากับพวกเขาไม่น้อย หากเราพูดถึงผลงาน #ป้ายรถเมล์ในฝัน จากกิจกรรม Workshop ของ ASA CAN Ten for Ninety 2017 ไอเดียออกแบบป้ายรถเมล์สารพัดประโยชน์ที่สอดรับไปกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย ร่วมพูดคุยเพื่อค้นหาพลังในการออกแบบเมืองของสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรงกลุ่มนี้ในวารสารอาษาครู ฉบับ 11     ช่วยเล่าถึงการก่อตั้งหรือจุดเริ่มต้นของออฟฟิศ บริษัท คลาวด์ฟลอร์ จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นจากความตั้งใจในการใช้ความรู้และความสามารถในการออกแบบ เพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์องค์ประกอบทางกายภาพของเมือง ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ความสำคัญกับคนและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจหลัก จุดเริ่มต้นคือการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานที่ Studio Schwittala ที่เมืองเบอร์ลิน ซึ่งให้ความสนใจกับเรื่องการออกแบบเมืองและการอยู่อาศัยในอนาคต   แนวคิด/สิ่งที่สนใจหลักในการออกแบบ และหลักทำงานของออฟฟิศ การใช้นวัตกรรมพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเมืองด้วยการออกแบบอย่างมีกระบวนการ โดยไม่จำกัดประเภทของผลลัพธ์ซึ่งเป็นไปได้ทั้งสถาปัตยกรรม ศิลปะ ผลิตภัณฑ์      งานบราการหรืองานสื่อประเภทต่างๆ     ในการทำงานที่ผ่านมามีโครงการไหนหรือเรื่อง อะไรที่ประทับใจที่อยากเล่าให้เราฟังบ้าง กิจกรรม workshop ร่วมกับ ASA CAN […]

1 2